Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bumrungrad International
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
7 ธ.ค. 2020 เวลา 04:25 • สุขภาพ
“หรือเราจะสมองเสื่อมเสียแล้ว?”
คุณเป็นคนหนึ่งหรือไม่ที่มีอาการหลงๆ ลืมๆ อยู่เป็นประจำ ในบางครั้งอาการหลงลืมที่เกิดขึ้นกับคนเราบ่อยๆ อาจดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่ในบางครั้งอาการหลงลืมนั้นอาจไม่ใช่เพียงแค่อาการหลงลืมปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกๆ คน แต่เป็นอาการที่เป็นผลมาจากภาวะสมองเสื่อม ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อตัวคนๆ นั้นและคนรอบข้าง รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันด้วย
1
ความเสื่อมของสมองเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ไม่อาจย้อนคืน
แต่ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตที่เปี่ยมสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
1
เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์มาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการที่ผู้ป่วยหายออกไปจากบ้าน หรือได้ยินประกาศตามหาญาติของผู้สูงอายุที่เดินหลงทางอยู่ตามถนนหาทางกลับบ้านไม่ถูก อันที่จริงแล้วเรื่องราวของโรคสมองเสื่อม และโรคอัลไซเมอร์นั้น มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก จึงเก็บข้อมูลมาฝาก
ทำความเข้าใจกับภาวะสมองเสื่อม
1
สมองเสื่อม (dementia) เป็นภาวะที่สมองมีการทำงานแย่ลงจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยกลุ่มอาการหลายๆ อย่างรวมกัน เช่น หลงลืมง่าย คิดเงินไม่ถูก หาของไม่เจอ หลงทางในที่คุ้นเคย มีพฤติกรรมแปลกๆ เป็นต้น
สาเหตุของภาวะสมองเสื่อม
โดยสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมมีมากมาย ทั้งที่เป็นโรคของสมองและไม่ใช่โรคของสมอง เช่น เส้นเลือดสมองตีบ เนื้องอกในสมอง เลือดออกในสมอง ไทรอยด์ การขาดวิตามินบี 12 ยาบางชนิด (เช่น ยาแก้แพ้หรือ antihistamine) ภาวะซึมเศร้า และที่สำคัญ ได้แก่ อัลไซเมอร์ ซึ่งพบว่าเป็นโรคที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้บ่อยที่สุด
เรื่องของอายุและพันธุกรรม จำนวนผู้ป่วยที่พบว่าเป็นโรคสมองเสื่อมนั้นเพิ่มมากขึ้นทุกปี ๆ โดยผู้ป่วยในวัยตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีอัตราการป่วยสูงถึงร้อยละ 5 - 8 และยิ่งทวีสูงขึ้น เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ในผู้ที่อายุ 90 ปีขึ้นไป พบอัตราการเกิดโรคสูงถึงร้อยละ 50
ภาวะสมองเสื่อมแบ่งได้เป็นสองประเภท ได้แก่
โรคสมองเสื่อมที่รักษาให้หายขาด
โรคสมองเสื่อมที่รักษาไม่หายขาด
ทั้งนี้สาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่ไม่ใช่อัลไซเมอร์อาจรักษาให้หายขาดได้โดยแก้ไขที่สาเหตุนั้น แต่หากสาเหตุเกิดจากโรคอัลไซเมอร์ การรักษาอาจเน้นการประคับประคองอาการ โดยอาจทำให้ดีขึ้นได้ในระยะหนึ่ง แม้ไม่หายขาดแต่ก็ทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
1
อาการของภาวะสมองเสื่อม
พิจารณาว่าอาการดังกล่าวนั้น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันหรือไม่ เมื่อเวลาผ่านไป อาการที่ตามมาคือ ความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง (Cognitive Impairment) เช่น
มีปัญหาด้านการใช้ภาษา
เลือกใช้คำพูดไม่ค่อยถูก
สับสนเรื่องทิศทาง
สิ่งที่เคยทำเป็นกิจวัตรก็เริ่มทำไม่เป็น
ไม่รู้เวลาและสถานที่
ไม่สามารถตัดสินใจได้
ไม่ค่อยเข้าใจสิ่งที่เป็นเป็นนามธรรม
และมีการวางของผิดที่แปลกๆ
บางรายมีความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและอารมณ์ เป็นต้น
การวินิจฉัยของภาวะสมองเสื่อม
ในการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม แพทย์จะมีการซักประวัติจากผู้ป่วย ญาติ หรือผู้ดูแลที่สามารถให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับความสามารถในชีวิตประจำวัน และพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความถดถอยด้านการทำงานของสมอง
นอกเหนือจากนี้ แพทย์ก็จะตรวจร่างกายเพื่อคัดกรองว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้นมาจากสมองเอง หรือจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ไขมัน ภาวะพร่องสารอาหาร จากนั้นก็รักษาผู้ป่วยตามสาเหตุที่เป็นก่อน
1
จองทันที
bumrungrad.com
โปรแกรมสำหรับตรวจคัดกรองภาวะสมองเสื่อม
สำหรับผู้ที่มีความวิตกกังวลในเรื่อง การลืมสิ่งของ เหตุการณ์ บุคคล สถานที่ เวลา หรือมีประวัติครอบครัวที่มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ
การรักษาของภาวะสมองเสื่อม
เมื่อผ่านขั้นตอนการวินิจฉัยจนได้ข้อสรุปที่ชัดเจนพอจะเริ่มการรักษาให้ตรงกับอาการแล้ว แพทย์ก็จะพิจารณารูปแบบการรักษาให้กับผู้ป่วย ซึ่งจะมี 2 รูปแบบ คือ
การรักษาด้วยการใช้ยา
และการรักษาโดยไม่ใช้ยา”
อ่านทั้งหมดที่
bumrungrad.com
สมองเสื่อม - อาการและการรักษา | โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
สมองเสื่อม (dementia) เป็นภาวะที่สมองมีการทำงานแย่ลงจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยกลุ่มอาการหลายๆ อย่างรวมกัน เช่น หลงลืมง่าย คิดเงินไม่ถูก หาของไม่เจอ หลงทางในที่คุ้นเคย มีพฤติกรรมแปลกๆ เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม
6 บันทึก
20
2
12
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
โรคภัย...ใกล้ตัว
6
20
2
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย