Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Timeless History (ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา)
•
ติดตาม
26 พ.ย. 2020 เวลา 05:47 • ประวัติศาสตร์
“พม่า (Burma)”
“พม่า (Burma)” เป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่มีประวัติศาสตร์ มีความเป็นมาที่ยาวนานและน่าศึกษา
จากหลักฐานทางโบราณคดี พบว่ามีร่องรอยของมนุษย์อยู่ในประเทศพม่ามาเป็นเวลานานกว่า 75,000 ปีแล้ว โดยมีการพบรอยเท้าของมนุษย์ยุคโบราณ สามารถย้อนอายุไปได้ถึง 11,000 ปีก่อนคริสตกาล
ในเวลาต่อมา เมื่อเข้าสู่ยุคสัมฤทธิ์ มนุษย์ในดินแดนนี้จึงเริ่มทำเครื่องมือเครื่องใช้จากสัมฤทธิ์ และเริ่มมีการปลูกข้าว ก่อนที่จะเริ่มมีการทำเครื่องมือจากเหล็กในเวลาต่อมา
ชาวปยูได้ก่อตั้งนครรัฐแห่งแรกในราว 200 ปีก่อนคริสตกาล และต่อมา ก็ได้มีการค้าขายกับอินเดีย ทำให้พม่าได้รับวัฒนธรรมและแนวคิดต่างๆ ตามมาด้วย
ในช่วงกลางถึงปลายศตวรรษที่ 10 ชาวพม่าได้ตั้งอาณาจักรพุกาม และได้เริ่มรวบรวมนครรัฐต่างๆ รวมทั้งชนเร่ร่อนเข้าไว้รวมกัน
ในช่วงเวลานี้ ภาษาพม่าเริ่มจะแพร่หลายไปทั่วดินแดน
ถึงแม้ว่าประมุขและเหล่าผู้นำของอาณาจักรพุกามจะทำให้พม่าเจริญรุ่งเรืองในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการค้าหรือความเจริญด้านต่างๆ ของบ้านเมือง หากแต่ก็ต้องพบเจอกับการรุกรานของกองทัพมองโกล และต้องพ่ายแพ้ ตกอยู่ใต้อำนาจของมองโกลระหว่างค.ศ.1277-1301 (พ.ศ.1820-1844)
เป็นเวลากว่า 200 ปีที่พม่าต้องประสบกับความยุ่งยากวุ่นวายทางการเมือง ประเทศได้แตกออกเป็นสองอาณาจักร นั่นคืออาณาจักรหงสาวดีทางชายฝั่งทะเลและอาณาจักรอังวะทางเหนือ
แต่ถึงจะมีความขัดแย้ง หากแต่วัฒนธรรมและศิลปวิทยาการของพม่าก็เจริญรุ่งเรือง เหล่าบัณฑิตและศิลปินของแต่ละอาณาจักรได้สร้างความรุ่งเรือง ซึ่งยังคงสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้
ในช่วงศตวรรษที่ 17 พม่าได้กลับเป็นปึกแผ่นภายใต้การปกครองของราชวงศ์ตองอู หากแต่ก็เป็นเวลาไม่นาน
สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง (First Anglo-Burmese War) ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างค.ศ.1824-1826 (พ.ศ.2367-2369) สร้างความพ่ายแพ้ให้พม่า และทำให้พม่าต้องสูญเสียอำนาจในดินแดนหลายแห่งให้แก่อังกฤษ
30 ปีต่อมา สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สอง (Second Anglo-Burmese War) ทำให้อังกฤษได้รับประโยชน์จากพม่า จนในที่สุด ค.ศ.1885 (พ.ศ.2428) อังกฤษได้เข้ายึดครองพม่าทั้งประเทศ
1
พม่าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอังกฤษจนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนที่จะมีการทำความตกลงปางหลวง จัดตั้งสหภาพพม่าภายหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ แต่ความตกลงนี้ก็ไม่บรรลุผล
พม่าได้กลายเป็นประเทศอิสระในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ.1948 (พ.ศ.2491) โดยมี “อู้นุ (U Nu)” เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก และมี “เจ้าส่วยแต้ก (Sao Shwe Thaik)” เป็นประธานาธิบดีคนแรก
ได้มีการเลือกตั้งในเวลาต่อมาอีกหลายครั้ง ซึ่งก็ดูเหมือนจะผ่านไปอย่างราบรื่น ก่อนที่ความยุ่งยากจะตามมาอีกครั้ง
อู้นุ (U Nu)
เจ้าส่วยแต้ก (Sao Shwe Thaik)
วันที่ 2 มีนาคม ค.ศ.1962 (พ.ศ.2505) นายพลเนวินได้ใช้กำลังทหารก่อการรัฐประหาร และนับจากวันนั้น พม่าก็ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การนำของรัฐบาลทหาร
ในช่วงยุค 90 (พ.ศ.2533) ได้เริ่มมีการจัดการเลือกตั้งอีกครั้ง เริ่มมีการคิดถึงประชาธิปไตย และดูเหมือนระบอบทหารจะค่อยๆ จางลง
ในปีค.ศ.2015 (พ.ศ.2558) ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้ง และทำให้ “ทีนจอ (Htin Kyaw)” ขึ้นเป็นประธานาธิบดีที่มาจากพลเรือนคนแรกของพม่านับตั้งแต่ปีค.ศ.1962 (พ.ศ.2505) และในปีค.ศ.2016 (พ.ศ.2559) “อองซานซูจี (Aung San Suu Kyi)” ก็ได้เป็นที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา
ทีนจอ (Htin Kyaw)
อองซานซูจี (Aung San Suu Kyi)
References:
https://www.thoughtco.com/where-is-burma-195301
https://www.anywhere.com/myanmar/travel-guide/history
https://www.britannica.com/place/Myanmar
https://newint.org/features/2008/04/18/history
21 บันทึก
42
1
16
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
บทความประวัติศาสตร์, ข่าวสารทั่วๆ ไป , นอกเรื่อง, ๆลๆ , วันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ.2020-18 ธันวาคม ค.ศ.2020
21
42
1
16
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย