Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เงินทองต้องวางแผน By Kate Pichayapat
•
ติดตาม
17 เม.ย. 2021 เวลา 16:53 • การศึกษา
คำนวณทุนประกันชีวิตที่เหมาะสม
ด้วยแนวคิดเรื่องมูลค่าทางเศรษฐกิจของบุคคล (Human Life Value Approach)
เป็น 1 ใน 3 แนวคิดเรื่องทุนประกันชีวิตที่เหมาะสม
เราควรมีทุนประกันชีวิตเท่าไหร่ดี ?? จึงจะพอดีกับความสามารถในการชำระเบี้ยและสามารถส่งมอบ wealth ให้กับคนข้างหลังให้มีชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย
คำถามนี้มีหลากหลายคำตอบ บางคนตั้งค่าทุนประกันไว้เท่าที่คุ้มครองภาระหนี้สิน บางคนตั้งค่าไว้ตามเงินสักก้อนหนึ่งที่ต้องการส่งมอบให้คนข้างหลังเพื่อวัตถุประสงค์อะไรบางอย่าง เช่น ทุนการศึกษาบุตรหลาน หรือ เงินตั้งหลักของครอบครัวให้ดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างน้อย 5 ปี
ไม่ว่าจะเป็นวงเงินเท่าไหร่ ก็ไม่มีคำตอบตายตัว อยู่ที่การวางแผนโอนย้ายความเสี่ยงของแต่ละบุคคล ว่าให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก น้อย แค่ไหน
แต่ถ้าใครยังไม่รู้ว่าควรเป็นเท่าไหร่ เงินทองต้องวาง
แผน ได้นำ 3 แนวคิด ตามหลักการบริหารจัดการความเสี่ยงของการวางแผนการเงินส่วนบุคคล จากสมาคมนักวางแผนการเงิน มาฝากค่ะ
3 แนวคิดเรื่องทุนประกันชีวิตที่เหมาะสม ได้แก่
1. แนวคิดเรื่องมูลค่าทางเศรษฐกิจของบุคคล
(Human Life Value Approach)
2. แนวคิดเรื่องความจำเป็น (Needs Approach)
3. แนวคิดเรื่องผลตอบแทนจากทรัพย์สิน (Capital Retention Approach)
เพื่อให้เนื้อหามีความยาวที่เหมาะสมกับการอ่านทำความเข้าใจ จึงขอแบ่งเป็น 3 บทความนะคะ ในบทความนี้จะกล่าวถึงแนวคิดที่ 1 ก่อนค่ะ
1. แนวคิดเรื่องมูลค่าทางเศรษฐกิจของบุคคล
(Human Life Value Approach)
1
ดร.โซโลมอน เอส เฮิร์บเนอร์ ผู้ก่อตั้ง American College กล่าวไว้ว่า จำนวนเอาประกันภันสำหรับการประกันชีวิตควรจะมีการเพิ่มขึ้นตามความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของแต่ละบุคคล ทุกคนมีมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจ สามารถคำนวณได้จากความสามารถในการหารายได้ของบุคคลนั้นและจำนวนความจำเป็นทางการเงินที่บุคคลอื่นๆ ต้องพึ่งพาจากการหารายได้ของบุคคลนั้น
2
ถึงแม้ค่าชีวิตของมนุษย์หนึ่งคนมิอาจประเมินค่าเป็นตัวเองที่แน่นอนได้ แต่อย่างน้อยก็พอจะประเมินค่าทางเศรษฐกิจของคนๆนั้นได้โดยการคิดรายได้ที่คนคนนั้นมีโอกาสหาได้ในอนาคต คำนวณกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน (present value,PV)
มูลค่าปัจจุบันของรายได้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตหลังหักภาษี คำนวณได้โดยใช้สูตร ดังนี้
สูตรคำนวณมูลค่าปัจจุบันของรายได้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยตัวแปรต่างๆ คือ ปัจจัยที่กำหนดมูลค่าทางเศรษฐกิจของบุคคลมี 5 ปัจจัย ได้แก่
1. รายได้สุทธิ ณ ปัจจุบัน ต่อปี (C)
[รายได้สุทธิ คือ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายส่วนตัว เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสมทบประกันสังคม เบี้ยประกันภัย และ ภาษีออกแล้ว]
2. อัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้สุทธิต่อปีปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ (g)
3. ระยะเวลาที่จะทำงาน จนถึงวันเกษียณอายุ (n)
4. อัตราผลตอบแทนการลงทุนหลังหักภาษีปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ (r)
5. อัตราส่วนลดหลังหักภาษี (i) โดย i = (r-g)/(1+g)
-ตัวอย่าง-
นายรักออม อายุ 35 ปี มีรายได้สุทธิ ณ.ปัจจุบันหลังหักภาษี เท่ากับ 500,000 บาทต่อปี กำหนดให้อัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้สุทธิต่อปีปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ เท่ากับ 5% นายรักออม คาดว่าจะทำงานไปจนถึงอายุ 65 ปี และกำหนดให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนหลังหักภาษีปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ 6% ต่อปี
มูลค่าปัจจุบันของรายได้สุทธิในอนาคตหลังหักภาษี ของนายรักออม จึงเท่ากับ
-ดังนั้น-
มูลค่าปัจจุบันของรายได้สุทธิของนายรักออมถึงตอนอายุ 65 ปี จะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจเท่ากับ 12,735,983 บาท เท่ากับ นายรักออม ควรมีทุนประกันชีวิต เท่ากับ 12,735,983 บาท เพื่อที่หากนายรักออมเสียชีวิตไป ครอบครัวจะนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุน ที่อัตราผลตอบแทน 6% (ตามสมมติฐาน) และใช้เงินนี้ดูแลครอบครัวไปเสมือนนายรักออมทำงานเลี้ยงครอบครัวจนถึงอายุ 65 ปี
เงินจำนวน 12,735,983 บาท จึงเป็นมูลค่าปัจจุบันทางเศรษฐกิจของนายรักออม
ซึ่งตัวแปรทั้งหมด ขึ้นอยู่กับข้อมูลและสมมติฐานของแต่ละบุคคล ลองนำสูตรนี้ไปคำนวณมูลค่าทางเศรษฐกิจของตัวท่านกันดูค่ะ
-ข้อจำกัด-
ของแนวคิด Human Life Value Approach คือ
1.เงินชดเชยจากแหล่งอื่นไม่ได้ถูกนำมาพิจารณารวมด้วย เช่น เงินสิทธิประโยชน์การเสียชีวิตจากประกันสังคม
2.สมมติฐานว่ารายได้เพิ่มขึ้นเป็นอัตราคงที่ไม่ค่อยสอดคล้องกับความเป็นจริง
3.ไม่ได้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในครอบครัวที่อาจเปลี่ยนแปลงในอนาคต เนื่องจากการมีบุตร หรือ การเสียชีวิตของสมาชิกในครอบครัว
4.ผลตอบแทนการลงทุนเฉลี่ยที่นำมาใช้ในระยะเวลายาวนานอาจจะไม่เหมาะสม
5.วิธีนี้จะคำนวณทุนประกันได้สูงเกินกว่าความสามารถที่ผู้เอาประกันจะจ่ายเบี้ยไหว
ซึ่งแนวคิดนี้พบว่าเป็นการประเมินตัวเลขทุนประกันที่สูงเกินไปกว่าความสามารถในการชำระเบี้ย ที่คนทั่วไปจะทำได้ คนจึงนิยมแนวคิดที่ 2 และ 3 มากกว่า เพราะกำหนดทุนประกันชีวิตตามความต้องการเฉพาะอย่าง และสามารถชำระเบี้ยได้ตามกำลังจ่าย
☝แต่สำหรับแนวคิดเรื่องมูลค่าทางเศรษฐกิจที่คำนวณออกมาได้ ก็น่าคิดใช่ไหมคะว่า หากเรามีชีวิตอยู่ และ เราสามารถทำงานหารายได้จำนวน 12 ล้านบาทนี้ให้กับครอบครัว อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ลูกของเราจะได้รับการศึกษาที่ดี ครอบครัวจะมีบ้านที่อยู่อาศัยที่สุขสบาย พวกเขาจะมีโอกาสในชีวิตอีกมากมายที่เราสามารถส่งมอบให้ได้
💁♀️สำหรับบางคนที่มีศักยภาพในการชำระเบี้ยได้ ลองจัดสรรวางแผนสร้างทุนประกันที่คุ้มครองมูลค่าทางเศรษฐกิจของท่านดูค่ะ ประกันชีวิตมีโครงการให้เลือกหลากหลายที่เน้นความคุ้มครองสูง ลองปรึกษาตัวแทนมืออาชีพใกล้ตัวท่านดูค่ะ
แล้วพบกับอีก 2 แนวคิด ในบทความต่อไปค่ะ
• ข้อมูลอ้างอิง •
หนังสือหลักสูตรวางแผนการเงิน
ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนประกันภัย
โดย สมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย
☝ติดตามฟังสาระดีดีของการวางแผนการเงินส่วนบุคคลและการพัฒนาตัวเองได้ที่
https://youtube.com/channel/UC5YacoWGUmZCRMWTVL9Wu4Q
9 บันทึก
8
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ประเด็นสำคัญคนทำประกันไม่ควรพลาด!!
9
8
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย