21 พ.ย. 2020 เวลา 12:53 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
The leg bones คู่ค้ำยัน
*วิทยาศาสตร์และศิลปคือเรื่องเกี่ยวเนื่องกันThe leg bones
เนื้อคู่คืออะไร จะให้นิยามอย่างไรก็ตาม
แต่กระดูกคู่ คือเจ้าคู่นี้ค่ะ
The leg bones; tibia and fibula
ภาษาไทยน่าจะทับศัพท์ว่า ทิเบีย และ ฟิบูลา
ครั้งแรกที่เห็นภาพ กระดูก ”คู่”นี้
เห็นมาจากบันทึกหนึ่งของลูกชายค่ะ
นานมาแล้วในเวบหนึ่งซึ่งลูกไปหัดเขียน
โพสต์เอาไว้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
1
พาให้แม่นึกถึงเรื่องวิทยาศาสตร์
ของเจ้าคู่นี้ขึ้นมาค่ะ
The leg bones
คู่ค้ำยัน
คือกระดูกของขาท่อนล่างของพวกเรา
กระดูกส่วนน่องและหน้าแข้งของพวกเรานั่นเอง
กระดูกอันที่ใหญ่กว่า
อ้วนและแบนกว่าชื่อว่า Tibia
Tibia ดูแข็งแรงกว่าอีกกระดูกหนึ่ง
อย่างเห็นได้ชัด
ดูสำคัญกว่ากระดูกแท่งที่อยู่ติดกัน
ซึ่งดูผอมและเล็กบางกว่ากันเยอะ
เจ้าผอมที่เคียงข้างนั้นมีชื่อว่า Fibula
หากในมุมมองของดิฉัน
เขาทั้งคู่ คือ คู่ค้ำยัน กันตัวจริง
การเดินของมนุษย์จะเกิดขึ้นไม่ได้อย่างราบรื่น
ถ้าจะมีแต่เจ้าอ้วนใหญ่แข็งแรง Tibia อย่างเดียวโดยขาดเจ้าผอม Fibulaไป
แม้แน่นอนว่า Tibia พี่ใหญ่ดูคล้ายเป็นเสาหลัก
เพราะตามหลักฟิสิกส์
เวลาคนเราจะก้าวเดินจะต้องมีการ ถ่างออก
บิดตัว หันด้านข้างและยืด ๆ หด ๆ ของกล้ามเนื้อหลายต่อหลายมัด
ค่อย ๆ ดูตามภาพนะคะ
บนสันของกระดูกทั้งคู่ในแนวดิ่ง ไล่ขึ้นไปถึงส่วนที่บานออกคล้ายหัวของกระดูก
จะมีปุ่มปม(tubercle) สัน(condyle) หรือจุด(tuberosity) เอน่าจะเรียกว่า
รอยนูน(eminence)ดีกว่า เพ่งหน่อยนะคะ
ปุ่มปม สัน จุด หรือรอยนูนเหล่านี้ ของเจ้าอ้วนผอมจอมยุ่งนี้
คือจุดรับการเกาะของเอ็นของกล้ามเนื้อหลาย ๆ มัดเชียวค่ะ
การเดินของคนเราอาศัยการ ยืดและการหด ของกล้ามเนื้อหลาย ๆ มัดเหล่านี้
1
ซึ่งกล้ามเนื้อนี้จะลอยอยู่ได้อย่างไรในร่างกายเรา
ใช่แล้ว กล้ามเนื้อจะต้องมีจุดยึดค่ะ
จุดยึดเพื่อให้เส้นเอ็นปลายด้านหนึ่งของกล้ามเนื้อมายึดตามจุดดังกล่าว
ปุ่มปม สัน จุด หรือรอยนูนต่าง ๆ จะอยู่บนกระดูกทั้งคู่
ถ้าไม่มี ปุ่มปม สัน จุด หรือรอยนูนของเจ้ากระดูกอ้วนผอมคู่นี้ ให้เกาะ
การก้าวเดิน หรือเคลื่อนไหวเช่น
การยกเท้าการเปลี่ยนทิศทาง
การเลี้ยว
การเดินสง่าดั่งพญาหงส์ของนางงาม
การเดินซอยเท้า
แม้กระทั่งการวิ่ง
จะเป็นไปไม่ได้เลย
1
เจ้าอ้วน-ผอมคู่นี้ ทำงานและประสานงานกันอย่าง ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน
กระดูกคู่ต้องมีลักษณะทางกายวิภาค มีปุ่มปม สัน จุดหรือรอยนูนครบถ้วนสมบูรณ์
กระดูกทั้งสองอยู่เคียงกัน แต่แค่แตะกันในบางจุด บางส่วนเท่านั้น
เพื่อให้การทำงานของกล้ามเนื้อมัดที่กล่าวถึง..ทำงานอย่างเรียบร้อยถูกต้อง
อ้วนผอม เนื้อคู่กระดูกคู่ในตัวเรา
*เพื่อให้การทำงานของกล้ามเนื้อมัดที่กล่าวถึง..ทำงานอย่างเรียบร้อยถูกต้อง
เจ้ากระดูกทั้งสองจึงเพียงแต่อยู่เคียงคู่กัน เกย ทับซ้อนกันในท่วงท่า
แต่ทั้งสองจะไม่ก้าวก่ายการทำงานซึ่งกันและกัน
เห็นความมหัศจรรย์ของ กระดูกคู่ คู่ค้ำยัน แล้วยังคะ
*ขออนุญาตยังไม่กล่าวถึงระบบการเดิน
ที่ครบครันซึ่งต้องอาศัยกระดูกอีกมากหลาย ๆ ชิ้น ตั้งแต่กระดูกหัวเข่า
หรือลูกสะบ้าตามคำไทยโบราณ กระดูกเท้า ตาตุ่มและท่อนขาใหญ่
อีกหลายกลุ่มกระดูกนะคะ
เหมือนชีวิตคู่ หรือเปล่า
<3<3<3<3
ชีวิตคู่
เราอยู่เคียงคู่กัน
ใกล้ชิดปรึกษากัน
ถ้อยทีถ้อยอาศัย
ค้ำ(จุน)(ผลัก)ยัน
กันในบางช่วง
มีช่องว่างระหว่างกันบ้างในบางครั้ง
 
คุณ ฉัน
เราอาจมีบางบทบางตอน
ละครแห่งชีวิตใกล้ชิดกันดี
หากในช่วงบางตอนของชีวิต ขณะใดขณะหนึ่ง
เราอาจจำต้องขอเวลานอก
คิดทบทวนคำนึงถึงบางสิ่งบางเรื่อง..
ตามลำพัง
 
แต่เรา..
ก็คือคู่ค้ำยัน
ดั่งกระดูกคู่นี้
 
Tibia-Fibula กระดูกคู่อ้วนผอม
คู่แท้ทุกชาติของทุกคน
สวัสดีค่ะ
ส้มเอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา