10 ธ.ค. 2020 เวลา 12:00 • การศึกษา
จำนวนจริง (ตอนที่ 12) เรื่อง ตัวอย่างของจำนวนอตรรกยะ(ต่อ)
คราวที่แล้วเราคุยกันถึง ตัวอย่างของจำนวนอตรรกยะ ซึ่งเป็นเรื่องของ π วันนี้เราจะมาคุยกันต่อในเรื่อง ของ e ซึ่งเป็นจำนวนอตรรกยะที่เรารู้จักกันดี และถูกนำมาใช้ในหลายสาขาทั้งคณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
e ถูกเรียกว่า จำนวนของออยเลอร์ (Euler's number)เป็นค่าคงที่ทางคณิตศาสตร์ตัวหนึ่งที่เรารู้จักกันดี
ฟังก์ชั่นที่มีฐานเป็น e ยกกำลังตัวแปรเราเรียกว่า“ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล (Exponential Function)” หรือกรณีของ ลอการิทึมธรรมชาติ (Natural logarithm) ที่เรียกว่า ลอการิทึมฐาน e
e เป็นจำนวนอตรรกยะเพราะไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของเศษส่วนอย่างง่ายได้
e มีค่าประมาณ 2.7182818284590452353602874713527…….
เราสามารถคำนวณค่าของ e ได้หลายวิธีแต่ไม่มีวิธีใดที่สามารถคำนวณค่าของ e ได้แม่นยำที่สุด
 
ลองดูตัวอย่างการคำนวณครับ
การคำนวณค่า e
นอกจากนี้ยังมีวิธีการคำนวณแบบอื่นเช่นการคำนวณโดยใช้ factorial
การคำนวณค่า e โดยใช้ Factorial
คราวหน้าเราจะมาคุยกันต่อในเรื่องของจำนวนจริง (ตอนที่ 13) ตัวอย่างของจำนวนอตรรกยะ ครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา