McDonald’s สหรัฐฯ หน้าแตก
หลังหนุ่มวัย 24 สร้างเว็บระบุร้านเครื่องทำไอศกรีมเสียสำเร็จ
บางครั้ง แค่วิศวกรอัจฉริยะคนหนึ่งที่คอยเฝ้าสังเกตการณ์อารมณ์ของลูกค้าก็สามารถเปลี่ยนอารมณ์ของลูกค้าได้ และเป็นการสอนบทเรียนให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้วย
ลองคิดดูว่านี่คือปัญหาในการดำเนินธุรกิจ
หากเรามีสินค้าที่ลูกค้าชื่นชอบมาก แต่สิ่งที่น่ากวนใจอย่างเดียวคือ เมื่อลูกค้ามาที่ร้านของคุณเพื่อที่จะซื้อสินค้านั้น กลายเป็นว่าสินค้านั้นกลับเป็นสินค้าหายาก ซื่งหมายความว่า คุณก็จะไม่สามารถทำเงินได้มากตามที่คุณควรจะได้
ทีนี้ลองมามองในแง่ที่ว่านี่คือปัญหาด้านการบริการลูกค้า เนื่องจากว่านี่คือปัญหาในการทำธุรกิจของคุณ ลูกค้าของคุณ มีความหงุดหงิดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆกับร้านของคุณ และนี่ก็นำไปสู่ประเด็นที่ว่า คุณไม่สามารถทำเงินได้มากตามที่คุณควรจะได้ เช่นกัน
และสิ่งนี้ก็เกิดขึ้นกับ McDonald’s ซึ่งเป็นร้านขายเบอร์เกอร์ที่มีสาขามากมายและเรารู้จักกันดี โดย McDonald’s มีสินค้าที่เป็นที่ชื่นชอบของชาวอเมริกันอย่างมาก คือ ไอศกรีม แบบซอฟท์เซิร์ฟ (Soft-Serve Ice Cream) แต่กลายเป็นว่า เมื่อไปที่ร้าน McDonald’s เพื่อที่จะซื้อไอศกรีม หลายครั้งที่ไปก็มักจะได้รับคำตอบที่ว่า “ขออภัย เครื่องทำไอศกรีมเสีย”
เดี๋ยวเราจะกลับมาพูดถึงประเด็นเครื่องทำไอศกรีมเสียกันอีกครั้งนะคะ
อย่างไรก็ตาม ต้องขอยกย่อง Rashiq Zahid วิศวกรซอฟท์แวร์ วัย 24 ผู้ซึ่งประดิษฐ์ซอฟท์แวร์ที่จะสามารถบอกลูกค้า McDonald’s ได้ว่าเครื่องทำไอศกรีมร้านใดในพื้นที่ที่พวกเขาอยู่นั้น ใช้ได้ ที่สำคัญ เขาสร้างเจ้าซอฟท์แวร์นี้เพื่อความสนุกเท่านั้น
ซอฟท์แวร์นี้อยู่ในเว็บไซต์ McBroken.com และมันทำงานได้ดีเยี่ยม
แนวคิดของ Zahid คือต้องการที่จะสร้างโปรแกรมหุ่นยนต์อัตโนมัติ หรือ BOT ที่พยายามสั่งไอสกรีมผ่านแอปพลิเคชั่นของ McDonald’s เพื่อดูว่าแอปพลิเคชั่นจะรับคำสั่งหรือไม่ หากรับคำสั่ง แสดงว่าเครื่องทำไอศกรีมทำงาน หากแอปพลิเคชั่นแจ้งกลับมาว่า “ไอศกรีมไม่มี” ก็ทราบได้เลยว่าเกิดอะไรขึ้น และคุณก็จะได้ไม่ต้องเดินทาง เสียเวลา ไปที่ร้าน จะได้ไม่หงุดหงิดด้วย
เว็บไซต์นี้ แสดงแผนที่ตั้งของร้าน McDonald’s ทุกแห่งในสหรัฐฯ โดยจะเห็นเป็นจุดๆ ทั้งนี้ บริเวณที่เครื่องทำไอศกรีมใช้ได้ จะเป็นสีเขียว หากเครื่องไม่ทำงานจะเป็นสีแดง คอลัมน์ทางขวามือแสดงสถิติว่าเครื่องทำไอศกรีมในสหรัฐฯที่เสียทั้งหมด คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ และในแต่ละเมืองมีเครื่องที่เสียคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ อย่างเช่นในนิวยอร์ค มีเครื่องเสียกี่เปอร์เซ็นต์ ในฮูสตัน มีเครื่องเสียกี่เปอร์เซ็นต์
Zahid อธิบายว่าเจ้าซอฟท์แวร์นี้จะสั่ง ไอสกรีม McSundae ทุกๆ 30 นาที และเว็บ McBroken จะทำสัญลักษณ์สถานที่เป็นจุดสีเขียวหากคำสั่งสำเร็จ และสีแดงหากคำสั่งไม่สำเร็จ
และผลงานนี้ ประสบความสำเร็จทันที
Zahid กล่าวว่า เขาทำเพื่อความสนุกแค่นั้น แต่ผู้คนกลับชอบซอฟท์แวร์ของเขามาก ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่คือสิ่งที่ดีที่สุดในรอบสัปดาห์ ในรอบเดือน และเว็บไซต์นี้ไม่ได้แค่ระบุร้าน McDonald’s ที่ใกล้บ้านเท่านั้น ยังให้สถิติการดำเนินงานของไอศกรีม McDonald’s ทั้งหมดด้วย
มาดูทาง McDonald's กันบ้าง ว่าคิดเช่นไรกับสิ่งประดิษฐ์นี้ David Tovar ซึ่งเป็นรองประธานกรรมการด้านการสื่อสารได้ทวีตผ่านทวิตเตอร์ว่า “ก็มีแต่แฟนพันธุ์แท้ของ McDonald’s นี่แหละที่ใช้ความพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะช่วยเหล่าลูกค้าให้ได้รับประทานไอศกรีมที่แสนอร่อยของเรา เราทราบว่าเรามีโอกาสที่จะทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจอย่างต่อเนื่องด้วยของหวานแสนอร่อยของเรา และเราก็จะยังคงเดินหน้าทำต่อไป”
อ่านแล้วก็....จะเห็นได้ถึงคำพูดที่ประนีประนอม ปลอบประโลม เพื่อจะกลบเกลื่อนประเด็นธุรกิจที่ร้ายแรง ซึ่งมักจะใช้คำพูดแบบนี้ในธุรกิจเทคโนโลยี และ Tovar เองก็เคยคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะเขาเคยทำงานที่ Sprint ซึ่งเป็นหนึ่งในค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ นั่นเอง
ลึกๆแล้ว McDonald's มีความอับอายอย่างมากจากความไม่เสถียรของเครื่องทำไอศกรีม จึงได้มีการจัดตั้งทีมพิเศษเพื่อดูและจัดการเรื่องนี้ แต่ก็ยังไม่มีทีท่าสำเร็จ เกิดอะไรขึ้นจึงใช้เวลาจัดการนานขนาดนี้
มาดูกันค่ะว่าทำไมเครื่องทำไอศกรีมจึงเสียบ่อย พนักงาน McDonald's หลายคน พบว่าจริงๆแล้วเครื่องทำไอศกรีมไม่ใช่ไม่ดี แต่การทำความสะอาดเครื่องนั้นยากลำบากมาก การทำความสะอาดเครื่องต้องใช้เวลากลางคืนในการทำความสะอาดราวๆ 4ชั่วโมง ซึ่งหากมีการทำความสะอาด ก็จะไม่สามารถทำไอศกรีมได้ ทำให้พนักงานบางคนทำความสะอาดแบบลวกๆ หรือไม่ทำเลย จึงส่งผลทำให้ไม่สามารถทำไอศกรีมได้ในที่สุด
น่าแปลกใจที่ McDonald's ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่ตอนนี้กำลังลงทุนมหาศาลในเรื่องเทคโนโลยี ทำไมจึงไม่สามารถคิดหาวิธีแก้ไขนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อรักษาใจของลูกค้า แต่บางครั้งบริษัทที่ใหญ่ๆเหล่านี้ ก็มักจะไม่ค่อยเข้าใจเรื่องง่ายๆ อย่างแนวทางการทำให้ลูกค้าประทับใจ
ที่มาและภาพ: