24 ม.ค. 2021 เวลา 12:59 • ปรัชญา
พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเจ้าพิมพิสาร และกุมภโฆสก โดยทรงปรารภถึงการปกปิดความร่ำรวยของกุมภโฆสก เพราะเกรงว่าผู้คนจะเข้าใจผิดเนื่องจากต้องพลัดพรากจากบ้านไปนาน กลับมาจึงไม่กล้าขุดสมบัติขึ้นมาใช้สอย สมัครใจเป็นยามบอกเวลาปลุกผู้คนให้ทำกิจการงานแลกกับค่าจ้างน้อยนิด
วันหนึ่งพระราชาพิมพิสารสดับเสียงของเขา ทรงรู้ว่าเป็นเสียงของผู้มีทรัพย์มาก นางสนมของพระองค์จึงอาสาทำอุบาย เพื่อให้รู้ชัดในฐานะของกุมภโฆสกด้วยการหลอกให้หาเงินเพื่อจัดมหรสพตามที่พระราชาสั่ง กุมภโฆสกจำต้องแอบไปเอากหาปณะที่ฝังไว้มาใช้ จึงถูกจับได้ และสารภาพแก่พระราชา ทรงพระราชทานตำแหน่งเศรษฐีให้ ทรงชื่นชมถึงการไม่เย่อหยิ่ง ไม่ทนงตน แม้จะมีทรัพย์มากถึง ๔๐ โกฏิก็ตาม และตรัสภาษิตนี้
บทว่า อุฏฺฐานวโต คือ ผู้มีความเพียรเป็นเหตุให้ลุกขึ้นกระทำกิจการงานทั้งหลาย
บทว่า นิสมฺมการิโน คือ มีปกติใคร่ครวญพิจารณาทำกิจการงานด้วยปัญญา เป็นผู้สำรวมไม่ประพฤติทุจริต มีสติสม่ำเสมอ คนเช่นนี้แหละจักถึงความเป็นใหญ่ด้วยยศ ทรัพย์ ชื่อเสียง และความนับถือ
• • • • •
ธ.อ. ๑/๒/๑/๓/๓๑๐ - ๓๒๒
.. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
ที่มา : หนังสือ "๑๙๐ พุทธภาษิต" | ฉบับเล่าเรื่องขยายความ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา