Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Brain Club
•
ติดตาม
3 ม.ค. 2021 เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์
#8 The Brain Club : History
นักดิ่งพสุธาตัวกลม เหตุการณ์บีเวอร์กระโดดร่มในรัฐไอดาโฮ
ย้อนกลับไป 70 กว่าปีที่แล้ว เจ้าหน้าที่อนุรักษ์ป่าไม้ไอดาโฮ ได้ทำการปล่อยบีเวอร์ตัวอ้วนๆ ลงมาจากเครื่องบินพร้อมร่มชูชีพ
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประชากรบีเวอร์ในไอดาโฮเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกินการควรคุม บวกกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่ขยายเข้าไปในถิ่นที่อยู่ของพวกมันมากขึ้น จึงอาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา
จากปัญหาที่เกิดขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของ IFG ( Idaho Fish and Game ) หน่วยงานที่คอยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าของไอดาโฮ ต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาในครั้งนี้
เจ้าหน้าที่ของ IFG จับบีเวอร์ใส่ในกล่องไม้
จากการประชุมมีความเห็นว่า ควรย้ายประชากรบีเวอร์บางส่วนไปอยู่ที่อื่น
เอลเมอ เฮเตอร์ หนึ่งในเจ้าหน้าที่ของ IFG พบว่าแอ่งแชมเบอร์เลน เป็นสถานที่ที่สมบูรณ์แบบสำหรับบีเวอร์ พวกมันจะได้ใช้ชีวิตตามธรรมชาติ และอยู่ห่างไกลจากผู้คน
แต่ปัญหาคือแอ่งแชมเบอร์เลนตั้งอยู่ในภูเขาเมฆสีขาว ( White Cloud ) ที่รกร้างห่างไกล ไม่มีถนนสำหรับเดินทางไปถึง การจะขนเจ้าอ้วนเหล่านี้ทางพื้นดินทำได้ยากมาก และการเดินทางไกลอาจทำให้พวกมันตายเพราะถูกขังไว้ให้ห่างจากน้ำเป็นเวลานาน ดังนั้นทางเลือกที่จะประหยัดเวลาและเงินได้ดีที่สุด คือการขนทางอากาศ
ทะเลสาบแชมเบอร์เลน
โชคดีที่ IFG มีร่มชูชีพเหลือมาจากสงครามโลกให้ใช้สำหรับภารกิจสุดแปลกครั้งนี้ พวกเขาจับบีเวอร์มาใส่ในกล่องสี่เหลี่ยมที่ทำจากไม้วิลโลว์ มีรูให้อากาศถ่ายเท และมัดติดกับร่มชูชีพ
แต่มีความกังวลว่า พวกมันอาจจะกัดแทะกล่อง ในขณะที่อยู่บนเครื่องบินและตอนลอยอยู่บนฟ้า ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตราย
เจ้าหนาที่เฮเตอร์ จึงได้คิดค้นกล่องไม้ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษให้แข็งแรง และจะเปิดทันทีเมื่อมีการกระแทก เขาเลือกบีเวอร์เพศผู้ วัยชราตัวหนึ่งให้มาเป็นนักบินทดสอบของเขา โดยตั้งชื่อมันว่า " เจโรนิโม ( Geronimo ) "
มีการทดลองปล่อยเจโรนิโมลงบนสนามบินหลายครั้ง โดยในแต่ละครั้งมันสามารถออกมาจากกล่องได้อย่างปลอดภัย ดังนั้นทุกอย่างจึงพร้อมสำหรับการเริ่มภารกิจ
ภารกิจปล่อยตัวเริ่มต้นในปี 1948 โดยมีบีเวอร์ตัวอ้วนจำนวน 76 ตัวถูกปลอยลงมาจากเครื่องบิน
ในการปล่อยตัว เจ้าหน้าที่ต้องดูระยะห่างให้ดี เพื่อไม่ให้ร่มชูชีพลงไปติดบนต้นไม้ และพยายามปล่อยลงใกล้ๆ กับลำธารภายในระยะ 100 ฟุต โดยจะปล่อยตัวผู้และตัวเมียลงบริเวณใกล้ๆ กัน เพื่อที่พวกมันจะหากันเจอ และสามารถสืบพันธ์ต่อไปได้
สำหรับคนรักสัตว์ที่อ่านมาถึงตรงนี้ ไม่ต้องเป็นห่วงไป บีเวอร์ทุกตัวรอดชีวิตจากการผจญภัยครั้งนี้โดยไม่ได้รับอันตราย
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ชารอน คลาร์ก เจ้าหน้าที่ของ IFG ได้พบวิดีโอปฏิบัติการครั้งนั้นที่ถูกถ่ายเก็บไว้ จึงได้นำวิดีโอมาแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัล และเผยแพร่บนช่อง YouTube ทางการของ Idaho Fish and Game
รับชมวิดีโอ :
https://youtu.be/APLz2bTprMA
● Fact เพิ่มเติม
ปัญหาจำนวนประชากรที่มากเกินไปอาจไม่ใช่เหตุผลเดียวที่ทำให้เกิดภารกิจครั้งนี้
ในบริเวณที่มีบีเวอร์น้อย มักเกิดปัญหาเรื่องการกักก็บน้ำและการป้องกันน้ำกัดเซาะ เมื่อต้นปี ค.ศ. 1939 มีรายงานว่า รัฐบาลได้ทำการจับบีเวอร์จำนวนหนึ่งไปปล่อยในจุดที่ต้องการ เพื่อให้พวกมันช่วยสร้างเขื่อนเก็บน้ำตามธรรมชาติขึ้นมา
ที่มา :
1.
https://www.youtube.com/watch?v=NwwQj3oKDws
2.
https://time.com/4084997/parachuting-beavers-history/
3.
https://idfg.idaho.gov/about
4.
https://www.theguardian.com/us-news/2015/oct/22/idaho-historic-footage-parachuting-beavers
5.
https://en.wikipedia.org/wiki/Chamberlain_Basin
2 บันทึก
7
7
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
History : ประวัติศาสตร์
2
7
7
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย