23 พ.ย. 2020 เวลา 23:30 • สุขภาพ
ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone)
2
ฮอร์โมนเพศชายคืออะไร?
ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone)
ฮอร์โมนเพศชายจะถูกสร้างขึ้นบริเวณอัณฑะของเพศชาย ทำหน้าที่ในการควบคุมระบบทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย
อาจพบในผู้หญิงแต่มีปริมาณน้อย
ปกติแล้วฮอร์โมนเพศชายจะอยู่ในระดับ 270 – 1070 นาโนกรัม/เดซิลิตร หากมีสุขภาพที่แข็งแรง ระดับฮอร์โมนจะอยู่ที่ 400 – 600 นาโนกรัม/เดซิลิตร
ระดับฮอร์โมนจะสูงสุดในช่วงวัยรุ่นถึงผู้ใหญ่ตอนต้น และจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น
หน้าที่ของฮอร์โมนเพศชาย?
- คงความแข็งแรงและรักษามวลกล้ามเนื้อ
- รักษาความหนาแน่นของมวลกระดูก
- มีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดเลือด การสลายไขมัน และการสร้างอสุจิ
- ทำให้เกิดขนตามร่างกายและใบหน้า
- ช่วยให้เกิดความต้องการทางเพศ เพิ่มขนาดของอวัยวะเพศและอัณฑะเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศ
สาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลง มีดังนี้
- การได้รับบาดเจ็บที่อัณฑะ
- การรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงต่อระบบสืบพันธุ์ด้วย เช่น การทำรังสีบำบัด การทำเคมีบำบัด เป็นต้น
- การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นต้น
- ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับไต
- โรคเอดส์
- โรคตับอักเสบ
- การติดสุรา
- ความเครียด
เมื่อระดับฮอร์โมนลดลงจึงส่งผลต่อสุขภาพ ดังนี้
- ร่างกายมีพลังงานน้อยลงรวมทั้งมีความแข็งแรงและความทนทานลดลง
- น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
- มีความกระตือรือร้นน้อยลง อาจรู้สึกเศร้าหรือหดหู่ร่วมด้วย
- มีปัญหาในการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท เป็นต้น
- ปวดตามกระดูกหรือข้อต่อ และอาจเกิดโรคกระดูกพรุน
- ความต้องการทางเพศลดลง
รักษาได้อย่างไร?
- การใช้ยาฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนทดแทนปริมาณของฮอร์โมนที่ลดลง สามารถรักษาได้หลายแบบ ทั้งยาฉีด แผ่นแปะ หรือเจล เป็นต้น
1
#สาระจี๊ดจี๊ด
ในปัจจุบันมีการนำฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนชนิดสังเคราะห์มาใช้เป็นสารกระตุ้นในการแข่งกีฬาหรือเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายได้ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคตับ อวัยวะเพศผิดปกติ มีบุตรยาก มีอารมณ์ฉุนเฉียวและก้าวร้าวมากขึ้น เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ผิวหนังจากการใช้เข็มฉีดยาอีกด้วย และจะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
การดูแลรักษาให้ระดับฮอร์โมนเพศชายปกติ
- พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลง
1
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ภาวะอ้วนเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชายลดลง การลดน้ำหนักจึงอาจช่วยให้มีระดับฮอร์โมนนี้สูงขึ้นได้
- รู้จักผ่อนคลายความเครียด งานวิจัยชิ้นหนึ่งชี้ว่าฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เกิดจากความเครียดอาจไปขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนเพศชายได้ จึงควรพยายามจัดการกับความเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ทำสมาธิ ฝึกการหายใจ ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย เป็นต้น
- รับประทานอาหารที่มีสังกะสีและแมกนีเซียม เนื่องจากเป็นสารอาหารที่ช่วยรักษาระดับฮอร์โมนเพศชายได้ โดยอาหารที่อุดมไปด้วยสังกะสี ได้แก่ เนื้อสัตว์ หอยนางรม พืชตระกูลถั่ว และธัญพืชต่าง ๆ ส่วนแมกนีเซียมนั้นพบได้มากในผักปวยเล้ง อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และถั่วลิสง
- เพิ่มไขมันดีในอาหาร ฮอร์โมนเพศชายนั้นสร้างขึ้นจากคอเลสเตอรอลในร่างกาย ผู้ชายจึงควรรับประทานอาหารที่มีไขมันดีมากขึ้น เช่น ปลาทะเลน้ำลึก อะโวคาโด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นไขมันชนิดที่ดี แต่ผู้บริโภคก็ควรรับประทานในปริมาณพอดีเช่นกัน
- รับประทานปลามากขึ้น โดยเฉพาะปลาทะเลอย่างแซลมอน ทูน่า และแมคเคอเรล เพราะไม่เพียงมีไขมันดีในปริมาณที่เหมาะสมแล้วแต่ยังอุดมไปด้วยวิตามินดี ซึ่งจะช่วยส่งเสริมกระบวนการผลิตฮอร์โมนให้ทำงานได้ดีขึ้น
- ลดการบริโภคน้ำตาล เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลงได้ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ จึงควรลดการบริโภคน้ำตาลเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงด้านนี้
- หลีกเลี่ยงสารเคมีบีพีเอ (BPA) งานวิจัยบางชิ้นชี้ว่า การทำงานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมีบีพีเอติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งสารนี้พบได้ในบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารแบบพลาสติก อาจมีผลให้ระดับฮอร์โมนเพศชายลดลงมากกว่าคนทั่วไปได้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชายได้ โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง ทั้งยังช่วยให้สุขภาพแข็งแรงและลดความเครียดได้อีกด้วย
- ดื่มแอลกอฮอล์แต่พอดี การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปส่งผลให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายเพิ่มขึ้นและทำให้อัณฑะหดตัวลง ซึ่งกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนเพศชาย ผู้ชายจึงควรดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณพอเหมาะเท่านั้น คือ ไม่เกินวันละ 2 ดื่มมาตรฐาน
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา