29 พ.ย. 2020 เวลา 12:59 • ปรัชญา
เราคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า
"ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด"
นั่นก็เพราะว่าความรู้ไม่ใช่ปัญญา ปัญญาคือความสามารถในการเรียนรู้ ซึ่งถ้ามีปัญญาจะสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้ไม่สิ้นสุด
ปัญญาแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ สุตมยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการได้ฟัง และการเรียน จินตามยปัญญา คือ ปัญญาที่สำเร็จโดยการคิดตรึกตรองจินตนาการ และภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาในระดับที่ทำให้พ้นจากทุกข์
ไอน์สไตน์ได้ให้ความสำคัญกับจินตนาการ และจินตามยปัญญามาก แต่ภาวนามยปัญญา ซึ่งเป็นปัญญาในทางพุทธศาสนา คือ ปัญญาระดับสูงสุดที่ต้องค้นหาตลอดชีวิต ซึ่งไอน์สไตน์เองก็พยายามอยู่ จึงหันมาศึกษาพุทธศาสนาตอนบั้นปลายของชีวิต
จากประสบการณ์ชีวิตของคนที่ได้รับการยกย่องว่าฉลาด อัจฉริยะที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เขายังยืนยันว่าความรู้ไม่ใช่ปัญญา แน่นอนว่าไอน์สไตน์มีจินตามยปัญญาสูงมาก แต่ก็ยังเข้าไม่ถึงปัญญาในระดับที่สามารถหลุดพ้นจากทุกข์
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ศิษย์เอกพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เคยวิเคราะห์ภูมิจิต และภูมิธรรมของไอน์สไตน์ ท่านบอกว่าถ้าไอน์สไตน์มีโอกาสได้มาเจริญสติวิปัสสนากรรมฐาน เขาจะบรรลุภาวนาปัญญาญาณไม่ยากเลยหรืออาจถึงขั้นนิพพานด้วยซ้ำ ไอน์สไตน์เปรียบเสมือนบัวพ้นน้ำที่รอแสงแห่งธรรมสาดส่องเท่านั้นเอง
• • • • •
ทันตแพทย์สม สุจีรา
.. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
ที่มา : หนังสือ "มรดกไอน์สไตน์"

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา