24 พ.ย. 2020 เวลา 12:36 • ประวัติศาสตร์
“การสังหารหมู่นานกิง (Nanjing Massacre)”
“การสังหารหมู่นานกิง (Nanjing Massacre)” เป็นเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดเหตุการณ์หนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
เหตุการณ์นี้เป็นบาดแผลในใจชาวจีน และเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ชาวญี่ปุ่นในยุคต่อมายังนึกสลดใจกับการกระทำของชาติตน
กองทัพญี่ปุ่นได้รุกรานจีนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1937 (พ.ศ.2480) โดยรุกรานตั้งแต่แมนจูเรีย ขึ้นไปทางเหนือ ลงมาทางใต้ และยึดเมืองปักกิ่งได้อย่างรวดเร็ว
พรรคก๊กมินตั๋งซึ่งเห็นท่าไม่ดี ก็ได้รีบย้ายเมืองหลวงไปยังเมืองนานกิง ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 1,000 กิโลเมตร
กองทัพญี่ปุ่นในแมนจูเรีย
“เจียงไคเชก (Chiang Kai-shek)” หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง ได้เสียเซี่ยงไฮ้ให้ญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1937 (พ.ศ.2480) และก็ตระหนักดีว่าเมืองหลวงแห่งใหม่ ซึ่งคือนานกิง คงไม่สามารถต้านทัพญี่ปุ่นได้นาน
เจียงไคเชกจึงตัดสินใจถอยทัพออกไปทางตะวันตก 500 กิโลเมตร ไปที่อู่ฮั่น ซึ่งภูมิประเทศมีภูเขาสูง น่าจะสามารถป้องกันศัตรูได้ดีกว่า
ได้มีการทิ้งทหารไว้ป้องกันเมืองจำนวน 100,000 นาย ซึ่งทหารเหล่านี้ล้วนแต่เป็นทหารที่อ่อนแอ ไม่ได้รับการฝึก อาวุธก็ขาดแคลน
เจียงไคเชก (Chiang Kai-shek)
กองทัพญี่ปุ่นในเวลานั้น อยู่ภายใต้การนำของ “เจ้าชายยาซูฮิโกะ อาซากะ (Prince Yasuhiko Asaka)” ซึ่งมาทำหน้าที่แทน “นายพลอิวาเนะ มัตสุอิ (Iwane Matsui)” ซึ่งกำลังป่วย
ในต้นเดือนธันวาคม ทหารได้ถวายรายงานเจ้าชายว่ากองทัพญี่ปุ่น ได้ทำการปิดล้อมทหารจีนรอบๆ และภายในตัวเมืองนานกิงจำนวน 300,000 นาย และฝั่งจีนต้องการจะเจรจายอมแพ้
หากแต่รับสั่งของเจ้าชายคือ “ฆ่าให้หมด”
2
นักประวัติศาสตร์ในยุคต่อมาถือว่านี่คือคำสั่งการสังหารหมู่ที่นานกิง
เจ้าชายยาซูฮิโกะ อาซากะ (Prince Yasuhiko Asaka)
วันที่ 10 ธันวาคม ญี่ปุ่นได้ทำการโจมตีนานกิงอย่างหนัก และภายในวันที่ 12 ธันวาคม ทหารในนานกิงก็ได้รับคำสั่งให้ถอยทัพ ทำให้ทหารชาวจีนต่างหนีตายกันอย่างอลหม่าน
ทหารชาวจีนที่หนีตายนั้น ถูกทหารญี่ปุ่นไล่ล่าอย่างสนุกสนาน หลายรายถูกจับ หลายรายก็ถูกฆ่า
มีการประเมินในภายหลังว่าทหารชาวจีนที่ยอมจำนน ถูกญี่ปุ่นฆ่าไปถึง 60,000 นาย
2
ไม่เพียงแต่ทหารที่ต้องสังเวยชีวิตให้กองทัพญี่ปุ่น หากแต่เมื่อญี่ปุ่นบุกยึดเมืองนานกิงได้ ชาวเมืองก็ต้องพบเจอกับฝันร้าย
ชาวบ้านหลายรายถูกระเบิด หลายรายถูกยิง บางรายถูกราดน้ำมันและจุดไฟเผาทั้งเป็น ส่วนผู้หญิงต่างก็ถูกทหารญี่ปุ่นข่มขืน
2
ภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1938 (พ.ศ.2481) การรุกรานนานกิงของญี่ปุ่น ทำให้ชาวจีนต้องสังเวยชีวิตไป 200,000-300,000 คน และเหตุการณ์นี้ก็นับเป็นเหตุการณ์ที่โหดร้ายที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในศตวรรษที่ 20
1
“นายพลอิวาเนะ มัตสุอิ (Iwane Matsui)” ซึ่งเพิ่งจะหายป่วยในช่วงเวลาที่เมืองนานกิงแตก ได้ออกคำสั่งให้ทหารปฏิบัติต่อชาวเมืองให้ดี หากแต่ก็ไม่สามารถควบคุมทหารจำนวนมากได้
วันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ.1938 (พ.ศ.2481) นายพลมัตสุอิได้ประนามการกระทำของทัพตนเองด้วยใบหน้าที่นองน้ำตา
ค.ศ.1948 (พ.ศ.2491) นายพลมัตสุอิถูกตัดสินว่ามีความผิดในฐานะอาชญากรสงครามและถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในวัย 70 ปี
ทางด้านเจ้าชายยาซูฮิโกะได้รอดจากการลงโทษ เนื่องจากทางการอเมริกันได้ยกเว้นโทษให้สมาชิกราชวงศ์
4
นายพลอิวาเนะ มัตสุอิ (Iwane Matsui)
นับเป็นเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดและจะถูกจารึกในประวัติศาสตร์ตลอดกาล
โฆษณา