Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
25 ธ.ค. 2020 เวลา 14:08 • การศึกษา
MRR / MLR / MOR คืออะไร และต่างกันยังไง
ผู้เขียนเชื่อว่า หลายคนโดยเฉพาะคนที่ต้องการกู้เงิน อาจจะเคยได้ยินคำเหล่านี้มาแล้ว แต่ก็ไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับอัตราดอกเบี้ยแบบต่างๆ เหล่านี้กันค่ะ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
📌 อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ (Fixed Rate)
📌 อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate)
1
⛳ อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ (Fixed Rate)
ดอกเบี้ยประเภทนี้ จะถูกกำหนดอย่างชัดเจนว่าในแต่ละปี จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเป็นจำนวนเท่าไร เช่น 3% 5% 7% พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนตามที่เจรจาตกลงกัน ซึ่งการคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ สามารถกำหนดได้ง่าย เพราะการกู้เงินลักษณะนี้จะรู้ชัดเจนล่วงหน้าว่าจะต้องจ่ายคืนเดือนละเท่าไร แบ่งเป็นเงินต้นเท่าไรและดอกเบี้ยเท่าไร
2
⛳ อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate)
ดอกเบี้ยประเภทนี้ จำเป็นต้องมีอัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวอ้างอิงตามเงื่อนไขและต้นทุนของธนาคาร ซึ่งแต่ละธนาคารอาจจะไม่เท่ากันก็ได้ โดยอัตราดอกเบี้ยที่เราคุ้นกัน ได้แก่ MRR MLR MOR นั่นเอง
⛳ MRR / MLR / MOR คืออะไร
👉 MRR หรือ Minimum Retail Rate คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ใช้ได้สำหรับเงินกู้ทุกประเภทที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้น ถือเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงแบบลอยตัวที่ธนาคารพาณิชย์ใช้กันมากที่สุดในธุรกรรมการให้สินเชื่อ
เป็นอัตราดอกเบี้ยที่คนทั่วไปมีโอกาสผ่านได้ง่ายกว่าอัตราดอกเบี้ยอื่น แต่ก็จะมีความเสี่ยงสูงกว่า และมีความผันผวนพอสมควร จึงทำให้ดอกเบี้ยสูงกว่า MLR อีกทั้งยังมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ง่ายกว่าอีกด้วย
👉 MLR หรือ Minimum Loan Rate คือ อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา โดยต้องมีประวัติการเงินที่ดีและมีหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้ที่มากพอ
👉 MOR หรือ Minimum Overdraft Rate คือ อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี หรือการเบิกเงินทางโอดี ซึ่งจะประเมินจากคุณสมบัติของผู้กู้ เช่น หลักทรัพย์ค้ำประกัน
2
MOR เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารส่วนใหญ่มักจะใช้กับกรณีสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งก็คือวงเงินเบิกเกินบัญชี ที่ทำผ่านบัญชีกระแสรายวัน และส่วนใหญ่ใช้เช็คในการเบิกถอน
⛳ MRR, MLR และ MOR ต่างกันอย่างไร
📌 ธนาคารจะเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ย MRR จากลูกค้ารายย่อยชั้นดี แต่จะเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ย MLR และ MOR จากลูกค้ารายใหญ่ แต่มีบางกรณีที่ธนาคารจะให้อัตราดอกเบี้ย MLR กับลูกค้าทั่วไป เฉพาะแค่ลูกค้ารายใหญ่เท่านั้น ซึ่งทางธนาคารจะเสนอให้ก็ต่อเมื่อเป็นการกู้สินเชื่อระยะยาวที่มีระยะเวลากำหนดไว้แน่นอน
📌 ธนาคารมักจะใช้ MRR และ MLR เป็นอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เพราะมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ซึ่งหากเทียบกับธนาคารอื่น บางที MRR ของธนาคารใหญ่บางแห่งอาจเท่ากับ MLR ของธนาคารขนาดกลางบางแห่ง
📌 โดยทั่วไป อัตราดอกเบี้ย MRR จะสูงกว่า MOR และ อัตราดอกเบี้ย MOR จะสูงกว่า MLR ซึ่งส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย MRR และ MLR เป็นตัวสะท้อนระดับความเสี่ยงที่ต่างกันระหว่างลูกค้ารายใหญ่และรายย่อย ซึ่งสามารถศึกษาอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง MRR MOR และ MRR ได้จากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทยได้
📌 การคาดเดาทิศทางของอัตราดอกเบี้ย MLR และ MRR เป็นเรื่องที่ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกู้ในระยะยาว เราไม่ควรคิดว่าส่วนต่างระหว่าง MRR และ MLR จะเหมือนเดิมไปตลอด เพราะจากสถิติของธนาคารรายใหญ่ที่ผ่านมา ยิ่ง MLR สูงขึ้น ช่องว่างระหว่าง MLR และ MRR ก็จะมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำให้ MRR สูงกว่า MLR มากขึ้นตามช่องว่าง และหาก MLR ต่ำลง ช่องว่างระหว่าง MLR และ MRR ก็จะแคบลงเช่นกัน
1
⛳ ตัวอย่าง
ธนาคารเพื่อการกู้ ให้กู้เงินซื้อบ้านในวงเงิน 5,000,000 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ย MLR – 1% ในช่วงแรกและ MLR + 1% ตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป แสดงว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจะเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราดอกเบี้ย MLR ที่ธนาคารกำหนดในแต่ละปี ถ้าปีแรก MLR = 6.25% ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 5.25% (MLR – 1%) ถ้าปีที่สาม MLR = 7.5% ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 8.5% (MLR + 1%) เป็นต้น
1
⛳ ข้อควรรู้ของอัตราดอกเบี้ย
1
📌 ตามกฎของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์จะต้องติดประกาศอัตราดอกเบี้ยให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นสาขาย่อยและสาขาสำนักงานใหญ่ของแต่ละธนาคาร รวมไปถึงเว็บไซต์ของธนาคารนั้น ๆ และควรเขียนหมายเหตุด้วยว่ากฎของธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้บังคับใช้กับธนาคารรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน เพราะธนาคารรัฐมีกฎหมายจัดตั้งเป็นพิเศษ เรื่องดอกเบี้ยจึงไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย
📌 อัตราดอกเบี้ย MRR, MOR และ MLR ของแต่ละธนาคารไม่จำเป็นต้องเท่ากัน เนื่องจากต้นทุนของแต่ละธนาคารไม่เท่ากัน โดยต้นทุนที่เกี่ยวข้องของแต่ละธนาคารอาจจะขึ้นอยู่กับปริมาณเงินสำรอง จำนวนหนี้เสีย และสภาพคล่องของธนาคาร
📌 ถือเป็นเรื่องปกติหากมีลูกค้าสองคนเดินเข้าไปที่ธนาคารเดียวกันเพื่อขอกู้สินเชื่อเช่นเดียวกัน แต่ได้อัตราดอกเบี้ยต่างกัน เพราะสถาบันการเงินจะประเมินความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละคนไม่เท่ากัน ยิ่งความเสี่ยงสูง อัตราดอกเบี้ยก็สูงตามไปด้วย เช่น ส่วนต่างระหว่างรายรับกับรายจ่าย หรือรายได้สุทธิ รวมไปถึงความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าแต่ละรายที่มีไม่เท่ากัน
4
💦.....อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน MRR, MLR และ MOR เป็นตัวแปรหลักที่มีผลต่อการคิดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารก็ไม่เท่ากัน หากถามว่าอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อตัวไหนดีกว่ากัน ก็คงไม่สามารถตัดสินได้ เนื่องจากทุกอย่างขึ้นอยู่กับแผนการเงินของแต่ละคน เพราะฉะนั้นควรพิจารณาและเปรียบเทียบจากธนาคารต่าง ๆ ได้ตามความสะดวกและเหมาะสมของผู้กู้เอง
ที่มา :
https://www.lumpsum.in.th/knowledge/read/mrr-mlr-mor
https://www.checkraka.com/personalloan/article/111272/
https://www.gobear.com/th/blog/personal-loan/mlr-mor-mrr-interest-rate
https://www.moneybuffalo.in.th/vocabulary/mlr-mor-mrr-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ช่องทางอื่นในการติดตาม เพจลงทุนในบัญชีและภาษี
FB :
https://www.facebook.com/BSV.BSerp.BusinessValue
Website :
https://accounting.bsv-th.com/
Website :
https://www.bsv-th.com/
ขอบคุณทุกกำลังใจและการติดตามนะคะ 🙏🙏😘😘
41 บันทึก
45
53
30
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เศรษฐกิจและการเงิน
41
45
53
30
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย