24 พ.ย. 2020 เวลา 12:59 • ปรัชญา
พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุผู้ประมาทรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนี้กับเพื่อนภิกษุเรียนกรรมฐานแล้วเข้าไปยังวิหารที่ตั้งอยู่กลางป่า รูปหนึ่งเที่ยวเก็บฟืนในเวลากลางวัน ตกกลางคืนสุมไฟนั่งพูดคุยกับภิกษุ และสามเณรแล้วเข้านอน ส่วนภิกษุรูปหนึ่งปรารภความเพียรตอนหัวค่ำ นอนในตอนดึกแล้วตื่นปรารภความเพียรตอนใกล้รุ่งอีก เป็นเช่นนี้ตลอด 3 เดือน ภิกษุนี้ก็ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว
เมื่อออกพรรษาพากันเข้าเฝ้า ตรัสถามถึงความเป็นไป ภิกษุผู้ประมาทรายงานว่าตนไม่ประมาท เก็บฟืนในกลางวันผิงไฟในกลางคืนไม่ปล่อยให้เวลาล่วงไป
ตรัสว่าเธอประมาทแล้วยังพูดว่าไม่ประมาท
"บุตรของเรานั้นไม่ประมาทเหมือนม้ามีกำลังดี" แล้วรับสั่งภาษิตนี้
บทว่า อปฺปมตฺโต อธิบายว่า ชื่อว่าผู้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท นั่นก็เพราะมีสติไพบูลย์ ซึ่งได้แก่ พระขีณาสพ (พระอรหันต์) บทว่า ปมตฺเตสุ คือ ปราศจากสติ (ประมาท) บทว่า สุตฺเตสุ คือ หลับอยู่ทุกอริยาบท เพราะไม่มีธรรม บทว่า พหุชาคโร คือ ผู้ดำรงอยู่ในธรรมเป็นเครื่องตื่น คือ สติไพบูลย์ บทว่า อพลสฺสํว คือ ผู้มีปัญญายอดเยี่ยมยอมละทิ้งบุคคลผู้ด้อยปัญญาไปด้วยการแตกฉานในปริยัติกว่าบ้าง ด้วยการบรรลุมรรคผลบ้าง ซึ่งคนทรามปัญญามิอาจก้าวตามทันได้ ทั้งส่วนที่เป็นความรู้ และส่วนที่เป็นคุณธรรม
• • • • •
ธ.อ. ๑/๒/๑/๓๕๒ - ๕
.. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
ที่มา : หนังสือ "๑๙๐ พุทธภาษิต" | ฉบับเล่าเรื่องขยายความ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา