10 พ.ย. 2020 เวลา 00:30 • ประวัติศาสตร์
ยอดหญิงหัวใจแกร่ง! เกร็ดชีวิตน่ารู้ของ 'มาลาลา ยูซาฟไซ' สาวน้อยผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิทางการศึกษา เจ้าของรางวัลโนเบลที่อายุน้อยที่สุด
1
WIKIPEDIA CC SOUTHBANK CENTRE
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
มาลาลา ยูซาฟไซ (Malala Yousafzai) คือเด็กสาวชาวปากีสถานที่เคลื่อนไหวเพื่อสิทธิในการศึกษาของผู้หญิง จนถูกกลุ่มตาลิบันยิงจนได้รับบาดเจ็บสาหัสตอนเดินทางกลับบ้านโดยรถโรงเรียนแต่รอดชีวิตมาได้ ภายหลังได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพและได้รับรางวัลโดยยังเป็นผู้ที่อายุน้อยที่สุดที่เคยได้รับรางวัลโนเบลเมื่อวัย 17 ปี
1. มาลาลาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ที่นอร์เวย์ร่วมกับไกรลาส สัตยาธี จากการต่อสู้เพื่อการศึกษา โดยในขณะนั้นมาลาลามีอายุเพียง 17 ปีจึงกลายเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลที่อายุน้อยที่สุดในโลก และเธอยังเป็นชาวปากีสถานคนที่ 2 ที่ได้รับรางวัลโนเบล
WIKIPEDIA CC DFID
ในระหว่างพิธีมอบรางวัลนั้น นักศึกษาชาวเม็กซิกันวัย 21 ปี ได้เข้ามาขัดจังหวะพิธีเพื่อประท้วงการลักพาตัวหมู่ที่เม็กซิโกปี ค.ศ. 2014 แม้เจ้าหน้าที่จะนำตัวของนักศึกษาเม็กซิกันออกไปแล้ว แต่มาลายังแสดงความเห็นใจและยังกล่าวถึงคนหนุ่มสาวทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับปัญหาที่แตกต่างกันออกไป และมาลาลายังแสดงออกว่าการที่วัยรุ่นจะออกมาพูดและประท้วงเป็นเรื่องสำคัญ
2. ช่วงปี ค.ศ. 2007 ตาลิบันเริ่มเข้ายึดเมืองสวัต ซึ่งเป็นเขตที่มาลาลาและครอบครัวอาศัยอยู่ มาลาลามีอายุเพียง 10 ปีในขณะนั้น กลุ่มตาลิบันต้องการบังคับใช้กฎหมายชารีอะห์อย่างเข้มข้น เช่น การให้มีโทษประหารสำหรับร้านขายเพลง, ห้ามผู้คนรับวัคซีน, ห้ามฟังเพลง, ห้ามดูโทรทัศน์ รวมไปถึงการห้ามเด็กผู้หญิงเรียนหนังสือ กลุ่มตาลิบันยังการทำการเลยเถิดอย่างการปิดและระเบิดโรงเรียนทิ้งด้วย
WIKIPEDIA CC BAIR175
มาลาลาและเพื่อนจำต้องหยุดไปโรงเรียน เพราะกลุ่มตาลิบันได้ทำลายโรงเรียนไปกว่า 400 แห่ง เรื่องนี้ทำให้มาลาลาลุกขึ้นมาพูดในที่สาธารณะเมื่อปี ค.ศ. 2008 ในงานประชุมสื่อที่เปชวาร์ในหัวข้อ “พวกตาลิบันกล้าดีอย่างไรถึงได้มาพรากสิทธิพื้นฐานในการศึกษาของฉัน? “ เธอได้รับความสนใจจากสื่ออย่างรวดเร็ว ทำให้มาลาลาเป็นที่จดจำในความกล้าที่จะต่อต้านพวกตาลิบันแม้จะมีอายุเพียง 11 ปีก็ตาม
3. ปี ค.ศ. 2008 บีบีซีภาษาอูรดูต้องการจะถ่ายทอดเรื่องการยึดเมืองสวัตของกลุ่มตาลิบันผ่านสายตาของเด็กนักเรียนหญิง แต่ไม่มีใครกล้าเขียนถึงพวกนั้นเพราะเกรงว่าครอบครัวจะได้รับอันตราย แต่ผู้สื่อข่าวได้ติดต่อกันไซอุดดิน ยูซาฟไซ พ่อของมาลาลาที่ประกอบอาชีพเป็นครูในโรงเรียนท้องถิ่น พ่อของมาลาลาได้แนะนำแก่ผู้สื่อข่าวว่าลูกสาวของเขาสามารถเขียนเรื่องนี้ได้ บรรณาธิการของบีบีซีจึงได้ตกลงให้มาลาลาเขียนบล็อกเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจำวันภายใต้การปกครองของตาลิบัน โดยในขณะนั้นมาลาลาเรียนอยู่เกรด 7 และเพื่อความปลอดภัยของมาลาลาจึงได้ใช้ชื่อปลอมในการเขียนบล็อกว่า “Gul Makai” ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากตัวละครพื้นบ้านของปากีสถาน และบีบีซีได้เผยแพร่งานเขียนครั้งแรกของเธอเมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 2009
WIKIPEDIA CC SOUTHBANK CENTRE
4. แม้จะมีอันตราย แต่มาลาลาก็ไม่หยุดการพูดต่อต้านพวกตาลิบัน เธอได้รับคำขู่ฆ่าผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียและยังมีกระดาษโน้ตที่เขียนคำขู่ฆ่าแนบมากับหนังสือพิมพ์ที่สอดอยู่ใต้ประตู คำขู่ฆ่าเหล่านี้กลายมาเป็นเรื่องจริงเมื่อปี ค.ศ. 2012
9 ตุลาคม ค.ศ. 2012 มือปืนสมาชิกกลุ่มตาลิบันโจมตีมาลาลาในขณะที่เธอเดินทางกลับจากโรงเรียนพร้อมเพื่อนบนรถโรงเรียน มาลาลาและเด็กนักเรียนอีกหลายคนถูกยิง มาลาลากระสุนที่พุ่งห่างจากตาซ้ายไม่กี่นิ้วเจาะคอและไปติดอยู่ที่ไหล่
เธอถูกส่งถึงมือแพทย์จนได้รับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลทหารเมืองเปชวาร์ก่อนจะถูกส่งต่อไปรักษาตัวที่เมืองเบอร์มิงแฮม, ประเทศอังกฤษ เธอฟื้นจากอาการโคม่าเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2012 และได้รับการดูแลทางการแพทย์จนกลับมาฟื้นตัวเต็มที่จนสามารถออกจากโรงพยาบาลได้เมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 2013
เหตุการณ์บุกยิงเด็กสาวที่เรียกร้องสิทธิในการเรียนหนังสือได้รับการรายงานไปทั่วโลกก่อให้เกิดความโกรธแค้นต่อพวกตาลิบันและเกิดความเห็นใจต่อมาลาลาและสิ่งที่คนในพื้นที่ต้องเผชิญ ผู้นำระดับโลกหลายคนก็ออกมาพูดถึงเหตุการณ์นี้ด้วย
5. มาลาลาได้ฉลองวันเกิดครบรอบ 16 ปี ด้วยการกล่าวสุนทรพจน์ ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ และยังเป็นสุนทรพจน์ต่อสาธารณะครั้งแรกนับตั้งแต่เธอถูกโจมตีเมื่อปี ค.ศ. 2012 โดยในขณะกล่าวสุนทรพจน์มาลาลายังได้สวมผ้าคลุมของเบนาซีร์ บุตโต อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของปากีสถานที่ล่วงลับไปแล้ว ทำให้สุนทรพจน์ครั้งนี้มีความความหมายลึกซึ้ง
WIKIPEDIA CC CLAUDE TYUONG-NGOC
ในสุนทรพจน์มาลาลาได้กล่าวขอบคุณผู้คนที่ช่วยสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือในการพื้นตัวและให้การยอมรับว่าเธอได้พูดแทนคนนับพันที่กำลังส่งเสียงขอความช่วยเหลือ รวมถึงการพูดถึงสิทธิพื้นฐานของสตรีในการได้รับการศึกษาที่ตาลิบันพยายามจะพรากมันไป มาลาลายังเรียกร้องให้รัฐบาลจัดการศึกษาภาคบังคับให้แก่เด็กๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อสร้างอนาคตให้แก่เด็กๆ ทั่วโลก
6. สุนทรพจน์ของมาลาลาได้รับความสนใจและเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้นำและผู้มีชื่อเสียงทั่วโลก สำหรับหลายคนแล้วเธอเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของการต่อต้านและเป็นดั่งความหวังของเด็กสาวทั่วโลก องค์การสหประชาชาติขนานนามวันกล่าวสุนทรพจน์ของเธอว่าวันมาลาลา แต่ตัวมาลาลาเองนั้นบอกว่าวันนี้ไม่ใช่วันของเธอ แต่เป็นวันของผู้หญิง วันของเด็กหญิง วันของเด็กชายทุกคนที่ส่งเสียงเรียกร้องสิทธิของตนเอง
WIKIPEDIA PD
7. สิ่งที่ทำให้มาลาลาเป็นนักสู้และเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษานี้ปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจากพ่อของเธอ เพราะไซอุดดิน ยูซาฟไซนั้นเป็นทั้งครูและนักกิจกรรม เขาก่อตั้งโรงเรียนในละแวกที่อยู่อาศัยของตนเอง สนับสนุนสิทธิทางการศึกษาที่เท่าเทียมกันทั้งเด็กชายและเด็กหญิง ในวัยเด็กเขาเคยถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียนเนื่องจากสีผิว ฐานะ สถานะทางสังคมและปัญหาการพูดติดอ่างด้วย สิ่งเหล่านี้ทำให้เขาตระหนักถึงปัญหาเรื่องการเลือกปฏิบัติและความไม่ยุติธรรม
และจากผลงานของไซอุดดินผู้พ่อ ก็กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้กับมาลาลาผู้เป็นลูกสาวที่กล้าที่จะส่งเสียงต่อต้านความอยุติธรรม ไซอุดดินมีอิทธิพลต่อมาลาลาเป็นอย่างมาก เขายังสนับสนุนให้เธอก้าวขึ้นมาเป็นนักการเมืองในอนาคตอีกด้วย และเขายังพูดถึงมาลาลาว่าเธอนั้นเป็นเด็กสาวที่สดใสและแสนพิเศษ บ่อยครั้งที่พ่อลูกมักจะพูดคุยกันเรื่องการเมือง
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา