17 พ.ค. 2021 เวลา 11:58 • ประวัติศาสตร์
“อุยกูร์ (Uighur)” อัตลักษณ์ที่ถูกกลืนกิน
3
อัตลักษณ์ คือ สิ่งที่บ่งชี้ลักษณะเฉพาะของบุคคล ชุมชน สังคม และประเทศนั้นๆ
เชื้อชาติ...
ภาษา...
ประเพณีวัฒนธรรม...
1
รวมถึงศาสนา...
1
ที่ต่างหลอมรวมและสร้างอัตลักษณ์ของบุคคล สังคม และประเทศขึ้นมา
3
อัตลักษณ์ไม่ใช่สิ่งที่เป็นนิรันดร์ แต่อัตลักษณ์เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
3
ทั้งจากการหลอมรวมอัตลักษณ์หลายอัตลักษณ์เข้าด้วยกันเกิดเป็นอัตลักษณ์ใหม่
2
และการกลืนกินจากอัตลักษณ์อื่น ที่ทำให้อัตลักษณ์ที่ถูกกลืนกินนั้นได้หายไป
1
ทุกท่านครับ นี่คือเรื่องราวของชาติพันธุ์ในดินแดนที่เคยมั่งคั่งที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
2
ชาติพันธุ์ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวอีกแบบหนึ่ง
แต่กลับอยู่ภายใต้การปกครองของอัตลักษณ์อีกแบบหนึ่ง
และชาติพันธุ์นั้นก็กำลังถูกอัตลักษณ์ที่มีอำนาจนั้นกลืนกินอัตลักษณ์ของตนเอง
ซินเจียง...
ชาวอุยกูร์...
มุสลิม...
จีน...
ชาวฮั่น...
แรงงาน...
โรงเรียน...
ศูนย์ปรับทัศนคติ...
ค่ายกักกัน...
การล้างสมอง...
การกลืนชาติ...
​ ​​หนึ่งประเทศ สองระบบ...
และนี่ คือเรื่องราวของ “อุยกูร์” อัตลักษณ์ที่ถูกกลืนกิน
1
โปรดนั่งลงเถิดครับ แล้วผมจะเล่าให้ฟัง...
1
ภาพจาก Al Jazeera
คำเตือน : เนื้อหาค่อนข้างยาว ให้ทุกท่านโปรดใช้เวลาในการอ่าน
3
ประเทศจีน เป็นประเทศที่มีดินแดนกว้างใหญ่ไพศาล ซึ่งเรามักจะคุ้นเคยกับดินแดนจีนทางด้านตะวันออกมากกว่าด้านตะวันตก
หากผมเอ่ยถึงชื่อ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น เทียนจิน กว่างโจว ฯลฯ ผมเชื่อเหลือเกินครับว่าทุกท่านคงคุ้นเคยหรือเคยได้ยินชื่อเหล่านี้ เนื่องจากชื่อเหล่านี้เป็นเมืองของจีนที่เป็นแหล่งการค้า อุตสาหกรรม เทคโนโลยีและความเจริญของจีน ซึ่งล้วนอยู่ทางซีกตะวันออก
1
แต่หากผมเอ่ยชื่อ อุรุมชี ลาซา ซีหนิง ฯลฯ หลายท่านอาจจะ เอ๊ะๆแล้วว่าคือเมืองอะไร อยู่ที่ไหน? โดยเมืองเหล่านี้เป็นเมืองที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของจีน (และถือเป็นเมืองหลวงของแต่ละมณฑลด้วย) ที่เมื่อเทียบกับเมืองฝั่งตะวันออกแล้ว ความรู้จัก ความคุ้นเคย รวมถึงความเจริญห่างกันแบบสุดกู่...
4
ภาพจาก beibuwan (แผนที่แสดงรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลและเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีนปี ค.ศ.2019 ซึ่งแสดงถึงความเจริญเติบโตของพื้นที่ต่างๆในจีน จะสังเกตเห็นว่ามักกระจุกตัวอยู่ทางด้านตะวันออก)
ที่เป็นแบบนี้เนื่องมาจากตั้งแต่ที่เหมา เจ๋อตงผู้นำรุ่นที่ 1 ได้จากไป ผู้นำรุ่นที่ 2 อย่างเติ้ง เสี่ยวผิง ได้ขึ้นมาขับเคลื่อนประเทศในช่วงทศวรรษ 1980 ซึ่งการขับเคลื่อนประเทศของเติ้งทำให้จีนเริ่มผละออกจากแนวทางของคอมมิวนิสต์ไปสู่แนวทางของทุนนิยมมากขึ้น
2
การขับเคลื่อนประเทศนี้ได้ใช้นโยบาย 4 ทันสมัยและนโยบายเปิดประตูประเทศเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติและที่สำคัญคือการให้คนจีนได้เรียนรู้เทคโนโลยีของต่างชาติ
เติ้งจึงได้ทำการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) ขึ้นมา เพื่อเป็นเมืองที่ให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนโดยเฉพาะ รวมถึงเป็นโมเดลในการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของจีน
2
ซึ่งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ว่านี้ ล้วนเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของจีน อย่างเทียนจิน ต้าเหลียน เซี่ยงไฮ้ หนิงปอ ฟุโจว เจิ้นโจว เซินเจิ้น ฯลฯ ทำให้เมืองเหล่านี้เติบโตอย่างรวดเร็วผิดกับเมืองฝั่งตะวันตกนั่นเองครับ...
1
หลังจากปฏิรูปเศรษฐกิจของจีนแล้ว เต้ิงยังได้มีการปฏิรูปทางการเมืองภายในของจีนด้วย โดยเติ้งต้องการสร้างเอกภาพภายในจีน คือ ต้องการรวมแผ่นดินจีนให้เป็นหนึ่งเดียว
แต่ก็อย่างที่เห็นครับว่า จีนเป็นประเทศที่มีแผ่นดินกว้างใหญ่ไพศาล มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อยู่รวมกัน การที่คนหลากหลายชาติพันธุ์จะยอมอยู่ใต้การปกครองของคนจีนฮั่นย่อมเป็นไปได้ยาก ดังนั้น จึงมีการพยายามแบ่งแยกดินแดนอยู่ตลอดนั่นเอง...
2
โดยดินแดนที่มีปัญหามากที่สุดมาจนปัจจุบันนั้น ได้แก่ ซินเจียง ทิเบต ไต้หวัน มาเก๊า และฮ่องกง
3
ดินแดนเหล่านี้รัฐบาลจีนต่างคิดว่าเป็นดินแดนของจีนทั้งหมด แต่ผู้คนในดินแดนเหล่านี้กลับไม่ได้คิดแบบนั้น (ซึ่งแต่ละที่ก็มีเหตุผลที่แตกต่างกันไป)
2
เติ้งจึงปิ๊งไอเดียการปกครองดินแดนเหล่านี้ขึ้นมาภายใต้ชื่อ “หนึ่งประเทศ สองระบบ (One Country Two Systems) คือการที่รัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ได้ให้ดินแดนเหล่านี้มีรัฐบาลปกครองตนเอง รวมถึงมีอธิปไตยเป็นของตนเองในบางด้าน แต่รัฐบาลจีนก็ยังคำนึงถึงและบังคับให้ดินแดนเหล่านี้คำนึงถึงอยู่เสมอว่า “พวกเอ็งยังคงเป็นของจีนนะ อย่าลืม” ถึงแม้จะสามารถปกครองตนเองได้แต่ก็ยังคงอยู่ภายใต้จีนเดียว...
2
จึงเกิดปัญหาขึ้นมาทันทีกับดินแดนภายใต้หนึ่งประเทศ สองระบบ ที่บางดินแดนก็ไม่ยอมอยู่ภายใต้จีนเดียว
4
และหนึ่งในดินแดนที่ผมจะพูดถึงคือดินแดนที่ถูกเรียกว่า ซินเจียง (แผ่นดินใหม่) นั่นเองครับ...
2
ภาพจาก Al Jazeera (ดินแดนซินเจียง)
หากดูตามภาพข้างบนจะเห็นได้ว่า ซินเจียงเป็นดินแดนที่อยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งทุกท่านคงเห็นขนาดพื้นที่ที่ใหญ่มาก แทบจะกินพื้นที่ 1 ใน 5 ของประเทศจีนเลยทีเดียว
2
โดยสภาพพื้นที่ของซินเจียงส่วนใหญ่จะเป็นทะเลทราย ซึ่งสภาพแบบนี้คงไม่ค่อยมีชาวฮั่นมาอาศัยอยู่ ทำให้วัฒนธรรมของซินเจียงทั้งทางด้านภาษา ศาสนา และการใช้ชีวิตแตกต่างจากชาวฮั่นสุดๆ...
หากซินเจียงไม่ใช่ดินแดนที่พวกฮั่นอาศัยอยู่ แล้วดินแดนนี้มีใครอาศัยอยู่กันล่ะ?
คำตอบคือ พวกเติร์กนั่นเองครับ...
โดยเติร์กที่อยู่ในดินแดนซินเจียงจะเรียกตนเองว่า ชาวอุยกูร์ (Uyghur) ซึ่งเป็นพวกที่นับถือศาสนาอิสลาม (นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอื่นๆ เช่น คาซัค แต่อุยกูร์เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด)
4
ในภาพรวมจะเห็นได้ว่า ดินแดนซินเจียงนั้นทั้งสภาพภูมิประเทศและผู้คนมีความใกล้ชิดและคล้ายคลึงกับเอเชียกลางมากกว่าจะใกล้ชิดและคล้ายคลึงกับจีน หลายท่านจึงอาจเกิดคำถามว่า
6
“อ้าว แล้วซินเจียงที่ว่าทำไมถึงตกไปเป็นของจีนล่ะ?”
ผมจะเริ่มแบบนี้ครับ ให้ทุกท่านมองที่ตั้งของซินเจียงแล้วช่วยกันวิเคราะห์ว่าซินเจียงมีความสำคัญต่อโลกในด้านใด?
1
.
.
.
1
หากนึกย้อนกลับไปในโลกยุคโบราณ สมัยที่เทคโนโลยีการเดินเรือยังไม่ค่อยบูม ผู้คนมักเดินทางติดต่อไปมาหาสู่กันโดยใช้กองคาราวานเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นการเดินทางทางบก
1
เมื่อการค้าเริ่มขยายตัว คนทางฝั่งยุโรปก็อยากขายสินค้าของตัวเอง คนทางฝั่งเอเชียก็อยากขายสินค้าของตัวเองเหมือนกัน จึงเกิดการแลกเปลี่ยนค้าขายสินค้าระหว่างยุโรปและเอเชียเกิดขึ้น
1
ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป คนทางฝั่งยุโรปก็เริ่มรู้ว่า “มีดินแดนที่มั่งคั่งร่ำรวยถัดออกไปอีกนี่นา” ซึ่งดินแดนที่ว่าก็คือจีน
7
ดังนั้น จึงเกิดการค้าขายไปมาหาสู่กันระหว่างคนทางฝั่งยุโรปและทางฝั่งจีน เมื่อมันเริ่มมีการค้าขายที่คึกคักมากขึ้นจึงเกิดเส้นทางการค้าขายทางบกที่ใหญ่ที่สุดในโลกยุคโบราณขึ้นมา คือ “เส้นทางสายไหม (Silk Road)”
และหากทุกท่านมองที่ตั้งของซินเจียงจะเห็นได้เลยครับว่า ซินเจียงตั้งอยู่บริเวณที่เป็นเส้นทางสายไหม ซึ่งเปรียบเสมือนประตูบ้านของจีน
2
ดังนั้น ซินเจียงจึงกลายเป็นดินแดนที่เชื่อมจีนเข้ากับเอเชียกลาง เอเชียใต้ และยุโรปนั่นเองครับ...
2
ภาพจาก Wikipedia (เส้นทางสายไหม)
เมื่อเป็นทางผ่านของเส้นทางการค้าขนาดใหญ่ แน่นอนครับว่ามันได้นำความมั่งคั่งร่ำรวยมาสู่ดินแดนแห่งนี้ รวมถึงวัฒนธรรมจากเอเชียกลางก็ได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ซินเจียงโดยเฉพาะอารยธรรมของอิสลาม จึงทำให้เกิดนครขึ้นมามากมายในซินเจียง โดยผู้คนมักเรียกนครเหล่านี้รวมๆว่า “เตอร์กิสสถานตะวันออก”
นครที่เด่นๆซึ่งกลายเป็นศูนย์กลางการค้าและศูนย์กลางของอารยธรรมอิสลามในแถบนี้ คือ นครคาชการ์(Kashgar) ซึ่งในช่วงศตวรรษที่ 9 ถึงศตวรรษที่ 14 นั้น ถือว่าเป็นยุครุ่งเรืองของดินแดนแถบนี้
3
แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงศตวรรษที่ 15 เป็นต้นไป ที่เทรนการค้าขายทางทะเลเริ่มบูมขึ้นมา เส้นทางสายไหมจึงค่อยลดความสำคัญลง พร้อมๆกับความคึกคักมั่งคั่งในดินแดนซินเจียงเริ่มซบเซาลงเรื่อยๆ
2
กลับกลายเป็นว่าดินแดนแห่งนี้เริ่มเกิดปัญหาขึ้นในศตวรรษที่ 18 เมื่อเกิดแนวคิดจักรวรรดินิยมขึ้นมา
มหาอำนาจอย่างรัสเซียเริ่มแผ่ขยายอิทธิพลเข้าสู่เอเชียกลางและซินเจียง เมื่อเป็นแบบนั้นแล้วมีหรือครับที่จีนจะยอม?
1
โดยราชวงศ์ชิงของจีนต้องการให้ซินเจียงเป็นดินแดนกันชนระหว่างตัวเองกับรัสเซีย จึงเริ่มแผ่อิทธิพลเข้าครอบครองซินเจียงอย่างจริงจัง
1
ชาวอุยกูร์ในซินเจียงจึงเริ่มต่อต้านราชวงศ์ชิงของจีน...
และนี่แหละครับ คือจุดเริ่มต้นของปัญหาในซินเจียง...
1
ภาพจาก iStock (นครคาชการ์ในปัจจุบัน หากไม่บอกว่าอยู่ในประเทศจีนคงคิดว่าอยู่ในแถบเอเชียกลางหรือไม่ก็ตะวันออกกลางเลยนะครับเนี่ย)
ราชวงศ์ชิงเริ่มส่งทหารเข้ายึดครองเมืองคาชการ์ และสั่งให้ทหารปราบปรามชาวอุยกูร์ที่ต่อต้านจีนอย่างเด็ดขาด ซึ่งทำให้ชาวอุยกูร์ตายไปเป็นเบือ
นโยบายการปกครองอย่างเข้มข้นของจีนแทนที่จะทำให้ชาวอุยกูร์ในซินเจียงหวาดกลัว แต่มันกลับทำให้ชาวอุยกูร์ในซินเจียงเริ่มเคียดแค้นเกลียดชังรัฐบาลของจีนมากยิ่งขึ้น (แต่ก็ยังทำอะไรไม่ได้)
5
ผนวกกับในศตวรรษที่ 19 มหาอำนาจอย่างอังกฤษได้อินเดียเป็นอาณานิคม อิทธิพลของอังกฤษจึงเริ่มแผ่เข้ามาในเอเชียกลาง
1
เมื่อเป็นแบบนั้นแล้วการแสดงความเป็นเจ้าของซินเจียงของจีนจึงทวีเพิ่มมากขึ้น ราชวงศ์ชิงของจีนเริ่มต่อต้านการล่าอาณานิคมของอังกฤษโดยการ...
“เขียนเส้นเขตแดนของประเทศจีนขึ้นมา” เพื่อแสดงให้อังกฤษรับรู้ว่า...
“นี่คือดินแดนของอั๊วนะ ลื้อห้ามเข้ามายุ่มย่าม!”
1
แน่นอนครับว่าการกำหนดเขตแดนของจีนนั้นได้ลากเส้นล้อมซินเจียงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของจีนด้วย
1
การเขียนเส้นเขตแดนนี้มันได้ทำให้ชาวอุยกูร์ในซินเจียงถูกตัดขาดจากมุสลิมในเอเชียกลางที่มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน...
อำนาจการปกครองของซินเจียงถูกรวบไปที่กรุงปักกิ่งซึ่งอยู่ห่างไกลกว่า 4,000 กิโลเมตร...
3
ถูกปกครองโดยกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมต่างกันสุดขั้ว...
2
จากดินแดนที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าที่รุ่งเรืองสุดขีด กลายเป็นเพียงดินแดนชายขอบของจีน...
3
ความสำคัญในการเป็นศูนย์กลางการค้าได้มลายหายไป กลายเป็นเพียงดินแดนกันชนระหว่างมหาอำนาจจีน อังกฤษ และรัสเซียเท่านั้น...
เศรษฐกิจของซินเจียงจึงตกต่ำลงเรื่อยๆ จนกลายเป็นดินแดนยากจนไปในที่สุด...
The India Observer (อังกฤษแผ่อิทธิพลเข้าปกครองอินเดีย)
การปกครองซินเจียงนั้น จีนจะส่งขุนนางของตนเองไปปกครอง ซึ่งขุนนางที่ส่งไปนั้นก็ไม่ได้เป็นขุนนางหัวกระทิดีเด่อะไร แต่กลับเป็นขุนนางที่โดนลงโทษโดยการเนรเทศให้มาปกครองยังแดนไกล
2
แต่ด้วยความที่อยู่ห่างไกลเมืองหลวงเอามากๆ ขุนนางจีนที่ปกครองก็หัวไสเห็นช่องทำมาหากินของตนเองโดยการทุจริตคอร์รัปชัน ขูดรีดประชาชน ไม่เคารพวัฒนธรรมประเพณีของมุสลิมในพื้นที่
3
ซึ่งเมื่อโดนกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ และดูหมิ่นดูแคลนหนักเข้าๆ ชาวอุยกูร์ซึ่งเป็นมุสลิมที่มีจำนวนมากที่สุดจึงคิดว่า “ไม่ไหวแล้วโว้ย!” พากันลุกขึ้นมาต่อต้านขุนนางและรัฐบาลจีนใน ค.ศ.1863
2
โดยเกิดการลุกฮือต่อต้านครั้งแรกที่เมืองอีลี (Ily) แต่รัฐบาลจีนก็ส่งกองกำลังเข้าปราบปรามอย่างรวดเร็ว
แต่ทว่า การปราบปรามในอีลี เหมือนเป็นการราดน้ำมันลงในกองไฟ...
การลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลจีนได้ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในหลายพื้นที่ในซินเจียง ทำให้สถานการณ์ในซินเจียงชุลมุนวุ่นวายมากขึ้นจนรัฐบาลจีนไม่สามารถควบคุมซินเจียงได้อย่างเด็ดขาดเหมือนแต่ก่อน
2
และในช่วง ค.ศ.1864 ชายที่ชื่อว่า ยากูบ เบก (Yakub Baig) ได้ทำการรวบรวมกองทัพมุสลิมในซินเจียงให้เป็นปึกแผ่น และเริ่มทำสงครามปลดแอกจากจีนอย่างเต็มตัว
1
กองทัพของยากูบ เบก ได้ตีเอาดินแดนต่างๆจนได้เมืองอุรุมชีแล้วตั้งรัฐบาลของตนเองขึ้นมา ซึ่งที่ตั้งของเมืองอุรุมชีถือว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญเพราะอยู่ใกล้พรมแดนของรัสเซีย
1
รัสเซียและอังกฤษเมื่อเห็นแบบนั้นแล้วก็เริ่มตาลุกวาวกับสถานการณ์อันวุ่นวายในซินเจียง
ฝ่ายรัสเซียนั้นต้องการแผ่ขยายอิทธิพลของตนเองเข้ามาในซินเจียงอยู่แล้ว...
1
ส่วนฝ่ายอังกฤษนั้นก็ต้องการใช้ซินเจียงเป็นดินแดนกันชนของอินเดียซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ...
รัสเซียจึงไม่รอช้าส่งกองทัพเข้ายึดดินแดนบางส่วนของซินเจียงไว้...
3
ด้านอังกฤษก็ไม่น้อยหน้า ให้การสนับสนุนรัฐบาลของยากูบ เบกโดยการส่งอาวุธไปให้เพื่อต่อต้านรัฐบาลจีน
1
ฝ่ายรัฐบาลจีนก็ได้ส่งกองทัพนำโดยจอจงถางเข้าถล่มฝ่ายกบฏ
จนใน ค.ศ.1878 ยากูบ เบกก็เสียชีวิตลงอย่างกะทันหัน ซึ่งเมื่อขาดผู้นำที่มีศักยภาพอย่างยากูบ เบก ทำให้กองทัพมุสลิมถูกกองทัพปราบกบฏของจอจงถางถล่มอย่างราบคาบ
5
ฝ่ายรัสเซียเมื่อเห็นแบบนั้นแล้วจึงเริ่มปลดทหารออกจากซินเจียง เนื่องจากยังไม่อยากทำสงครามใหญ่กับจีน
ดังนั้น รัฐบาลจีนจึงมีอำนาจปกครองดินแดนนี้อย่างเด็ดขาดอีกครั้ง พร้อมกับตั้งให้ดินแดนแห่งนี้เป็นมณฑลหนึ่งของจีน โดยใช้ชื่อว่า “มณฑลซินเจียง” ซึ่งแปลว่าแผ่นดินใหม่ใน ค.ศ. 1884 (ก่อนหน้านี้จะเรียกดินแดนซินเจียงว่าเตอร์กิสสถานตะวันออก)
3
ภาพจาก Wikiwand (สงครามในซินเจียง)
แต่แล้วหลังจากนั้น ก็เกิดปัญหาการเมืองภายในของจีนขึ้น นั่นคือ การปฏิวัติซินไฮ่ (Xinhai Revolution) ใน ค.ศ.1911...
ราชวงศ์ชิงถูกโค่นล้มลง และเป็นการนำพาจีนไปสู่รูปแบบของสาธารณรัฐ...
แต่ทว่า การโค่นล้มราชวงศ์ชิง กลับทำให้จีนต้องพบกับความสับสนวุ่นวายมากมาย...
เมื่อศูนย์กลางอำนาจในปักกิ่งถูกโค่นล้ม ก็เกิดขุนศึกตามเมืองต่างๆรบราฆ่าฟันแย่งชิงอำนาจกัน...
2
พรรคก๊กมินตั๋งที่มีอำนาจในการปกครองส่วนกลางก็จำเป็นต้องปราบบรรดาขุนศึกต่างๆจนสำเร็จราบคาบ
1
แต่ก็เกิดปัญหาขึ้นมาอีกครั้งเมื่อผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง คือ ซุน ยัดเซ็น ดันมาเสียชีวิตใน ค.ศ.1925
คราวนี้มันเลยทำให้สมาชิกของพรรคแตกความคิดเป็น 2 แนวทางว่าควรนำพาจีนไปสู่การปกครองแบบไหนระหว่าง...
1) แนวทางประชาธิปไตยนำโดย เจียง ไคเช็ก
2) แนวทางคอมมิวนิสต์นำโดย เหมา เจ๋อตง
แต่แล้วเมื่อ 2 ก๊กนี้ตกลงกันไม่ได้ ก็รบกันสิครับทีนี้...
1
ยังไม่หมดเพียงแค่นั้น จักรวรรดิญี่ปุ่นที่ต้องการแผ่ขยายอำนาจเข้าสู่จีน ได้ยกกองทัพบุกจีนใน ค.ศ.1937 เกิดเป็นสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 ขึ้นมา...
จะเห็นได้เลยครับว่า ตั้งแต่ที่ราชวงศ์ชิงถูกโค่นล้มลงในการปฏิวัติซินไฮ่ จีนต้องเจอกับปัญหาความวุ่นวายภายในสารพัดสารเพ...
สงครามระหว่างขุนศึก...
สงครามกลางเมืองระหว่างเจียงและเหมา...
1
และสงครามจากการแผ่ขยายอำนาจของญี่ปุ่น...
มันเลยทำให้รัฐบาลจีนไม่มีเวลาไปสนใจซินเจียง มีการละเลยและลดการควบคุมซินเจียงลง...
จนชาวมุสลิมในซินเจียงทั้งอุยกูร์และคาซัคก็เริ่มรวมตัวกัน พร้อมกับมีผู้นำผงาดขึ้นมา
คือ อุสมาน (Osman)
1
อุสมาน นำชาวมุสลิมก่อจราจลจนสามารถยึดดินแดนในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของซินเจียงได้สำเร็จ แล้วก็ได้มีการปลดแอกจากจีนโดยตั้งรัฐอิสระขึ้นมาชื่อ “สาธารณรัฐเตอร์กิสสถานตะวันออก” ใน ค.ศ.1945
3
เจียง ไคเช็กเมื่อเห็นแบบนั้นก็เริ่มหัวร้อนไม่พอใจสิครับ จึงส่งกองทัพเข้าถล่มกองทัพของ อุสมาน...
1
แต่จนแล้วจนรอด เจียงก็เอาอุสมานไม่ลงซักที ทั้งยังติดพันศึกกับเหมาอีกด้านหนึ่ง ทำให้เจียงต้องยอมปล่อยอุสมานไป โดยมีการทำข้อตกลงสันติภาพกันใน ค.ศ.1946
ชาวมุสลิมโดยเฉพาะอุยกูร์ในซินเจียงก็เริ่มมีความหวังมองเห็นแสงอิสรภาพที่ปลายอุโมงค์
2
แต่ทว่า แสงนั้นก็ดับวูบลงในฉับพลัน เมื่อกองทัพพรรคคอมมิวนิสต์ของเหมา เอาชนะกองทัพพรรคก๊กมินตั๋งของเจียงได้ในที่สุด
4
เหมาได้เปลี่ยนจีนให้เดินไปสู่แนวทางของคอมมิวนิสต์โดยการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นใน ค.ศ.1949
1
แล้วรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนก็ยกทัพเข้าถล่มซินเจียงอย่างราบคาบ พร้อมจับอุสมานประหารชีวิต แล้วผนวกซินเจียงเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจีนอีกครั้ง...
3
ภาพจาก SupChina (ผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งในเหตุการณ์การปฏิวัติซินไฮ่)
ภาพจาก IGB International School (เจียง ไคเช็ก และ เหมา เจ๋อตง)
ภาพจาก Modern Chinese History (สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2)
ภาพจาก Wikipedia (การก่อตั้งกองกำลังมุสลิมในซินเจียงเมื่อ ค.ศ.1937)
ซินเจียงถูกควบคุมอย่างเข้มงวดมากในช่วงที่จีนคอมมิวนิสต์ปกครอง โดยพูดอย่างง่ายๆเลยก็คือ ประชาชนในซินเจียงเป็นพวกที่เคร่งศาสนาสูงมาก แต่จีนคอมมี่กลับเป็นพวกที่แอนตี้ศาสนา
มันเลยทำให้รัฐบาลจีนใช้นโยบายควบคุมมุสลิมแบบเข้มงวด
3
“ห้ามมีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเพราะเป็นสิ่งต้องห้าม!”
2
“ทำลายมัสยิด หรือไม่ก็เปลี่ยนให้เป็นอย่างอื่นซะ!”
1
แน่นอนครับว่าเมื่อมีการกดขี่แบบนี้ก็ย่อมมีผู้ที่ลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐ แต่ก็อย่างว่าแหละครับจีนในยุคคอมมี่ “อำนาจรัฐอยู่ที่ปลายกระบอกปืน” ใครไม่เชื่อฟังก็ยิงทิ้ง...
5
กองทัพจีนได้ปะทะและสังหารประชาชนชาวมุสลิมซึ่งส่วนใหญ่คืออุยกูร์ในซินเจียงไปหลายแสนคน!
2
แต่การใช้กำลังของรัฐบาลจีนแทนที่จะมอบความกลัว แต่กลับมอบจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ให้กับชาวอุยกูร์ในซินเจียงแทน
มีการตั้งกองกำลังติดอาวุธขึ้นทั่วดินแดนซินเจียง ซึ่งสันนิษฐานได้ครับว่ากองกำลังเหล่านี้ได้อาวุธมาจากประเทศโลกเสรีเพื่อให้ลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีน
1
ซึ่งเหตุการณ์สถานการณ์โลกช่วงนั้นสงครามเย็นเริ่มก่อตัวและร้อนระอุเลยทีเดียว!
2
มันเลยทำให้สงครามในซินเจียงเริ่มยืดเยื้อ ทางฝั่งรัฐบาลจีนก็เพิ่งตั้งประเทศขึ้นมาได้หมาดๆก็ไม่อยากเอาเงินไปละลายกับสงครามจนหมด จึงตั้งซินเจียงเป็น “เขตปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเจียง” ใน ค.ศ.1955
1
แต่จริงๆแล้วก็ยังคงพยายามปกครองซินเจียงแบบเข้มงวดเหมือนเดิมอยู่ดี ทำให้ปัญหาใน
ซินเจียงยังคงคาราคาซังจนไปสู่จุดพีคในเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญของจีน คือ...
2
การปฏิวัติวัฒนธรรมจีน (China’s Cutural Revolution) นั่นเองครับ
ภาพจาก UCA News (ชาวอุยกูร์ในช่วงเวลาไหนไม่แน่ชัดแต่คาดว่าจะเป็นช่วง 1940s-1950s)
ก่อนอื่นผมขอเล่าถึงเรื่องราวการเมืองจีนหลังเหมา เจ๋อตงขึ้นมาปกครองก่อนนะครับ...
โดยหลังจากเหมาขึ้นมาปกครองนั้น ได้ทำการขับเคลื่อนจีนไปในแนวทางของคอมมิวนิสต์โดยมีการใช้นโยบายธงแดงสามผืนกับโยบายก้าวกระโดดไกล
2
นโยบายของเหมาผนวกกับจีนเจอภัยแล้งอย่างหนักหน่วง ทำให้ในช่วงนี้มีคนจีนตายไปกว่า 20 ล้านคน!
3
ความผิดพลาดของเหมา จึงเปิดทางให้ผู้นำกลุ่มใหม่ขึ้นมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ คือ หลิว เส้าฉีและเติ้ง เสี่ยวผิง
ทั้งสองคนได้นำพาจีนขับเคลื่อนด้วย “ระบบสังคมนิยมที่ใช้กลไกตลาด” ทำให้เศรษฐกิจจีนเริ่มกระเตื้องขึ้นมาทีละนิดๆ มันเลยทำให้อำนาจของสองคนนี้เพิ่มพูนขึ้นมาเรื่อยๆ
คราวนี้เลยทำให้กลุ่มอำนาจฝั่งเหมาเริ่มตะหงิดๆไม่พอใจว่าสองคนนี้ “เกินหน้าเกินตาซะเหลือเกิน” โดยเฉพาะแก๊งสี่คนที่นำโดยเจียงชิงซึ่งเป็นภรรยาของเหมาพยายามเสี้ยมและกรอกหูให้เหมากำจัด 2 คนนี้ออกไปซะ!
สถานการณ์มาถึงจุดพีคเมื่อแก๊งสี่คนได้ทำการปลุกระดมเยาวชนนักศึกษาที่เรียกว่า เรดการ์ด (Red Guard) ให้ทำลายอำนาจหลิวและเติ้ง โดยบอกว่า “หลิวและเติ้ง กำลังจะนำพาจีนไปสู่ลัทธิแก้ ซึ่งเป็นแนวทางของทุนนิยม โดยเป็นการหยามหน้าท่านประธานเหมาที่ยิ่งใหญ่ของเรา!”
4
แล้วพวกเรดการ์ดก็ได้ทำการปฏิวัติวัฒนธรรมขึ้นมาใน ค.ศ.1966 ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิวัติที่ทำลายสังคมจีนอย่างย่อยยับเลยทีเดียวครับ...
1
โดยพวกเรดการ์ดมีจุดมุ่งหมาย คือ การทำลาย 4 เก่า ได้แก่ ความคิดเก่า วัฒนธรรมเก่า นิสัยเก่า และประเพณีเก่า พูดง่ายๆก็คือเหมือนเป็นการทำลายรากเหง้าทุกอย่างของจีน โดยอะไรที่เป็นสิ่งแปลกปลอมจากแนวคิดของประธานเหมา จะถูกทำลายจนหมดสิ้น!”
1
กระแสการปฏิวัตินี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในปักกิ่ง แต่มันได้ลุกลามไปทั่วประเทศ!
1
เหล่าเรดการ์ดและผู้คนที่บูชาเหมาได้ทำการจับกุม ทรมาน และเข่นฆ่าคนจำนวนมากที่เห็นว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมจากอุดมการณ์ประธานเหมา
หนังสือตำรา วัตถุโบราณ วัด ฯลฯ ถูกเผาทำลายทั่วประเทศ
1
กระแสการปฏิวัตินั้นได้ลุกลามมาจนถึงซินเจียง แน่นอนครับว่า “ขนาดความเป็นจีนเก่ายังถูกทำลาย แล้วความเป็นมุสลิมจะเหลือเรอะ!”
ดังนั้น จึงมีการบุกเผาทำลายมัสยิดในซินเจียง มีการห้ามเรียนและสอนศาสนาอิสลามรวมถึงภาษาอาหรับอย่างเด็ดขาด พร้อมกับจับตัวอิหม่ามไปคุมขัง ทรมานและประหารชีวิตนับพันคน!
3
ชาวอุยกูร์ที่มีฐานะหน่อยก็คิดว่า “อยู่ไม่ได้แล้ว!” จึงพากันอพยพลี้ภัยไปตุรกีหรือไม่ก็ยุโรป...
2
ส่วนพวกที่ไม่มีกะตังก็พากันอพยพหนีตายไปเอเชียกลางหรือไม่ก็ปากีสถาน...
2
การกดขี่ทำลายชาวอุยกูร์ในซินเจียงช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม ทำให้ชาวมุสลิมเกิดอคติและความโกรธแค้นต่อคนจีนฮั่นเป็นอย่างมาก
ทำให้ในช่วงเวลาต่อมาหลังการปฏิวัติวัฒนธรรมมีการตั้งกองกำลังติดอาวุธเพื่อแบ่งแยกดินแดนขึ้นมาหลายกลุ่มเพื่อรบและก่อวินาศกรรมต่อคนจีนฮั่น
เป็นผลให้ในเวลาต่อมารัฐบาลจีนตราหน้ากลุ่มพวกนี้ว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายนั่นเอง...
ภาพจาก Pinterest (เรดการ์ด)
ภาพจาก ejinsight (การประจานบุคคลที่เห็นว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม)
ภาพจาก Pinterest (การทำลายสี่เก่าในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม)
ภาพจาก Seagh Kehoe (กองกำลงติดอาวุธในซินเจียง)
หลังการปฏิวัติวัฒนธรรมและหลังยุคของเหมา ผู้ที่ขึ้นมาขับเคลื่อนจีนคือเติ้ง เสี่ยวผิงอย่างที่ผมได้เล่าไว้แล้วในตอนต้น ซึ่งในช่วงแรกที่เติ้งขึ้นมาน้ันเริ่มมีการลดความเข้มงวดในการปกครองซินเจียงลง
1
มีการยกเลิกกฎข้อห้ามต่างๆ...
1
มีการทำนุบำรุงมัสยิดขึ้นมาใหม่...
ส่งเสริมการตั้งสมาคมมุสลิมและบทบาทผู้นำศาสนา...
เรียกได้ว่า นโยบายต่างจากยุคของเหมาแบบหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียวครับ...
3
แต่ปัญหาก็เริ่มเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อสหภาพโซเวียตได้ล่มสลายลงใน ค.ศ.1991 เหล่าประเทศในเอเชียกลางที่แต่ก่อนอยู่ภายใต้สหภาพโซเวียตก็พากันแยกตัวเป็นอิสระก่อตั้งประเทศของตัวเองขึ้นมา
1
ชาวอุยกูร์ในซินเจียงเมื่อเห็นแบบนั้นก็มองอย่างตาละห้อยสิครับ “ดินแดนข้างเคียงดันกลายเป็นประเทศทีมีอิสระในการปกครองตัวเองไปแล้ว แล้วทำไมตูไม่ได้อิสระแบบนั้นบ้าง!”
1
ชาวอุยกูร์จึงลุกขึ้นมาเรียกร้องเจรจากับรัฐบาลจีนเพื่อขอแยกเป็นประเทศอิสระ
1
ฝ่ายรัฐบาลจีนก็เริ่มอึกอักเพราะก็ไม่อยากเสียดินแดนไปเหมือนกันแต่ก็ยังไม่ได้ตัดสินใจอย่างเด็ดขาด
3
ทว่าเมื่อรัฐบาลจีนได้มีการค้นพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาลในซินเจียง จึงสามารถตัดสินใจได้เลยทันทีครับว่า
“หากยอมปล่อยขุมทรัพย์มหาศาลตรงหน้าให้หลุดมือไปก็โง่แล้ว!”
ดังนั้น ซินเจียงจึงเป็นหนึ่งในดินแดนที่จีนจะไม่ยอมเสียไปเป็นอันขาด! กลายเป็นว่าจีนใช้หลักหนึ่งประเทศ สองระบบให้ซินเจียงยังคงเป็นมณฑลหนึ่งของจีนเหมือนเดิม
ฝ่ายกองกำลังติดอาวุธก็ไม่ยอมสิครับทีนี้ จึงพากันวางแผน ก่อกวน และทำวินาศกรรมต่อชาวจีนฮั่นเพื่อพยายามแบ่งแยกดินแดนตั้งแต่ทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา...
ฝ่ายรัฐบาลจีนก็มีการใช้กองกำลังและความรุนแรงเข้าปราบปรามอยู่ตลอด แต่จีนได้เรียนรู้จากอดีตแล้วครับว่า “ดินแดนนี้มันดื้อ ใช้เพียงแค่ความรุนแรงอย่างเดียวไม่เวิร์คหรอก!”
1
ดังนั้น กลยุทธ์ที่รัฐบาลจีนใช้แก้ปัญหาชาวอุยกูร์ในซินเจียงก็คือ...
1
การใช้อัตลักษณ์ความเป็นจีนฮั่นกลืนกินอัตลักษณ์ความเป็นมุสลิมอุยกูร์นั่นเอง...
2
ภาพจาก Ocean Energy Resource (แหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในจีน)
เริ่มแรกนั้นรัฐบาลจีนได้มีการออกนโยบายจูงใจให้ชาวจีนฮั่นอพยพเข้าไปตั้งรกรากในซินเจียง ซึ่งจากการค้นพบทรัพยากรธรรมชาติอันมหาศาลในซินเจียงนั้น ก็ทำให้มีความต้องการกำลังคนเพื่อไปขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในซินเจียงอยู่แล้ว โดยคนที่รัฐบาลจีนไว้ใจ คือ ชาวจีนฮั่นเท่านั้น
ซึ่งนับตั้งแต่ทศวรรษ 2000 เป็นต้นมาชาวจีนฮั่นก็ได้หลั่งไหลเข้าไปในซินเจียง ซึ่งแน่นอนครับว่ารัฐบาลจีนก็ได้ยกให้ชาวจีนฮั่นเป็นพลเมืองชั้นหนึ่งในซินเจียง ส่วนชาวอุยกูร์และมุสลิมกลุ่มอื่นถูกลดเป็นพลเมืองชั้นต่ำกว่า...
ความไม่พอใจของอุยกูร์ก็ปรากฏออกมาเป็นการก่อวินาศกรรมต่อชาวจีนฮั่นในเมืองใหญ่ๆ อาทิ...
2
เหตุการณ์ขับรถพุ่งชนคนเดินเท้าบริเวณจตุรัสเทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่งทำให้คนจีนฮั่นเสียชีวิต 2 คน ใน ค.ศ.2013 ซึ่งจากการสอบสวนพบว่าผู้ก่อเหตุเป็นชายชาวอุยกูร์...
1
หรือเหตุการณ์ชายชาวอุยกูร์ใช้มีดไล่แทงชาวจีนฮั่นที่สถานีรถไฟเมืองคุนหมิง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 31 คน...
เหตุการณ์เหล่านี้มันยิ่งทำให้รัฐบาลจีนต้องใช้มาตรการจัดการชาวอุยกูร์อย่างจริงจัง...
เริ่มมีการใช้กฎหมายห้ามต่างๆขึ้นมาอีกครั้ง
1
“ห้ามใช้ชื่อแบบอิสลามหรืออาหรับ”
“ห้ามไว้เครา”
“ห้ามผู้หญิงคลุมฮิญาบ”
1
“ห้ามมีการสอนศาสนาอิสลามให้กับเด็ก”
3
อีกทั้งรัฐบาลจีนพยายามผลักดันให้ภาษาจีนกลางเป็นภาษาที่ต้องใช้สื่อสารในซินเจียง...
มีการส่งครูจากส่วนกลางไปบังคับปลูกฝังและสอนอัตลักษณ์แบบจีนให้กับเยาวชนชาวอุยกูร์
เยาวชนชาวอุยกูร์ก็จะได้เรียนรู้ภาษาแบบจีน...
ประเพณีวัฒนธรรมแบบจีน...
ประวัติศาสตร์แบบจีน...
1
อุดมการณ์และศาสนาแบบจีน...
สุดท้ายแล้วในอนาคตข้างหน้าคนเก่าคนแก่ที่มีแนวคิดทางภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษา อุดมการณ์และศาสนาแบบอุยกูร์ก็ล้วนต้องตายจากไป...
1
เหลือเพียงเยาวชนอุยกูร์ที่เติบโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีอัตลักษณ์แบบจีน...
แล้วในที่สุดอัตลักษณ์แบบอุยกูร์ก็จะหายสาบสูญไปจากโลกนี้...
4
ภาพจาก BBC (การศึกษาแบบจีนในซินเจียง)
ภาพจาก Financial Times (การศึกษาแบบจีนในซินเจียง)
แต่มันยังไม่จบเพียงแค่นั้นครับ เพราะใน ค.ศ.2018 ได้ปรากฏภาพถ่ายดาวเทียมที่แสดงให้เห็นว่ามีสิ่งก่อสร้างปริศนาขนาดใหญ่ที่ผุดขึ้นมาที่เมืองต้าปันฉังในซินเจียง ทั้งที่เมื่อ 3 ปีที่แล้วพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ว่างเปล่า (ซึ่งภายหลังพบเจอลักษณะแบบนี้หลายแห่งทั่วซินเจียง)
1
นักข่าวหลายๆคนเริ่มได้กลิ่นตุๆและสงสัยว่าสิ่งก่อสร้างที่ว่านี้คืออะไร?
แล้วก็มีคนสันนิษฐานว่ามันมีลักษณะเหมือนเรือนจำหรือไม่ก็ค่ายกักกัน
จึงเริ่มมีการสืบสาวราวเรื่องลงภาคสนามพยายามไปดูไปถ่ายสถานที่จริง สัมภาษณ์คนในพื้นและชาวอุยกูร์ที่เคยเข้าไปในสถานที่แห่งนั้น จนเกิดการตั้งสมมติฐานครับว่า รัฐบาลจีนได้สร้างค่ายกักกันเพื่อกักขัง ใช้แรงงาน และล้างสมองชาวอุยกูร์ ซึ่งค่ายแต่ละแห่งมีการกักกันชาวอุยกูร์กว่า 100,000 คน
1
แต่รัฐบาลจีนก็ได้ออกมาปฏิเสธอย่างเด็ดขาดครับว่า “เหลวไหลเลอะเทอะ มันไม่ใช่ค่ายกักกันอะไรทั้งนั้น สถานที่ที่ว่าคือวิทยาลัยอาชีวศึกษา ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อต่อต้านแนวคิดการก่อการร้ายต่างหาก”
2
แต่เหล่านักข่าวก็ได้พยายามขุดคุ้ยกันต่อไปครับ จนในที่สุดเอเดรียน เซ็นซ์ (Adrian Zenz) นักมนุษยวิทยาชาวเยอรมนีได้ไปพบหลักฐานเข้า ซึ่งเป็นเอกสารการก่อสร้างปรับปรุงอาคารในซินเจียง
1
ซึ่งเอกสารได้แสดงว่า มีการสร้างหอสังเกตการณ์ กล้องวงจรปิด และรั้วลวดหนาม ซึ่งเอกสารได้ระบุชื่อสิ่งก่อสร้างนี้ว่า “ศูนย์ปรับทัศนคติ”
4
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ข้อมูลหลักฐานในส่วนอื่นๆก็มีการปกปิดอย่างแน่นหนามาก ทำให้ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งว่า “ศูนย์ปรับทัศนคติ” ที่ว่านี้จริงๆแล้วเอาไว้ใช้ทำอะไรและมีโครงสร้างภายในเป็นอย่างไร
ซึ่งหากเป็นไปตามสมมติฐานจริงๆ ก็ถือได้ว่าในซินเจียงอาจจะเป็นพื้นที่ที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ใหญ่ที่สุดในโลกปัจจุบัน...
1
ภาพจาก The Cat (สิ่งก่อสร้างปริศนาที่ต้าปันฉัง)
ภาพจาก Save Uyghur
ภาพจาก Quartz
ภาพจาก Free Beacon (ที่ศูนย์ปรับทัศนคติที่ผุดขึ้นมาในซินเจียง สีเหลือง)
จากอดีตมาสู่ปัจจุบันทุกท่านคงพอจะมองเห็นภาพความขัดแย้งอย่างคร่าวๆที่ก่อให้เกิดปัญหาการแบ่งแยกดินแดนของชาวอุยกูร์ในซินเจียง
1
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ทำให้ชาวอุยกูร์และมุสลิมกลุ่มอื่นๆมีความมั่งคั่งรุ่งเรืองในอดีต...
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ทำให้ชาวอุยกูร์และชาวมุสลิมกลุ่มอื่นๆถูกผนวกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของมหาอำนาจจีนในเวลาต่อมา...
และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ทำให้ชาวอุยกูร์และมุสลิมกลุ่มอื่นๆยังคงถูกปกครองโดยชาติพันธุ์ที่มีอัตลักษณ์แตกต่างกันสุดขั้ว...
อัตลักษณ์แบบจีนฮั่นกำลังแทรกซึมไปทั่วทุกอณูของสังคมอุยกูร์...
และในท้ายที่สุดอัตลักษณ์แบบอุยกูร์จะถูกอัตลักษณ์แบบจีนฮั่นกลืนกินแล้วหายสาบสูญไปจากโลกนี้หรือไม่นั้น...
1
ผู้ที่กำหนดได้ก็คงจะเป็นผู้ที่มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงทิศทางของโลกใบนี้...
ภาพจาก The Diplomat
References
Bovingdon, Gardner. The Uyghurs : Strangers in Their Own Land. New York : Columbia University Press, 2020.
Millward, James. Eurasian Crossroads : A History of Xinjiang. New York : Columbia University Press, 2009.
Robert, Sean. The War on the Uyghurs : China's Internal Campaign against a Muslim Minority. Princeton : Princeton Universty Press, 2020.
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา