Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ออกแบบ พูดคุย
•
ติดตาม
30 พ.ย. 2020 เวลา 06:50 • ศิลปะ & ออกแบบ
สุขา...ที่สร้างสุข
สุขาหรือห้องน้ำ เป็นหนึ่งในห้องอีกหลายๆห้องที่ต้องมี ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรืออาคารประเภทใดก็ตาม หากแต่ว่าในการเดินทางไปสถานที่ต่างๆของผู้เขียน กลับพบว่าห้องน้ำหลายๆห้องออกแบบใช้งานได้แต่ไม่ค่อยสบายหรือไม่ค่อยเหมาะและบางกรณีอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกด้วย
ในที่นี้ จะขอบอกเล่าถึงข้อควรคำนึงในการจัดวางสุขภัณฑ์เช่น อ่างล้างหน้า โถส้วม ฯลฯ เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานและความปลอดภัยอีกด้วย
โดยทั่วไป ห้องน้ำมีอยู่ 2 แบบใหญ่คือ แบบมีที่อาบน้ำและแบบไม่มีที่อาบน้ำ
แบบที่ 1 แบบไม่มีที่อาบน้ำ
แบบที่ 2 แบบมีห้องน้ำ
ในการแบ่งพื้นที่ห้องน้ำหลักๆจะมี 2 ส่วน คือมีส่วนเปียกคือบริเวณที่อาบน้ำและส่วนแห้งอันประกอบไปด้วย ส่วนอ่างล้างหน้า โถส้วมและโถปัสสาวะชาย(ถ้ามี) เราอาจแบ่งแยก 2 ส่วนนี้ได้แบบง่ายๆและไม่แพงด้วย ม่านพลาสติก หรือจะแพงขึ้นมาหน่อยก็เป็นฉากกั้นหรือห้องกั้นแบบสำเร็จรูป
รูปที่ 1 ห้องน้ำที่มีเฉพาะส่วนแห้ง
รูปที่ 2 ห้องน้ำที่มีทั้งส่วนเปียกและส่วนแห้ง
ทั้ง 2 แบบเป็นห้องน้ำที่มักจะเห็นได้ตามบ้านหรือร้านค้าบางร้าน ที่สามารถเข้าใช้ได้ที่ละ 1 คน หากแต่ว่าบางที่ เช่นห้องน้ำตามปั๊มน้ำมัน หรือห้างสรรพสินค้าจะเป็นห้องน้ำแบบที่เข้าไปใช้ได้หลายๆคนพร้อมกัน ซึ่งการจัดวางสุขภัณฑ์ต่างๆก็จะมีความซับซ้อนขึ้นหน่อย หากแต่มีพื้นฐานเดียวกัน
การจัดวางสุขภัณฑ์เรียงอยู่บนผนังฝั่งเดียวกันเพื่อความสะดวกในการเดินท่อ และมีพื้นที่ที่เหลือเป็นทางเดินและพื้นที่สำหรับใช้งานอื่นๆ
การเข้าถึงตำแหน่งสุขภัณฑ์ต่างๆ จะจัดวางอย่างตรงไปตรงมาไม่สับสนโดยมีลำดับการเข้าถึงนับจากประตู ตามความบ่อยในการใช้งาน และความน่ามองเมื่อมองมาจากภายนอกห้อง
โดยปกติจะเรียงลำดับตามในภาพ คืออ่างล้างหน้าล้างมือจะไว้ใกล้ประตูที่สุด ตามด้วยโถส้วมและที่อาบน้ำอยู่ลึกที่สุด
ปัญหาที่มักเจอในการไปเยี่ยมบ้านเพื่อนบางคนหรือการใช้ห้องน้ำในบางสถานที่นั้น คือการจัดวางระยะต่างๆ ตามในรูปไม่เหมาะสมทำให้ไม่สะดวกในการใช้งานบ้างหรือดูไม่ดีบ้าง
ระยะต่างในการออกแบบสถาปัตยกรรมนั้น มักอ้างอิงมาจากระยะสัดส่วนของมนุษย์ (Humsn Scale) ซึ่งหากใครสนใจก็ค้นหาดูได้ตามเว็บทั่วไป ในที่นี้ขอไม่กล่าวถึงนะครับ
จากรูปที่ 1 และ 2 ระยะต่างๆที่จะคุยต่อไปนี้เป็นระยะน้อยที่สุด (ตามมาตราฐาน) ที่ควรจะเป็นนะครับ
A ระยะจากกึ่งกลางอ่างล้างหน้าถึงผนังหรือสิ่งกีดขวางข้างๆ ควรมีอย่างน้อย 35 เซนติเมตร
B ความกว้างของริเวณที่ติดตั้งชักโครก คือระยะกว้างพอที่คนหนึ่งคนจะนั่งแล้วไหล่ไม่ติดผนังทั้งสองด้าน ถ้าตาม Human scale ก็ 60 เซนติเมตรก็พอ แต่ใันจะรู้สึกอึดอัดมากเวลาที่เราใช้งาน ดังนั้น ระยะ B ที่ควรใช้คือ 90 - 100 เซนติเมตร ตามความเหมาะสม
C ความกว้างของเคาน์เตอร์ ปกติมักจะทำอยู่ที่ 60 เซนติเมตร แต่ปัจจุบันมีอ่างประเภทที่เรียกว่า half counter ซึ่งถ้าเราใช้อ่างแบบนี้ ระยะ C จะแคบกว่า 60 เซนติเมตรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอ่างแต่ละรุ่นจะระบุไว้
D ระยะจากขอบเคาน์เตอร์ถึงผนังหรือประตู เพื่อให้คนที่ใช้งานอ่างล้างหน้าสามารถหมุนซ้ายขวา ก้มๆเงยๆได้สะดวก ควรมีระยะที่ 90 เซนติเมตร
E คือขนาดประตูที่ใช้ ไม่ควรต่ำกว่า 60 เซนติเมตร
G , H เป็นระยะสำหรับพื้นที่อาบน้ำ ทั้ง 2 ค่านี้ไม่ควรน้อยกว่า 90 เซนติเมตร เพื่อให้การอาบน้ำเราสามารถสวิงแขนได้เต็มที่ ไม่ดดนกำแพงซะก่อน
I คือการกั้นพื้นที่ส่วนเปียกและส่วนแห้งออกจากกัน มีวัสดุให้เลือกมากมายทั้งแบบม่านพลาสติก ไปจนถึงฉากกั้นที่ทำจากกระจกเทมเปอร์(Tempered glass) อันนี้แล้วแต่ความชอบและงบประมาณเลยครับ
J ระยะจากปลายชักโครกไปจนถึงผนังหรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ อย่างน้อยควรมี 60 เซนติเมตร
ข้อควรคำนึงถึงในการทำห้องน้ำ
1. การระบายอากาศ เพื่อไม่ให้ห้องน้ำนั้นมีกลิ่นอับ ชื้น ควรจะมีหน้าต่างหรืออย่างน้อยพัดลมดูดอากาศขนาดตามความเหมาะสมของขนาดห้องน้ำ
2.ถ้ามีแสงธรรมชาติ เข้าได้จะดีมาก เพราะแสงจะช่วยฆ่าเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี
3.การเลือกกระเบื้องปู ผนังเป็นแบบไหนก้ได้ แต่ควรเป็น ceramic ส่วนพื้นนอกจากเป็นกนะเบื้อง ceramic แล้วควรใช้เป็นชนิดกันลื่นด้วย ไม่ควรดูเฉพาะลวดลายหรือสีที่สวยถูกใจ ควรดูความเหมาะสม เพื่อลดการลื่นล้มในห้องน้ำ
4.มีรูระบายน้ำในตำแหน่งที่เหมาะสม พร้อมปรับพื้นให้มีความลาดเอียงเข้าหารูระบายน้ำนั้นด้วย
5.ควรมีการใส่ Stop valve ที่ ก๊อกน้ำอ่างล้างหน้า สายฉีดชำระ น้ำดีเข้าโถพักน้ำของขักโครก เพื่อเวลาที่มีการเปลี่ยนก๊อกหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องจะได้ไม่ต้องปิดวาล์วน้ำตัวหลักซึ่งปกติในกรณีนั้นน้ำทั้งลบ้านจะไม่ไหลไปด้วย
6. ลูกบิดประตูห้องน้ำ ควรใช้ที่เป็นแบบเฉพาะกับห้องน้ำ เพราะตัวลูกบิดแบบนี้ได้มีการออกแบบพิเศษให้สามารถใช้เหรียญหรือวัสดุแบน สอดผ่านรูกุญแจเพื่อปลดล็อก ในกรณีที่ต้องเข้าไปช่วยคนข้างในที่อาจเป็นลมหมดสติอยู่ได้ทันท่วงที
สำหรับห้องน้ำก็มีประเด็นที่น่าระวังหลักๆเท่าที่กล่าวมา
หากชอบหรือคิดว่าบล็อกผมมีประโยชน์ ฝากกดติดตามด้วยนะครับ
4 บันทึก
6
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ห้องน้ำ..ห้องเล็กที่ไม่เล็ก
4
6
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย