Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
26 มิ.ย. 2021 เวลา 12:29 • การศึกษา
ค่าเงินบาทแข็ง VS ค่าเงินบาทอ่อน
ใครได้ ? ใครเสีย?
ล่าสุดนี้ เงินบาทอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 13 เดือน โดยเดือนพฤษภาคม 2564 ตัวเลขส่งออกของไทยปรับขยายตัวได้ถึง 41.59% สูงสุดในรอบ 11 ปี ( อ้างอิงจาก กรุงเทพธุรกิจ) แล้วกรณีเช่นนี้จะส่งผลอย่างไรต่อผู้ที่เกี่ยวข้องบ้าง
เงินบาทที่อ่อนค่าหรือแข็งค่านั้น มีทั้งผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ หากเราไม่เข้าใจบางทีเมื่อเห็นข่าวตามสื่อต่างๆ ก็อาจทำให้เราเข้าใจคลาดเคลื่อนได้
2
เช่น เงินบาทอ่อนค่าลง 1 บาท จะส่งผลให้รายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นหมื่นล้านบาท แต่ข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งคือ ถ้าเงินบาทอ่อนลง 1 บาท รายจ่ายด้านการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ก็เพิ่มขึ้นเป็นหมื่นล้านบาทเช่นกัน
ดังนั้น เรื่องค่าเงินบาทจึงเปรียบเสมือนเหรียญ 2 ด้าน ที่ต้องดูและเข้าใจทั้งด้านที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์
ตัวอย่าง สมมุติอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนี้ 30 THB = 1 USD
⛳ กรณีค่าเงินบาทอ่อน
จาก 30 THB : 1 USD >> 31 THB : 1 USD
คือ การใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลกเงินสกุลอื่นในจำนวนเท่าเดิม
📌 ผู้ได้ประโยชน์ ได้แก่
ผู้ส่งออก
>> นำรายได้ที่ขายเป็นสกุลเงินต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาท จะได้มากขึ้น
คนทำงานต่างประเทศ
>> นำรายได้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาท จะได้มากขึ้น
ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่รับเงินสกุลต่างประเทศ
>> นำรายได้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาท จะได้มากขึ้น
📌 ผู้ที่เสียประโยชน์ ได้แก่
ผู้นำเข้า
>> นำเข้าสินค้าได้ทุนที่แพงขึ้น ซึ่งไม่ใช่เพราะราคาสินค้าสูงขึ้น แต่เกิดจากผลของค่าเงินอ่อนค่าลง ทำให้จ่ายเงินสูงขึ้น
ประชาชน
>> ซื้อสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศที่แพงขึ้น
ผู้เป็นหนี้กับต่างประเทศ
>> มีภาระหนี้เพิ่มขึ้น เพราะใช้เงินบาทเพิ่มขึ้นในการชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศ
⛳ กรณี ค่าเงินบาทแข็ง
จาก 30 THB : 1 USD >> 29 THB : 1 USD
คือ การใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเงินสกุลอื่นในจำนวนเท่าเดิม
📌 ผู้ที่ได้ประโยชน์ ได้แก่
ผู้นำเข้า
>> นำเข้าสินค้าได้ทุนที่ถูกลง ซึ่งไม่ใช่เพราะราคาสินค้าลดลง แต่เกิดจากผลของค่าเงินแข็งค่าขึ้น ทำให้จ่ายเงินลดลง
ประชาชน
>> ซื้อสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศได้ถูกลง
ผู้เป็นหนี้กับต่างประเทศ
>> มีภาระหนี้ลดลง เพราะใช้เงินบาทน้อยลงในการชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศ
📌 ผู้เสียประโยชน์ ได้แก่
ผู้ส่งออก
>> รายได้ที่ขายเป็นสกุลเงินต่างประเทศ เมื่อนำมาแลกเป็นเงินบาท จะได้น้อยลง
คนทำงานต่างประเทศ
>> นำรายได้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาท จะได้น้อยลง
ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่รับเงินสกุลต่างประเทศ
>> นำรายได้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาท จะได้น้อยลง
💥 สรุปผู้ได้ประโยชน์/เสียประโยชน์ จากบาทอ่อนและบาทแข็ง
หากมองไปยังอนาคต ความเสี่ยงและความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะปัจจัยสำคัญที่กำหนดค่าเงินบาทมาจากต่างประเทศ เช่น จากอเมริกา หรือจาก Brexit ในยุโรป
💦.....ดังนั้น ค่าเงินจะขึ้นหรือลงไม่มีใครคาดเดาได้ จึงไม่อยากให้ผู้ประกอบการคาดเดาหรือเก็งกำไร เพราะทำธุรกิจมาด้วยความยากลำบากจึงควรปิดความเสี่ยง โดยรวมค่าทำประกันความเสี่ยง เข้ามาเป็นต้นทุนเหมือนต้นทุนปกติ เช่นเดียวกับการส่งสินค้าไปต่างประเทศ ก็ต้องซื้อประกัน freight insurance
ดังนั้น เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนก็เช่นเดียวกัน ควรทำประกันตามปกติ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นนั่นเองค่ะ
Cr. ธนาคารแห่งประเทศไทย
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
สามารถเยี่ยมชมเราผ่านช่องทางอื่นตามลิ้งข้างล่างนี้ค่ะ :
FB :
https://www.facebook.com/BSV.BSerp.BusinessValue
Website :
http://bsv-th.com/
Website :
http://acc.bsv-th.com/
ขอบคุณกำลังใจและการติดตามนะคะ ทุกการอ่าน ไลค์ แชร์ หรือคอมเม้นท์มีความหมายเสมอค่ะ
❤❤🙏🙏❤❤
17 บันทึก
35
64
21
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เศรษฐกิจและการเงิน
17
35
64
21
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย