Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
8 ธ.ค. 2020 เวลา 12:41 • ไลฟ์สไตล์
ออกซิโทซิน ฮอร์โมนแห่งความรัก 💚
ร่างกายของคนเราเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นอย่างประณีต เพราะในร่างกายของเราประกอบไปด้วยเซลล์นับล้านล้านที่ประสานกันเป็นอวัยวะต่าง ๆ โดยมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน และในอวัยวะต่าง ๆ ยังมีการผลิตฮอร์โมนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับความคิด รวมไปถึงความรู้สึกของเรา โดยฮอร์โมนที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของเรามากที่สุด นั่นก็คือ ฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin)
1. ออกซิโทซิน คืออะไร?
เป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นจากไฮโปทาลามัส หรือต่อมใต้สมอง ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย โดยฮอร์โมนตัวนี้จะสัมพันธ์กับผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเพราะมักจะหลั่งออกมาตอนที่ผู้หญิงคลอดลูก ทำให้มีแรงเบ่ง และสร้างความผูกพันให้กับแม่และลูก หลังจากคลอดบุตรแล้วฮอร์โมนตัวนี้ยังมีผลต่อการให้นมบุตร เพราะมันจะช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำนมให้เพียงพอต่อลูกน้อยอีกด้วย
2. ออกซิโทซิน ฮอร์โมนแห่งความรัก
หากเปรียบเทียบฮอร์โมนตัวนี้เป็นผู้หญิง เธอก็คงจะเป็นหญิงสาวที่กำลังตกอยู่ในห้วงแห่งความรัก แถมยังเป็นหญิงสาวที่เทิดทูลความรักเสียด้วย เพราะการหลั่งของฮอร์โมนนี้จะสร้างความผูกพันกับคนที่เรารัก
1
โดยเฉพาะเวลากอด สัมผัส หรือการมีเพศสัมพันธ์ ฮอร์โมนนี้จะหลั่งออกมาทำให้เกิดความเชื่อใจ และรู้สึกปลอดภัยเมื่อได้สัมผัสอบอุ่นจากคนที่เรารัก
นอกจากฮอร์โมนนี้จะทำให้ความรักดูโรแมนติกสดใสดั่งอยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์แล้ว เจ้าหล่อนยังเป็นผู้หญิงที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีปฏิสัมพันธ์กับทางสังคม เพราะเมื่อฮอร์โมนนี้ทำให้เกิดความเชื่อใจก็จะเป็นผลดีที่เอื้อต่อสังคม โดยมีการพัฒนาฮอร์โมนนี้ไปบำบัดโรคออทิสติกเพื่อเพิ่มปฏิสัมพันธ์กับทางสังคมมากขึ้น มองโลกในแง่ดี เป็นมิตร พูดคุย หรือสบตากับผู้อื่นมากขึ้น
3. ร้องไห้ตอนดูหนังเกิดจากฮอร์โมนออกซิโทซินด้วยนะ!
อาจเป็นเรื่องที่น่าแปลกสักนิดที่เราเสียน้ำตาเวลาเจอฉากเศร้าเคล้าอารมณ์ในภาพยนตร์หรือโฆษณาทางทีวีแล้วรู้ว่าทั้งหมดนี้เกิดจาก “ฮอร์โมนออกซิโทซิน” ผลจากการศึกษาของพอล เจ. แซก (Paul J. Zak) แสดงให้เห็นว่าหากเราดูสื่อเรื่องเดียวกันแต่บอกเล่าด้วยวิธีที่แตกต่างกันจะมีผลต่อออกซิโทซินในสมองของเรา
คือหากถ่ายทอดเรื่องราวออกมาแบบเรียบ ๆ ไม่มีจุดดราม่าออกซิโทซินในสมองจะไม่เพิ่มขึ้นทำให้เราไม่รู้สึกอะไรกับเรื่องราวที่เราได้ดู แต่หากเรื่องดังกล่าวถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบและบทให้มีความดราม่าจะส่งผลให้ออกซิโทซินในสมองมีปริมาณมากขึ้น เป็นสาเหตุให้เราเห็นใจและสงสารตัวละครจนหลั่งน้ำตาออกมานั่นเอง
4. เมื่อออกซิโทซินทำให้เราไม่อ่อนโยน
อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่า ออกซิโทซินเกี่ยวข้องกับความรัก ความผูกพัน และการเข้าสังคม แต่ถ้าหากมันไม่ทำหน้าที่แต่ในแง่ดีเพียงเท่านั้นล่ะ เพราะมันยังเป็นตัวการที่สร้างความขัดแย้ง และอคติกับคนที่เรารู้สึกว่าเขาไม่ใช่พวกของเรา จนเกิดการ Bully หรือการเหยียด และการคุกคาม หากฮอร์โมนนี้ทำให้เรารู้สึกเชื่อใจคนที่เรารัก มันก็ทำให้เรารู้สึกไม่ไว้ใจคนอื่น และสามารถทวีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นความเกลียดได้เช่นกัน
5. จะเกิดอะไรขึ้นหากฮอร์โมนออกซิโทซินต่ำลง
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าออกซิโทซินเป็นฮอร์โมนที่เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก หากคุณแม่มีฮอร์โมนนี้ลดลงเนื่องจากเกิดความรู้สึกเครียด วิตกกังวล หรือเหนื่อยอ่อน จะส่งผลให้สายสัมพันธ์ของแม่และลูกลดน้อยลง และยังส่งผลให้น้ำนมมีปริมาณน้อยลงตามไปด้วย
จะเห็นได้ว่า “ฮอร์โมนออกซิโทซิน” เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมทั้งด้านความรัก ความผูกพัน สายใยสัมพันธ์ของแม่กับลูก รวมไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์ต่อสังคม จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามันเป็นฮอร์โมนที่มีอิทธิพลต่อคนเราเป็นอย่างมาก
การสัมผัส หรือการสวมกอดจึงเป็นวิธีกระชับความสัมพันธ์ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ กระตุ้นให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้เพื่อให้รู้สึกปลอดภัย อบอุ่น และไว้ใจคนที่เรารักมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอ
9 บันทึก
16
4
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สุขภาพ โรคภัย การแพทย์
9
16
4
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย