Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
17 มิ.ย. 2021 เวลา 13:12 • การศึกษา
เงินเฟ้อ vs เงินฝืด สิ่งไหนส่งผลกระทบมากกว่ากัน ?
ไม่ว่าจะเป็นเงินเฟ้อ หรือ เงินฝืด ผู้เขียนเชื่อว่าเราต่างคุ้นเคยกับสองคำนี้มาแล้ว แล้วมันมีผลกระทบกับชีวิตเราอย่างไรบ้าง เรามาเรียนรู้ไปกับบทความนี้กันค่ะ
1
⛳ เงินเฟ้อ (Inflation)
เงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาก จะกระทบต่อฐานะและความเป็นอยู่ของประชาชน
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ หลักๆ ได้แก่
1. ประชาชนต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ประกอบกับสินค้าและบริการนั้น ๆ ในตลาดไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ขายปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น
1
2. ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น หากผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ จะทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้นด้วย
1
ผลกระทบของ "เงินเฟ้อ"
📌 ผลต่อภาคประชาชน
- ภาระค่าครองชีพสูงขึ้น ทําให้ประชาชนมีอํานาจซื้อน้อยลง และมีความสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าหรือบริการได้น้อยลง ซึ่งอาจทําให้รายได้ที่มีหรือเงินที่หามาได้ไม่เพียงพอกับการยังชีพ
1
- อัตราเงินเฟ้อยิ่งสูงจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะมีค่าลดลงไปด้วย ทําให้ผู้ฝากไม่อยากออมเงิน และอาจหันไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ทองคํา อสังหาริมทรัพย์ และหุ้น เป็นต้น ซึ่งก็จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย หากไม่มีความรู้เพียงพอในการบริหารจัดการ
1
📌 ผลต่อภาคธุรกิจ/ผู้ประกอบการ
1
- เมื่อวัตถุดิบมีราคาแพงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้นด้วย จำเป็นต้องเพิ่มราคาสินค้าตาม เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น ยอดขายก็จะลดลง ทำให้ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจลดลง
1
- ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศลดลง เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกของเราจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าออกของประเทศอื่น ๆ
2
📌 ผลต่อภาคระดับประเทศ
- ในภาวะที่ประชาชนซื้อของน้อยลง ธุรกิจไม่สามารถขายของได้ การลงทุนเพื่อผลิตสินค้าก็จะชะลอออกไป ทําให้การพัฒนาศักยภาพการผลิตของประเทศในระยะยาวอาจชะลอลงตามไปด้วย
2
- ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงจนทําให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบนานๆ ประชาชนก็จะหันไปเก็งกําไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งเป็นการสะสมปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆ และความไม่สมดุลในภาคการเงินของประเทศได้ เช่น หนี้ครัวเรือน
1
⛳ เงินฝืด (Deflation)
เงินฝืด หมายถึงภาวะที่ราคาสินค้าและบริการลดต่ำลงเรื่อยๆ เนื่องจากปริมาณสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผลิตออกมามีมากกว่าความต้องการซื้อสินค้าของคนในประเทศ
2
โดยสาเหตุของเงินฝืด เกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งเกิดจากความเชื่อมั่นของผู้ซื้อลดลง ไม่กล้าใช้จ่ายเงิน หรือเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง รวมไปถึงปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจไม่เพียงพอ เช่น เงินตราไหลออกนอกประเทศมากเกินไป เป็นต้น
1
หาก "ภาวะเงินฝืด" เกิดขึ้น ย่อมมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชน และระบบเศรษฐกิจของประเทศในภาคต่างๆ ดังต่อไปนี้
1
ผลกระทบของ "เงินฝืด"
📌 ผลต่อภาคประชาชน
อัตราการว่างงานสูงขึ้น เนื่องจากภาคเอกชนขายสินค้าและบริการได้น้อยลง บางกิจการอาจมีผลกระทบมากจนต้องลดกำลังการผลิตเพื่อรักษากิจการให้สามารถอยู่รอดได้ในภาวะเงินฝืด จึงจะต้องลดพนักงานทำให้ประชาชนตกงานเพิ่มขึ้น
1
📌 ผลต่อภาคธุรกิจ/ผู้ประกอบการ
ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลง เพราะหากผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้ไม่หมด ผลที่ตามมาคือ การจ้างงานและการซื้อวัตถุดิบเพื่อการผลิตก็จะลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว
1
📌 ผลต่อภาคระดับประเทศ
หากราคาที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นผลมาจากความต้องการสินค้าและบริการของประชาชนลดลง คนก็จะลดการจับจ่ายใช้สอย เมื่อคนไม่ซื้อสินค้ากันมากๆ ผู้ผลิตก็ขายสินค้าไม่ได้ ท้ายที่สุดก็จะกระทบกับภาคการผลิตและการจ้างงาน ทําให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในที่สุด ดังนั้น ภาวะเงินฝืดจึงเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์สําหรับระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง
1
จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเกิดภาวะใด ต่างก็ส่งผลกระทบไปยังทุกภาคส่วนเช่นเดียวกัน แต่จะส่งผลรุนแรงแค่ไหน ขึ้นอยู่กับระดับของภาวะที่เกิดขึ้น ถ้าหากจะไล่ระดับความรุนแรงแล้ว การมีภาวะเงินเฟ้ออ่อนๆ จะค่อนข้างส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจมากกว่า เพราะทุกอย่างจะหมุนไปเร็ว แต่ถ้าเฟ้อมากไป จะกลายเป็นผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจได้
1
ในทางตรงข้าม ถ้าเกิดภาวะเงินฝืดอ่อนๆ ก็จะส่งผลกระทบในระดับที่ไม่มากนัก แต่ถ้าเข้าภาวะเงินฝืดเต็มที่ ก็จะส่งผลกระทบระดับรุนแรงมากที่สุด
💦.....ไม่ว่าสถานการณ์จะอยู่ในภาวะเงินเฟ้อ หรือเงินฝืด ก็ไม่ควรที่จะเอียงไปทางใดทางหนึ่งมากจนเกินไป ควรบริหารให้อยู่ในภาวะสมดุลย่อมดีกว่าค่ะ
อ้างอิง :
https://www.finnomena.com/z-admin/inflation-disinflation-deflation/
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/883821
https://sites.google.com/site/ngeinfexlaeangeinfud/
http://www.elcls.ssru.ac.th/bunyaporn_po/pluginfile.php/143/block_html/content/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%2012%20%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9D%E0%B8%B7%E0%B8%94.pdf
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
สามารถเยี่ยมชมเราผ่านช่องทางอื่นตามลิ้งข้างล่างนี้ค่ะ :
FB :
https://www.facebook.com/BSV.BSerp.BusinessValue
Website :
http://bsv-th.com/
Website :
http://acc.bsv-th.com/
1
ขอบคุณกำลังใจและการติดตามนะคะ ทุกการอ่าน ไลค์ แชร์ หรือคอมเม้นท์มีความหมายเสมอค่ะ
❤❤🙏🙏❤❤
33 บันทึก
37
53
34
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เศรษฐกิจและการเงิน
33
37
53
34
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย