18 พ.ย. 2020 เวลา 23:30 • ปรัชญา
โกนคิ้ว..
เล่มที่ ๗ ชื่อจุลลวัคค์ ( เป็นพระวินัยปิฏก )
👉เรื่อง มีดโกน
    ทรงถามว่า จะสามารถโกนศีรษะกันเองได้หรือไม่ เมื่อภิกษุทั้งหลายรับว่าได้ จึงทรงอนุญาตมีดโกน , หินลับมีด , ฝักมีดโกน, เครื่องสำบัดมีดโกน และเครื่องใช้เกี่ยวกับมีดทุกชนิด เฉพาะภิกษุผู้เคยเป็นช่างตัดผม มีห้ามไว้ในที่อื่น มิให้มีเครื่องมีดโกนไว้ใช้ ด้วยเกรงจะอยากไปประกอบอาชีพนั้นอีก
👉เรื่องแต่งหนวด
    แต่งหนวดด้วยกรรไกร และไว้หนวดไว้เคราเป็นรูปร่างต่าง ๆ รวมทั้งให้นำขนในที่แคบออก ทรงห้ามและปรับอาบัติทุกกฏ ในกรณีที่ป่วยไข้ ทรงอนุญาตให้นำขนในที่แคบออกได้ เช่นเมื่อเป็นเเผลหรือต้องการทายา
ทรงห้ามตัดผมด้วยกรรไกร ทรงอนุญาตให้ใช้มีดโกน แต่ถ้าป่วยไข้ ทรงอนุญาตให้ตัดผมด้วยกรรไกรได้ ห้ามไว้ผมยาวเกิน2นิ้ว
👉เรื่องขนจมูกยาว
    ทรงห้ามไว้ขนจมูกยาว เพราะมีผู้ติเตียน ทรงอนุญาตให้ถอนด้วยแหนบ ทรงห้ามถอนผมหงอกและปรับอาบัติทุกกฏ
👉ส่วนเรื่องการโกนคิ้วไม่มีบัญญัติ
มีมาภายหลังตามข้อสันนิษฐานที่เป็นไปได้มากที่สุดคือมีตั้งแต่สมัยอยุธยาในการแยกระหว่างพระไทยกับพม่า ป้องกันข้าศึกปลอมตัวเป็นพระมาลอบสืบข่าว จึงให้พระสมัยอยุธยาโกนคิ้ว
👉แต่ก็พบในอรรถกา  ที่อธิบายพระวินัยปิฏก มหาวรรค ภาค 1   ชื่อ สมันตปาสิกา  
ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
ห้ามบวชคน  ไม่มีขนคิ้ว    มีบาลีว่า  นิลฺโลมภมุก    วา  (น  ภิกฺขเว    นิลฺโลมภมุก      ปพฺพาเชตพฺโพ)  ปรับเป็นอาบัติทุกกฎ  แก่ผู้ที่ให้บวช
แต่อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ ๆ บ้าง ยกข้อความหรือประโยคยาวๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง แสดงทัศนะและวินิจฉัยของผู้แต่งสอดแทรกเข้าไว้บ้าง
เช่นสมันตัปปาสาทิกา หรือ สมันตปาสาทิกาข้างต้น คือคัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายขยายความพระวินัยปิฎก พระพุทธโฆษจารย์ หรือพระพุทธโฆสะเป็นผู้แต่งคัมภีร์สมันตปาสาทิกานี้ขึ้นในช่วงปีก่อน พ.ศ. 1000
ซึ่งก็ไม่ใช่ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติแต่เป็นการตีความของพระพุทธโฆษาจารย์ อรรถกถาจารย์ชั้นหลัง
การโกนไม่โกนจึงคลุมเคลืออยู่
👉ถ้ามาดูว่าต้องอาบัติทุกกฏ หมายถึงอะไร
อาบัติทุกกฏคือ อาบัติ(การทำความดีให้ตกไปมี7อย่างตามความหนักเบา หนึ่งในนั้นคืออาบัติทุกกฏ) คือเกิดจากการทำที่ไม่ดีไม่เหมาะสม เป็นอาบัติเบาคือสามารถแก้ได้
โดยภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้นต้องประจานตนต่อหน้าภิกษุด้วยกัน แล้วจึงจะพ้นโทษนั้นได้
👉คือฉันทำผิด รู้ตัวว่าผิด มาแล้วสารภาพ ก็พ้นโทษ
กระผมคงไม่ออกความเห็นเรื่องโกนหรือไม่โกน เพียงแต่ค้นมานำเสนอ ถ้าจะอาบัติก็อาบัติเบา หรืออาจจะไม่ต้องอาบัติเพราะเป็นการตีความของพระอรรถกถาจารย์ชั้นหลัง ไม่ใช่จากพระพุทธเจ้าโดยตรง ก็เป็นได้ทั้งสองแบบ หรือถ้าจับเอาเจตนาเป็นแกนจุดประสงค์เพื่อการตัดความกังวลในเรื่องการดูแลรักษา (ตามหลักปริโพธกังวล)คือโกนซะทั้งหมด ไม่ต้องดูแลแต่งให้ยุ่งยาก อันนี้ก็ควรอยู่
👉แต่เหนือสิ่งอื่นใด ความสำคัญของพระคือทำกิจที่ควรทำให้ลุล่วงไป เป้าหมายคือการสิ้นอาสวะกิเลสเป็นแดนชัย คือการขัดเกลากิเลส อันไหนจะเป็นตัวก่อกิเลสก็ละเสีย อันไหนยังทำให้กิเลสกำเนิดก็ตัดเสีย จึงจะมีคุณค่าที่จะถูกเรียกว่าภิกษุหรือผู้ศึกษา ดังที่สมเด็จพระสังฆราชองค์ก่อน(สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
ได้ตรัสเรื่องนี้ไว้ "เรื่องสัลเลขะปฏิบัติ คือปฏิบัติการขัดเกลากิเลส"
ถ้าเอาหลักนี้มาใช้มีหรือไม่มีคิ้ว ก็ไม่ได้ผิดเป้าหมายอะไร ขึ้นกับเจตนาของผู้นั้น ถ้าทำให้เกิดกิเลสก็พึงโกน แต่ถ้าไม่ได้เป็นหน่อเนื้อของกิเลสจะไม่โกนก็ไม่น่าผิดอะไร (_ผู้เขียน)
3
หากต้องการศึกษาต่อลองอ่านที่มาที่แนบไว้หรือจากแหล่งอ้างอิงอื่นๆประกอบขอรับ
โฆษณา