12 ธ.ค. 2020 เวลา 01:25 • สุขภาพ
ทำไมหมอถึงไม่ทำอะไร ตอนคุณลุงปวด?
คำถามนี้ ถูกถามโดยภรรยาของคนไข้คนหนึ่ง ที่มีโอกาสได้ดูแล
คุณลุงป่วยเป็นโรคหัวใจรุนแรง มีไตวายต้องล้างไต ใส่ท่อช่วยหายใจอยู่ ทำให้พูดไม่ได้
1
นอนอยู่ในห้อง ICU
วันหนึ่ง คนไข้เกิดฟันมีปัญหา ต้องถอนฟัน หมอฟันจึงมาทำให้
หลังถอนฟัน คุณลุงมีอาการปวดมาก (ญาติบอก)
เนื่องจากคุณลุงพูดไม่ได้ จึงมีการรักษาเหมือนครไข้ปกติ
1
เมื่อญาติไปแจ้งว่า คนไข้ปวดฟัน....กลับถูกบอกว่า เดี๋ยวก็ดีขึ้น
1
เหตุการณ์วันนั้นผ่านไปได้ เกือบ 2 สัปดาห์ กว่าหมอจะได้คุยกับญาติคนนั้น
1
ในวันที่คุย ญาติเล่าเหตุการณ์ทุกอย่างแบบชัดเจนมาก เหมือนมันเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน
แล้วถามกับหมอว่า "ทำไม หมอถึงปล่อยให้คนไข้ปวด แล้วไม่ทำอะไร"
1
ในฐานะที่เราเป็นครู เราถึงกับหน้าชา...... เพราะอะไร การสอนของเราถึงไม่สามารถส่งต่อสิ่งนี้ได้เหมือนความรู้อื่นๆที่เราสอนไป
1
ก็มาพบเหตุผลข้อหนึ่ง คือ เราสอนให้คิดเรื่องโรคเยอะมาก จนบางครั้งลืมสอนความเห็นอกเห็นใจครอบครัวไป...
เคยอ่านเจอว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่สมองทำงานแบบใช้ความคิดวิเคราะห์ (สมองส่วน analytic thinking) สมองส่วนที่เป็น sympathic thinking จะทำงานลดลง
2
สมองสองส่วนนี้ เหมือนเป็นสวิชเปิด-ปิด ถ้าส่วนนึงทำงาน อีกส่วนนึงจะทำงานลดลง...
3
การสอนตลอด 6 ปีของการเรียนแพทย์ 3 ปีของการเรียนอายุรศาสตร์ เราสอนให้เขาคิด วิเคราะห์โรค วินิจฉัยโรค จำการรักษาต่างๆมากมาย จนหลักสูตรมีช่องว่างน้อยมากให้สอน Empathy
1
เราชื่นชมนักเรียนแพทย์ที่เก่ง คิดเป็น คะแนนดี แต่เราไม่มีโอกาสได้ชื่นชม นักเรียนแพทย์ที่ empathy ดี (เพราะสิ่งนี้สังเกตได้ยาก และครูอาจจะไม่รู้ถ้าไม่ได้ใกล้ชิด)
ไม่แปลกใจเลย ที่นักเรียนแพทย์คนหนึ่ง เมื่อ"ครั้งแรก"ที่ขึ้นวอร์ด และที่ได้พบคนไข้จริงๆ เค้าจะยังรับรู้ความรู้สึกของคนไข้ได้ดีอยู่ แต่เมื่อการเรียนผ่านไปเรื่อยๆ ความรู้ความสามารถที่มากขึ้น กลับทำให้เขารับรู้ความรู้สึกของคนไข้ได้ลดลง
1
แต่เราก็ไม่ต้องการหมอที่คิดไม่เป็น หรือหมอที่ analytic thinkingไม่ทำงาน แต่ทำงานแต่ empathic thinking เพราะนั่นเท่ากับว่า หมอไม่สามารถตรวจรักษาคนไข้ได้
1
แต่เราอยากให้หมอได้ฝึก switch กลับไปมาระหว่าง analyticและ empathic thinking
เปลี่ยนกลับไปมา ไปมาจนคล่อง
1
และเมื่อนั้น เราจะได้แพทย์ที่เป็น "คน" มี humanity เหมือนคำสมเด็จพระบิดา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา