10 ธ.ค. 2020 เวลา 07:03 • การศึกษา
แจกฟรีเพื่อการเรียนรู้และสอบ!? เท่านั้น
สรุปเนื้อหา CFP module 1😆
Part 1
1
Foundation of Financial and Tax planning🏁
CFP
การวางแผนทางการเงิน
ความหมาย
กระบวนการประเมินปรับปรุง การจัดหาและใช้ทรัพยากรเงินตามเป้าหมายของบุคคล เพื่อยกระดับมาตรฐานและความมั่นคงชีวิต เป็นLife-long activity and flexibility ตามลักษณะความสำคัญ
เชื่อมช่องว่างทางการเงิน เราอยู่ที่ใดในปัจจุบันกับ เราต้องการไปที่ใดในอนาคต ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดแต่ละบุคคล
Customer focus เน้นความต้องการผู้รับปรึกษาหลายด้านในคราวเดียว
1.รวบรวมข้อมูลรายบุคคล
2. กำหนดวัตถุประสงค์ 
3. ตรวจสอบฐานะการเงินปัจจุบัน​
4. กำหนดกลยุทธ์และแผนการเงินเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อนาคต
ต่างกันนิดหน่อย
องค์ประกอบ
1. วางแผนการลงทุน
ลงทุนเพื่อเพื่อความมั่งคั่ง เหตุผล อายุขัยยาวขึ้น รายได้โตสู้เงินเฟ้อไม่ได้
2. วางแผนวัยเกษียณ
การจัดหาเงินให้พอตามอัตภาพและฐานะเพื่อดำรงชีพ สันธนาการและสุขภาพที่ทรุดโทรมตามวัย หลังเกษียณจนสิ้นสุดอายุขัย โดยมิได้เป็นภาระต่อผู้อื่น
ความเข้าใจผิด
ไม่ต้องใช้เงินมากแก่แล้ว เริ่มใกล้ๆ2-3ปีก็พอ ผิด ควรเริ่มแต่เนิ่นๆจะง่ายขึ้น คิดว่ากองทุนปกส.และสำรองเลี้ยงชีพจะช่วยเหลือเพียงพอ ลูกหลานจะมาช่วยเหลือหลังเกษียณ ไม่จริง
1
3. วางแผนภาษี
3.1 Tax planning วางแผนภาษี  ศึกษาเงื่อนไขกม.ภาษี เพื่อให้มีภาระภาษีต่ำสุดหรือไม่มีเลย ถูกต้องครบถ้วนเกิดประสิทธิผล
3.2 Tax avoiding หลบหลีกภาษี  ใช้วิธีการถูกต้องตามกม.เพื่อไม่ให้เสียภาษีหรือเสียน้อยลงโดยใช้ช่องโหว่กม. (tax loopholes) เป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนภาษีอากร
3.3 Tax evasion หนีภาษีหรือเลี่ยงภาษี  ใช้วิธีการผิดกม. ฉ้อฉล ซึ่งมีผิดกม. เช่นการให้ข้อมูลภาษีเท็จ ทำบัญชี2เล่ม เจตนารับรู้รายได้น้อยกว่าจริง ปิดบังรายได้ หักลดหย่อนไม่ถูกต้อง
4. บริหารความเสี่ยงและวางแผนประกัน
4.1 Pure risk โอกาสผลลัพธ์สูญเสียอย่างเดียว ไม่มีทางดีเลย เช่น อุบัติเหตุ มะเร็ง ไฟไหม้ >> บริษัทประกันจะรับประกันส่วนนี้
4.2 Speculative risk โอกาสผลลัพธ์ทั้งบวกและลบ สูญเสียและได้มา เช่น ลงทุนทองคำเก็งกำไร
5. จัดทำงบการเงิน
งบประมาณส่วนบุคคลและการจัดการกระแสเงินสด
จัดทำงบการเงิน- ชี้สถานภาพการเงินแท้จริง ว่ามีปัญหาการเงินด้านใดบ้าง?
5.1 งบประมาณส่วนบุคคล – เทียบReal return กับ Expected return มาบรรลุไหม วัดความคืบหน้าการบรรลุเป้าหมายและประสิทธิภาพใช้จ่ายเงิน
5.2 การจัดการกระแสเงินสด – ดูสภาพคล่องและต้นทุนค่าเสียโอกาส
ความสำคัญของการวางแผนการเงิน
1. Comprehensive financial planning องค์รวม(5อปก.)
ครอบคลุมกิจกรรมการเงินทั้งหมด มั่นคงการเงินชีวิต เพียงพอใช้ตามอัตถภาพทางเศรษฐกิจแต่ละช่วงวงจรชีวิต
2. Special needs planning ตามเป้าหมายเฉพาะบุคคล วัตถุประสงค์เฉพาะ
การละเลยการวางแผนการเงิน
สาเหตุ
1. ตามสถานะการเงิน คนไม่มีเงินคิดว่าวางแผนไม่ได้ คนมีเงินไม่คิดว่าจะต้องวางแผน
2. ตามทัศนคติและความเชื่อ ไม่อยากรับรู้ละเลย ไม่ตรวจโรคไม่เจอโรค
ผลกระทบ
1. ไม่บรรลุเป้าหมาย เป็นภาระต่อตนเองและผู้อื่น
2. ปัญหาลำบากใช้ชีวิตหลังเกษียณ
3. ความสูญเสียทางการเงิน เหตไม่คาดฝัน อุบัติเหตุ ป่วยร้ายแรง ต้องใช้เงินก้อนใหญ่ ทำงานไม่ได้
ปัจจัยที่ทำให้การวางแผนการเงินสำคัญ
1. เศรษฐกิจปรับตัวรุนแรง ตกงานได้ทันที ไม่แน่นอน ไม่มั่นคง
2. โครงสร้างประชากรเปลี่ยน อายุขัยมากขึ้น ผู้สูงอายุมากขึ้น ต้องวางแผนเกษียณมากขึ้น
3. ยกเลิกคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนโดยรัฐ ดอกเบี้ยต่ำ กระจายการลงทุนไปสินทรัพย์อื่น
4. ตราสารการเงินปัจจุบันซับซ้อนยิ่งขึ้น
5. การขยายขอบเขตของธุรกิจสถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร universal banking Bank assuranceประกันควบ , ธุรกิจประกัน รับฝากเงินในรูปประกันสะสมทรัพย์ ให้กู้แก่ผู้ซื้อประกัน ออก Unit link ครบวงจร
กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการเงิน
1. ธนาคาร – จนท.ธนบดีธนกิจ
2. บ.ประกัน – ตัวแทน
3. บ.หลักทรัพย์ – จนท.การตลาด
4. บลจ.กองทุน – ผู้ขายนลท., ผจก.กองทุน
🤸🤸‍♀️🤸‍♂️
🤑ดอยอะไรก็ติดได้..แต่อย่าติดดอยชีวิต🤑วางแผนไว้ก่อน..รู้รอดเป็นยอดดี
1
หมอลงทุน
FA Sayamon S.
Finnomena ref 116407
ติดต่อแนะนำการลงทุนได้ที่..สมัครเลย!
♥️ใครชอบบทความดีๆแบบนี้ ♥️
รบกวนกด Like กดแชร์ เป็นกำลังใจให้กัน ส่งต่อความรู้ดีๆ ให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกคนน้า
blockdit หมอลงทุน
facebook หมอลงทุน
...
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน
โฆษณา