28 พ.ย. 2020 เวลา 08:06 • ธุรกิจ
Instagram (Real) Story
ในปี 2009 Kevin Systrom ในอายุ 27 ปี ทำงานประจำอยู่ที่ startup แห่งหนึ่ง ซึ่งในวันทำงานตัวเขาก็ทำงานประจำตามปกติ แต่พอตกกลางคืนและในวันหยุด Systrom ก็จะหัดเขียน code ด้วยตัวเอง ซึ่งก็ได้สร้าง web app ขึ้นมาตัวหนึ่งชื่อว่า Burbn ซึ่งเป็น app ที่ให้ user check-in และแชร์รูปได้ แม้ตอนนั้นพวก check-in app กำลังดังและมีหลายเจ้ามากๆ แต่ตัว Burbn ก็มี feature ที่โดดเด่นกว่าเจ้าอื่นนั่นคือ photo sharing
1
จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นช่วงมีนาคมปี 2010 เมื่อ Systrom ได้ไปพบกับนักลงทุนในงานปาร์ตี้แห่งหนึ่งใน Silicon Valley หลังจากที่ Systrom เปิดตัว prototype ของ app Burbn ให้ดู นักลงทุนทั้งสองคนก็สนใจและขอนัดเจอกินกาแฟกันอีกครั้งเพื่อคุยรายละเอียดเพิ่มเติม หลังจากนั้นเพียง 2 อาทิตย์ Systrom ก็ได้รับการลงทุนก่อนแรก 5 แสนเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 15 ล้านบาท
พอได้เงินลงทุนก้อนแรกนี้ Systrom ก็ต้องเพิ่มทีมแล้ว คนแรกที่เขาชวนมาคือ Mike Krieger ขณะนั้นอายุ 25 ปี ผู้ซึ่ง Systrom รู้จักสมัยตอนเรียนที่ Stanford พอ Systrom เล่า concept ของ Burbn ให้ฟัง ทาง Krieger จึงสนใจและลาออกจากงานประจำที่ตอนนั้นเป็นทั้ง UX designer และ Engineer ใน Startup เกี่ยวกับ social media แห่งหนึ่งชื่อว่า Meebo
1
หลังจากที่ทั้ง Systrom และ Krieger ทำงานเต็มตัวเพื่อพัฒนา Burbn ทั้งสองจึงค่อยๆ หา feature ที่จะเป็นจุดเด่นของ app แล้วก็มาเจอ data ว่า เจ้า feature แชร์รูปของ Burbn นั้นได้รับความนิยมมากๆ และมีผู้ใช้งานใช้งานพอสมควร ทั้งสองเลยไปดูว่าในตลาดตอนนั้นมี app เกี่ยวกับ photo sharing อะไรอยู่บ้างแล้วไปพบกับ app ที่ชื่อว่า Hipstamatic ซึ่งเป็น app ที่ให้ user สามารถใส่ preset filter ในรูปได้ ทำให้ภาพถ่ายน่าสนใจมากขึ้น แต่สิ่งที่ Hipstamatic ไม่มีก็คือความเป็น social platform นั่นเอง ซึ่งต่างจาก Facebook ที่มีเรื่องของการกด like และ comment จึงทำให้ทั้งสองตัดสินใจ pivot Burbn ให้กลายเป็น photo sharing app สำหรับการถ่าย แต่งรูปด้วย filter ผ่านบนมือถือได้เลย (ต้องบอกว่าตอนนั้น trend การถ่ายรูปและแต่งรูปด้วยมือถือนั้นยังเป็นเรื่องใหม่มากๆ ) บวกกับการสร้างให้มี feature กด like และ comment เหมือนของ Facebook เพื่อสร้างความเป็น social ขึ้นมา และทั้งสองตัดสินใจเปลี่ยนชื่อจาก Burbn เป็น Instagram ที่มาจากการรวมคำว่า Instant และ Telegram เข้าด้วยกัน
4
หลังจากปรับจูนกันมาสองเดือน Instagram ก็เปิดตัวช่วงทดลอง beta เพื่อส่งให้เพื่อนๆของทั้งสองลองเล่นและขอ feedback มาก่อนเพื่อจะนำไปปรับปรุงก่อนที่จะเปิดตัวจริง
3
และในวันที่ 6 ตุลาคม 2010 Instagram เปิดตัว version iOS ใน AppStore ทำสถิติมียอด download ถึง 25,000 ครั้งภายในวันเดียว หลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์มียอด download ทั้งสิน 100,000 ครั้ง และพอถึงประมาณกลางเดือนธันวาคมปีเดียวกัน Instagram มียอด user มากถึง 1 ล้านบัญชี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในเดือนมิถุนายนปี 2010 Apple เปิดตัว iPhone 4 ที่มีมาพร้อมกล้องคุณภาพที่ดีขึ้นกว่า version ก่อน ทำให้ Instagram ถือว่ามาถูกเวลาพอดีทำให้ทีคนอยากใช้ app แต่งและแชร์รูปบน iPhone มากขึ้นนั่นเอง
หลังจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของฐานผู้ใช้งาน Instagram ทำให้มีบริษัทนักลงทุนอีกหลายรายสนใจจะลงทุน ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2011 Instagram สามารถ raise fund ได้ 7 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 220 กว่าล้านบาท ซึ่ง ณ จุดนี้มีการประมาณการมูลค่าของ Instagram อยู่ที่ 25 ล้านเหรียญเลย หรือประมาณเกือบ 800 ล้านบาทเลยทีเดียว และทำให้บริษัท tech อย่าง Twitter และ Facebook ก็เริ่มเห็น Instagram เป็นคู่แข่งขึ้นมาแล้ว
2
อีกเรื่องที่น่าสนใจในช่วงนั้นคือ แม้จะได้เงินลงทุนมากขนาดนี้แต่ Systrom และ Krieger กลับเลือกที่จะไม่ขยายทีมงานโดยทันทีและพยายามให้ทีมยังเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งตอนนั้นมีไม่เกิน 12 คนเท่านั้นเอง
1
และแล้วช่วงต้นปี 2012 Twitter ก็เริ่มปฎิบัติการเข้าจีบ Instagram โดยจะเข้าซื้อหุ้นประมาณ 7-10% มีมูลค่าประมาณ 500 ถึง 700 ล้านเหรียญ ซึ่ง CEO ของ Twitter ในขณะนั้น Dick Costolo วางแผนที่จะให้ Systrom ทำ Instgram เป็นหลักต่อไปแต่ก็จะให้มาช่วยงาน Twitter เพื่อพัฒนา Twitter ให้มีความหวือหวามากขึ้น แต่สุดท้ายแล้วทาง Systrom ปฏิเสธด้วยเหตุผลที่ว่า เขาอยากจะนำพา instagram ให้ยิ่งใหญ่และกลายเป็น platform ที่มีความสำคัญมากจนไม่มีใครเข้าซื้อได้ จะว่าไปก็คงอยากให้กลายเป็นเหมือน Facebook, Twitter, Google นั่นเอง
1
แต่มีคนหนึ่งที่จะไม่ยอมให้สิ่งนี้เกิดขึ้น ใช่ครับ นั่นคือ mark zuckerburg ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Facebook
1
ช่วงเมษายน 2012 ในขณะที่ทาง Instagram จะปิดดีลกับ Sequoia Capital บริษัทลงทุนชื่อดังที่จะลงทุนเพิ่มจำนวน 50 ล้านเหรียญ ทำให้มูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นไปเป็น 500 ล้านเหรียญ Mark Zuckerberg ยกหูโทรหา Systrome เพื่อบอกว่าสนใจจะซื้อ Instagram และจะให้มากกว่าสองเท่าจากดีลของ Sequoia Capital
1
มาลองมองในมุมของ Mark Zuckerberg กันบ้าง แม้ตอนนั้น Facebook จะเป็นอันดับหนึ่งด้วยฐานผู้ใช้งาน 100 ล้านบัญชีในขณะนั้น แต่ช่วงเวลาดังกล่าว ผู้ใช้งานเริ่มที่จะย้ายความสนใจมาอยู่บนมือถือมากขึ้น Facebook มี app ก็จริง แต่ต่างกับ Apple และ Google ที่มี Android ทาง Facebook ไม่ได้ผลิตมือถือเอง ดังนั้นหาก Facebook ไม่คิดจะกระโดดเข้าไปในธุรกิจมือถือหรือผลิต hardware เท่ากับว่าอาณาจักร Facebook จะต้องอยู่ในโลกของ tech อื่นอีกทีไปตลอด จึงทำให้เหลือทางออกแค่สองทาง นั้นก็คือ หนึ่ง Facebook จะต้องทำให้ผู้ใช้งานเสพติดกับการใช้ platform ของพวกเขาและใช้เวลากับมันมากขึ้นไปเรื่อยๆ หรือสอง Facebook ต้อง ซื้อคู่แข่งทุกรายที่เริ่มมีแนวโน้วว่าจะเติบโตและแย่งเวลาผู้ใช้งานไป หรือไม่ก็ copy สิ่งที่คู่แข่งทำแล้วทำให้ดีกว่า หรือหาวิธีฆ่าคู่แข่งทิ้งเสีย เมื่อ Mark ได้ทราบข่าวว่า Instagram กำลังจะได้รับเงินลงทุนอีกก้อนใหญ่ ตอนนี้ Instagram จึงเริ่มจะเป็นภัยคุกคามกับ Facebook แล้ว
1
สำหรับ Mark ในขณะนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ ซื้อ Instagram ขึ้นมาเลย แต่เขาเองก็มีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับการขอเข้าซื้อ social media อื่นในปี 2008 ครั้งนั้น Mark ขอซื้อ Twitter ในราคา 500 ล้านเหรียญ ซึ่งดีลเกือบจะเกิดขึ้นจริงแล้ว แต่ Williams CEO ของ Twitter ตอนนั้นเกิดเปลี่ยนใจภายหลัง ทำให้ต่อมา Twitter กลายเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ Facebook
2
ดังนั้น Mark เชื่อในสัญชาตญาณของตัวเองมากว่า Instagram จะกลายมาเป็นคู่แข่งสำคัญแน่ๆ จึงควรต้องซื้อซะตั้งแต่ตอนนี้ ซึ่ง Mark เองก็เชื่อว่าเขาสามารถหาวิธีคุยกับ Systrom ได้ในฐานะ founder กับ founder ที่เข้าใจความต้องการของกันและกัน Mark รู้ว่า Systrom ไม่ได้อยากไปทำ product ตัวอื่น ถ้าจะชวนมาทำด้วยกันแล้วต้องให้ไปช่วยดูงานอื่นด้วย เชื่อได้ว่า Systrom จะต้องปฏิเสธแบบที่เพิ่งบอกปัด Twitter แน่ๆ และ Systrom อยากทำงานแบบมีอิสระ เพื่อทำให้ Instagram เติบโตขึ้นยิ่งขึ้นไปอีกตามวิสัยทัศน์ของตัวเอง แล้วถ้า Instagram มาอยู่ในเครือ Facebook ตัว Systrom จะมีทั้งเงินทุนและทรัพยากรที่จะพา Instagram เติบโตได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นไปอีก เร็วกว่าทำเองด้วยเงินของนักลงทุนแน่ๆ เพราะ Facebook นี่เรียกได้ว่ามีพร้อมทุกอย่าง
1
ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ฟังขึ้นมากๆ สำหรับ Systrom ดังนั้นทั้งสองจึงเริ่มคุยเรื่องมูลค่าที่จะซื้อ Instagram กัน และ Systrom เสนอขายที่ 2 พันล้านเหรียญ
Mark จึงเอาเรื่องไปปรึกษากับ COO Sheryl Sandberg และ CFO David Ebersman แม้สองคนนั้นจะดูไม่ค่อยมั่นใจเท่าไหร่กับดีละนี้ แต่ก็ยอมเปิดใจเพราะ Mark บอกว่าให้เชื่อในสัญชาตญาณของเขา ขั้นต่อไปคือต้องนำเรื่องนี้ไปให้ผู้จัดการดีลที่ชื่อว่า Amin Zoufonoun เพื่อวิเคราะห์เรื่องการเงินและเคาะเรื่องตัวเลขสุดท้าย
Sandberg บอก Amin ว่า Mark ต้องการจะซื้อ Instagram ในมูลค่าประมาณ 1% ของมูลค่าบริษัทของ Facebook ซึ่งตอนนั้นก่อนที่ Facebook จะ IPO มูลค่าของ Facebook อยู่ที่ 1 แสนล้านเหรียญ ถ้า 1% เท่ากับต้องซื้อ Instagram ด้วยมูลค่าถึง 1 พันล้านเหรียญ (ยังต่ำกว่าที่ Systrom เสนอขายอยู่เท่าหนึ่ง เดี๋ยวมีอธิบายต่อตอนจบ)
1
แต่พอ Amin ได้ยินตัวเลขราคาที่ตั้งไว้ก็ช็อคไป Sandberg เลยบอกว่าให้ไปวิเคราะห์แล้วคิดดูก่อนละกัน เดี๋ยวคืนนี้โทรไปหาอีกที
ทาง Amin คิดแล้วยังไงก็ไม่สามารถหาเหตุผลที่จะซื้อ Instagram ด้วยตัวเลขนี้ได้ อีกอย่างดีลแบบนี้ถือว่าเป็นดีลที่ใหม่มากๆไม่เคยมีดีลแบบนี้เกิดขึ้นมาก่อน เขาจึงไม่รู้ว่าควรจะต้องเทียบกับอะไร พอ Sandberg โทรกลับมาขอคำตอบ Amin เลยบอกว่า ราคามันสูงมากเกินไป เลยอยากจะเข้าใจเหตุผลของ Mark ว่าทำไมเราจะต้องยอมจ่ายแพงขนาดนี้ ทาง Sandberg เลยนัดให้ Amin เจอ Mark ในเช้าวันถัดไปทันที
1
คืนนั้น Amin นอนไม่หลับเลย เขาเองไม่เคยทำดีลที่มีมูลค่ามหาศาลขนาดนี้มาก่อน ด้วยความกังวลและตื่นเต้นที่ต้องเจอ Mark ในวันรุ่งขึ้นพร้อมคำตอบ Amin เลยนอนไถ Instagram ไปเรื่อยๆ เผื่อว่าจะเข้าใจ platform นี้ให้ดียิ่งขึ้น
และในความมืดนั่นเอง Amin ก็ตระหนักขึ้นมาได้ว่า Instagram นี่มันไม่ใช่แค่ app ที่ให้คนมาโพสต์รูป lifestyle ของผู้ใช้งาน แต่ยังมีมูลค่าทางธุรกิจอีกมหาศาลเลย จริงอยู่ว่า instagram ตอนนั้นมีผู้ใช้งานแค่ 25 ล้านบัญชีเทียบกับ Facebook ที่ตอนนั้นมีหลายร้อยล้านบัญชีแล้ว แต่ภาคธุรกิจและแบรนด์ต่างๆ เริ่มใช้ Instagram กันมากพอสมควรเลย แถม follower ของแบรนด์เหล่านั้นก็มี interaction และ comment กับแบรนด์ต่างๆ อีกด้วย
4
Instagram ยังไม่มีรายได้ก็จริง แต่รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาคล้ายกับ Newsfeed ของ Facebook มาก นั่นคือผู้ใช้งานสามารถ scroll หรือไถไปได้เรื่อยๆ ซึ่งจะสามารถนำเอาแนวทางการเสนอโฆษณาแบบเดียวกับที่ Facebook ทำบน newsfeed และใช้ infrastructure ต่างๆที่ Facebook มีอยู่แล้วมาต่อยอดให้ Instagram เติบโตได้เร็วขึ้น แบบเดียวกับที่ Google ทำให้ YouTube
8
ดังนั้นในวันรุ่งขึ้นที่ห้องประชุมของสำนักงานใหญ่ Facebook เมื่อ Mark ถาม Amin ว่า กังวลเรื่องดีลนี้เหรอ Amin ตอบกลับทันทีว่า จริงๆแล้วเขาเองก็คิดว่าสัญชาตญาณของ Mark ถูกต้องแล้ว เราควรต้องซื้อ Instagram
หลังจากนั้น Amin ก็เล่าให้ Mark ฟังถึงแผนงานขั้นต่อไปที่จะปิดดีลนี้ให้เร็วที่สุด เพราะ Mark เองกลัวว่าถ้าปล่อยไว้นาน Systrom อาจจะไปปรึกษาคนนู้นคนนี้เพิ่มเติมแล้วสุดท้ายอาจจะเปลี่ยนใจได้ ปกติดีลแบบนี้ต้องใช้เวลากันหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนแต่ Mark ต้องการจะปิดดีลภายในสุดสัปดาห์เดียว
2
ระหว่างที่เหล่าทนายและฝ่ายการเงินดำเนินการเรื่องรายละเอียดต่างๆ Mark ก็ไปพบกับ Systrom และ Krieger ซึ่งจุดนี้เองทำให้ทั้งสองคนเห็นความจริงว่า การไปเป็นส่วนหนึ่งกับ Facebook จะเป็นผลดีมากกว่ากับ Instagram เพราะถ้าปราศจากดีลนี้ Instagram ต้องรีบโตให้เร็วที่สุดด้วยเงินของนักลงทุนแล้วก็ต้องรีบหาวิธีการสร้างรายได้เพื่อตอบแทนนักลงทุนทั้งหลาย ซึ่งทั้งหมดนี้อาจจะไม่สำเร็จก็ได้ ระหว่างนั้น Facebook อาจจะทำ version instagram ของตัวเองขึ้นมาแข่งแล้ว Instagram อาจจะล้มหายไปเลยก็ได้ การเข้าร่วม Facebook จึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้ว
3
อีกเรื่องที่ทั้งสองฝั่งที่ต้องตกลงกันคือมูลค่าที่จะซื้อและวิธีการ การซื้อด้วยเงินสดทั้งหมด 1 พันล้านเหรียญแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย Mark เสนอเป็นหุ้น 1% ของ Facebook ซึ่งอย่างที่บอกไป มีมูลค่าประมาณ 1 พันล้านเหรียญในขณะนั้น แต่ Mark พยายามโน้มน้าว Systrom และ Krieger ว่า เมื่อ Facebook IPO แล้วมูลค่าบริษัททั้งหมดจะสูงขึ้นมาก และจะเพิ่มมูลค่าเท่าหรือเกินกับมูลค่าที่ Systrom ต้องการแต่แรกนั่นคือ 1 พันล้านเหรียญได้แน่นนอน
3
หลังจากเอกสารพร้อมและทั้งสองฝ่ายตกลงกันเรียบร้อย Mark ก็แจ้งกับบอร์ดซึ่งทางบอร์ดก็ตกตะลึงกับดีลมหากาพย์ที่เพิ่งรู้เป็นครั้งแรกนี้ แต่พวกเขาทำอะไรไม่ได้เพราะ Mark มีหุ้นที่มีสิทธิ์ขาดในการตัดสินใจเรื่องดังกล่าว ส่วนทางฝั่งบอร์ดของ Instagram ก็แปลกใจไม่แพ้กัน ทั้งๆที่เพิ่ง raise fund ก้อนใหญ่จำนวน 50 ล้านเหรียญเพียงไม่กี่อาทิตย์ก่อนหน้านี้แต่ทำไมถึงจะขายให้ Facebook แล้ว ทาง Systrom อธิบายเหตุผลออกเป็นสี่ข้อ
1
ข้อแรก หุ้นของ Facebook ต้องขึ้นแน่ๆ ดังนั้น 1% ที่ Instagram ได้มาต้องมีมูลค่าเกิน 1 พันล้านเหรียญชัวร์ๆ ข้อสอง นี่เป็นวิธีที่จะตัดคู่แข่งคนสำคัญออก แทนที่จะให้ Facebook ทำ platform คล้ายๆ กันออกมาแข่ง เราไปร่วมกับพวกเขาเลย ข้อสาม Instagram จะได้รับประโยชน์มากมายจากทรัพยากร know-how และ infrastructure ของ Facebook ไม่ใช่แค่เรื่อง data center แต่เป็นรายละเอียดเรื่อง technical ทั้งหลายที่ Instagram ต้องเสียเวลาไปเรียนรู้เองในอนาคตอยู่ดี และข้อสุดท้าย Mark สัญญาว่าจะให้ทีม Instagram มีอิสระในการทำงานและพัฒนา platform (โน้ตปิดท้ายว่า ข้อนี้ภายหลัง Mark มาก้าวก่ายไอเดียของ Instagram มากเกินไปเพราะต้องการแข่งกับ Snapchat จน Systrom และ Krieger ต้องลาออกไปในปี 2018)
5
และนี่ก็เป็นเรื่องราวของ Instagram app ที่มีอายุเพียง 3 ปีและคนทำงานแค่ 13 คนแต่ขายได้มูลค่ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญ สุดท้ายแล้วเวลาผ่านไปมันพิสูจน์ได้จริงๆ ว่าสัญชาตญาณของ Mark นั่นถูกต้องจริงๆ ปัจจุบัน Instagram มีมูลค่าเกิน 1 แสนล้านเหรียญและเป็นหนึ่งใน platform หลักของอาณาจักร Facebook
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา