Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
24 มี.ค. 2021 เวลา 15:08 • การศึกษา
เงินเฟ้อ ตัวการฉุดความมั่งคั่ง
1
คุณรู้หรือไม่ว่าเงินเฟ้อถูกยกให้เป็นความเสี่ยงสำคัญเรื่องหนึ่งสำหรับการลงทุนในสินทรัพย์แทบจะทุกประเภท ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ก่อนอื่นเรามารู้จักความหมายของเงินเฟ้อกันก่อนนะคะ
ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากจะกระทบต่อฐานะและความเป็นอยู่ของประชาชน
1
⛳ โดยสาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือ
1. ประชาชนต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ( Demand – Pull Inflation)
ประกอบกับสินค้าและบริการนั้นๆ ในตลาดมีไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ขายปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น
2. ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ( Cost – Push Inflation) กล่าวคือ หากผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ จะทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้นด้วย
⛳ แล้วเงินเฟ้อต่างจากเงินฝืดอย่างไร
เงินฝืดก็คืออาการที่ตรงข้ามกับเงินเฟ้อ กล่าวคือ ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นเมื่อระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง
โดยมีสาเหตุหลายประการ เช่น ความต้องการซื้อสินค้าและบริการของประชาชนลดลง หรือ ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ มีไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งอาจทำให้ราคาสินค้าปรับลดลง ผู้ผลิตก็อาจไม่ต้องการผลิตสินค้าและบริการในปริมาณเท่าเดิม ทำให้ลดกำลังการผลิตลง และส่งผลให้เศรษฐกิจซบเซาในที่สุด
จะเห็นได้ว่า ทั้งภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืด เกิดจากการเคลื่อนไหวขึ้นลงของเศรษฐกิจตามวัฏจักร แต่หากมีความรุนแรงและยืดเยื้อ ก็ล้วนส่งผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ดีของประชาชนด้วยกันทั้งสิ้น
⛳ เงินเฟ้อส่งผลกระทบอย่างไร
เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ จะส่งผลกระทบไปยังหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ภาคประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการ/นักธุรกิจ และต่อระดับประเทศ
📌 ภาคประชาชนทั่วไป
>> รายจ่ายหรือภาระค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้ประชาชนมีอำนาจซื้อน้อยลง มีความสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง และอาจทำให้รายได้ที่มีหรือเงินที่หามาได้ไม่เพียงพอกับการยังชีพ
2
>> อัตราเงินเฟ้อยิ่งสูง จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง จะมีค่าลดลงไป เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับเอาไปใช้ซื้อของได้น้อยลง
ตัวอย่าง
ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี แต่หากอัตราเงินเฟ้อหรือราคาสินค้า/บริการเพิ่มขึ้นมาร้อยละ 1 อาจกล่าวได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับจริงๆ อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีเท่านั้น
แต่หากปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังคงเท่าเดิม แต่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 2 อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะกลายเป็นร้อยละ - 0.5 ต่อปี ซึ่งเท่ากับว่ากำลังซื้อของผู้ฝากเงินลดลง หรือผลตอบแทนที่ได้รับจริงๆ ติดลบ ทำให้ผู้ฝากไม่อยากออมเงิน และอาจหันไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์และหุ้น เป็นต้น ซึ่งต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย หากไม่มีความรู้เพียงพอในการบริหารจัดการ ก็อาจทำให้เกิดเป็นภาระหนี้สินได้
1
📌 ภาคผู้ประกอบการ/นักธุรกิจ
>> เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้น ยอดขายก็จะลดลง ในขณะเดียวกัน ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้นด้วย ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจบางรายอาจตัดสินใจชะลอการผลิต ลดการลงทุนและการจ้างงาน ทำให้คนตกงานมากขึ้น
>> ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศลดลง เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกของเราจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าส่งออกของประเทศอื่นๆ
📌 ภาคประเทศ
>> ในภาวะที่ประชาชนซื้อของน้อยลง ธุรกิจไม่สามารถขายของได้ การลงทุนเพื่อผลิตสินค้าก็จะชะลอออกไป ทำให้การพัฒนาศักยภาพการผลิตของประเทศในระยะยาวอาจชะลอตัวลงตามไปด้วย
>> ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงจนทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบนานๆ ประชาชนก็จะหันไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง สะสมปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆ และความไม่สมดุลในภาคการเงินของประเทศได้ เช่น หนี้ครัวเรือน เป็นต้น
💥 ถ้าพูดถึงความน่ากลัวของเงินเฟ้อ ก็คือการที่เงินอยู่เฉยๆ แต่กลับมีค่าเงินลดลง จะซื้อของแต่ละชิ้นก็ต้องใช้เงินมากขึ้น วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้นก็คือ หาทางเพิ่มค่าของเงินในกระเป๋าตัวเองให้มากกว่าเดิม หรืออย่างน้อยๆ ก็หาให้ได้เท่ากับเงินเฟ้อที่เสียไปด้วยวิธีการลงทุนต่างๆ นั่นเองค่ะ
สามารถศึกษาเกี่ยวกับค่าของเงินตามเวลา ได้ตามลิ้งนี้ค่ะ 👇
อ่านเพิ่มเติม
blockdit.com
[ลงทุนในบัญชีและภาษี] ค่าของเงินตามเวลา (Time Value of Money)
ค่าของเงินตามเวลา (Time Value of Money)
และถึงแม้เราจะหาวิธีการลงทุนในแบบต่างๆแล้ว เงินเฟ้อยังมีผลกระทบต่อผลตอบแทนจากการลงทุนของเราด้วย ทั้งผลตอบแทนที่อยู่ในรูปดอกเบี้ยจากการฝากเงินหรือผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เพราะเงินเฟ้อที่ขยับขึ้น ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) ปรับลดลง
ตัวอย่าง
สินทรัพย์ X ให้ผลตอบแทน 1.5% ต่อปี
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ 3.5% ต่อปี
สมมติว่ามีเงิน 1 ล้านบาท นำไปลงทุนในสินทรัพย์ X พอครบ 1 ปี จะมีเงิน 1,015,000 บาท หรือเพิ่มขึ้น 1.5% แต่กลับซื้อของได้น้อยลง 3.5% เพราะเงินเฟ้อทำให้อำนาจซื้อของเงินลดลง หรือผลตอบแทนจากการลงทุนสินทรัพย์ X แพ้เงินเฟ้อ (เงินเฟ้อ – ผลตอบแทนที่ได้รับ)
💦.....ซึ่งจากปัญหาดังกล่าว จึงเกิดคำถามตามมาว่า แล้วเราจะลงทุนกับอะไรดี ให้ชนะเงินเฟ้อ ซึ่งผู้เขียนจะนำมาเสนอในบทความต่อไปนะคะ
Cr. ธนาคารแห่งประเทศไทย
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณกำลังใจและการติดตามนะคะ ทุกการอ่าน ไลค์ แชร์ หรือคอมเม้นท์มีความหมายเสมอค่ะ ❤❤🙏🙏❤❤
14 บันทึก
41
57
30
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เศรษฐกิจและการเงิน
อยากลงทุน ลงทุนในอะไรดี
14
41
57
30
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย