20 ม.ค. 2021 เวลา 03:13 • ความคิดเห็น
ความร่ำรวยวัดจากอะไร
ตามหลักสากลแล้ว ความร่ำรวย วัดจากความมั่งคั่ง ซึ่งก็คือ ทรัพย์สิน - หนี้สิน ถ้าผลลัพธ์เป็น บวก ก็คือมีความมั่งคั่ง ซึ่งจะมากเท่าไหร่ ที่เรียกว่า ร่ำรวย ขึ้นอยู่กับ ความพึงพอใจ และ เป้าหมายของแต่ละคน
1
แต่สิ่งที่จะชี้วัดความมั่งคั่งที่แท้จริง
อย่างมั่นคง และละเลยไม่ได้เลย
มีอีก 2 ปัจจัย ที่เพจเงินทองต้องวางแผน
อยากนำเสนอ คือ
1.สภาพคล่องในชีวิตประจำวัน
2.มูลค่าสินทรัพย์ที่ก่อรายได้
มาติดตามกันต่อค่ะ
1.สภาพคล่องในชีวิตประจำวัน
สำคัญที่เราต้องประเมินค่าใช้จ่ายออกมาให้ได้ ทั้งค่าใช้จ่ายประจำที่จำเป็น และค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน รวมถึง ค่าใช้จ่ายแปรผันที่ดีต่อใจต่างๆของเรา
ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าเทอมลูก ค่าของใช้ในบ้าน
ค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมแซมของที่พังเสียหาย
ค่าใช้จ่ายดีต่อใจ เช่น ค่าร่วมสังสรรค์กับเพื่อน ค่าท่องเที่ยว ค่าของสะสม ความบันเทิงต่างๆ
หากว่าเรามีเงินเพียงพอใช้จ่าย สิ่งเหล่านี้เมื่อต้องจ่าย โดยไม่ต้องเป็นหนี้ไปกู้ยืม
ก็ถือว่า สภาพคล่องผ่าน
4
หากเราใช้ความมั่งคั่ง วัดจาก ทรัพย์สิน - หนี้สิน
เช่น บ้าน + รถยนต์ ของเราราคารวม 3,000,000 บาท มีหนี้คงค้างอยู่ 1,500,000 บาท ก็เท่ากับเรามีความมั่งคั่งอยู่ 1,500,000 บาท
แล้วคิดว่า นี่คือเรามั่งคั่งแล้ว แค่นี้ยังไม่พอวัดได้ค่ะ
เพราะมีหนี้มูลค่า 1,500,000 บาทนี้ ที่เราต้องผ่อนชำระอยู่ สมมติว่า เดือนละ 30,000 บาท
ในขณะที่สมมติว่า เรามีเงินเดือน 50,000 บาท
มีค่าใช้จ่ายต่อเดือน ติดเพดานปริ่มๆที่ 20,000 บาท เราก็จะตกอยู่ในสภาวะ ใช้เงินเดือนชนเดือน นั่นเอง
ความมั่งคั่ง 1,500,000 บาท ที่อยู่ในมูลค่าบ้านที่เราอาศัย และ รถยนต์ที่เราใช้ทุกวัน มันไม่มีกระแสเงินสดให้เรา หยิบออกมาใช้ไม่ได้ จึงยังวัดเป็นความมั่งคั่งที่แท้จริงยังไม่ได้ นอกจากเราจะขายมันออกไป
ซึ่งถ้ากระแสเงินสดเข้าต่อเดือนพอดีแบบนี้ หารายได้เพิ่มไม่ได้ ลดรายจ่ายไม่ได้ วันหนึ่งเราอาจจะต้องขายบ้าน หรือ รถยนต์ออกไปก็ได้
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าคิดคือ หากเราไม่ประเมินสภาพคล่องให้ดี นำเงินเก็บไปลงทุนทำธุรกิจ หรือ นำไปลงทุนซื้อหลักทรัพย์ต่างๆ ซึ่งต้องใช้เวลา และต้องใช้เงินก้อนต่อๆไปหนุนเข้าไปอีก ถึงจะเกิดเป็นผลตอบแทน ถ้าเราไม่วางแผนให้ดี เกิดสะดุดต้องใช้เงินก่อนเวลา ต้องขายธุรกิจ หรือ ขายหลักทรัพย์ออกมาก่อนเวลาอันสมควร นอกจากไม่ได้ผลตอบแทนแล้ว เราอาจจะสูญเสียเงินทั้งหมดก็ได้
หรือเราอยากลดหย่อนภาษีและได้ผลตอบแทน โดยนำเงินไปซื้อ SSF ซึ่งต้องคงเงินลงทุนไว้ 10 ปี แต่หากเราสะดุดเรื่องสภาพคล่อง ต้องขาย SSF ก่อนกำหนด เราก็จะถูกเรียกคืนภาษี แถมยังอาจจะขาดทุน ถ้าขายโดยไม่ได้ดูจังหวะของตลาด
1
2.มูลค่าทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้
หลายคนสนใจสะสมความมั่งคั่ง เพียงแค่มูลค่าของทรัพย์สิน จะนำมาพิจารณาเพียงแค่มูลค่าตามราคาตลาดของมันเท่านั้น
แต่ที่น่าสนใจอีกอย่างที่ควรคำนึงถึงคือ เวลาผ่านไปทรัพย์สินชิ้นนั้น เพิ่มมูลค่าหรือไม่ และ เรามีทรัพย์สินอะไรบ้างที่สร้างกระแสเงินสดให้เราได้
เช่น ที่ดินสักแปลงที่เราซื้อไว้ สภาพคล่องต่ำ เพราะขายเป็นเงินสดยาก แต่หากถือไว้ระยะยาว ที่ดินนี้เพิ่มมูลค่าได้ หรือ ระหว่างที่ถือครองสามารถปล่อยเช่าได้ สร้างกระแสเงินสดได้
รถยนต์คันหรูที่เราซื้อมามูลค่า 2,000,000 บาท ประโยชน์ของมันคือความสะดวกสบาย แต่เมื่อเวลาผ่านไป 4-5 ปี ราคามักลดลงเหลือครึ่งหนึ่งเสมอ ดังนั้นใครที่นำรถยนต์ไปรวมกับส่วนทรัพย์สิน ก็ต้องปรับมูลค่ารถยนต์ลดลงตามราคาตลาดทุกปีด้วยค่ะ เพื่อจะประเมินความมั่งคั่งของเราให้ใกล้เคียงความจริงที่สุด
ข้อสุดท้ายที่ฝากไว้ค่ะ ทรัพย์สินทุกชิ้นที่เราสะสมเป็นความมั่งคั่ง มีค่าใช้จ่ายในการดูแล และ ความยุ่งยากอย่างไร ในระยะยาวเมื่อเราแก่ชราลง เราจะจัดการเรื่องนี้อย่างไร ส่งต่อให้ใครดูแล ฝากไว้ให้พิจารณาค่ะ
1
บทความนี้เขียนขึ้นมาเพื่อให้ท่านมีมุมมองเรื่องความมั่งคั่ง ให้ครบทุกด้าน เพื่อเตรียมพร้อมและวางแผน ความมั่งคั่ง ที่ท่านสร้างขึ้นจะได้เป็นความมั่งคั่งที่แท้จริง และยั่งยืน ส่งต่อให้ลูกหลานได้ค่ะ
ติดตาม Smart Plan for Smart Life ได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา