20 ธ.ค. 2020 เวลา 05:48 • การศึกษา
การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับวางแผนการเงิน
Outline
●การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล
1. วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
1.1 ความต้องการขั้นพื้นฐาน
1.2 การจัดการความเสี่ยงและทำประกัน
1.3 ข้อมูลการลงทุน
1.4 ข้อมูลการออมเพื่อวัยเกษียณ
2. วิเคราะห์โครงสร้างทางการเงิน common size analysis
2.1 งบดุล
2.2 งบกระแสเงินสด
3. วิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน financial ratio analysis
3.1 สภาพคล่อง
3.2 ภาระหนี้สิน
3.3 ความสามารถออมและลงทุน
4. วิเคราะห์เป้าหมายทางการเงิน
4.1 ค่าใช้จ่ายบรรลุเป้าหมาย
4.2 งบประมาณรายรับรายจ่ายล่วงหน้า
●วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
1. ความต้องการขั้นพื้นฐาน
1.1 อายุ - วงจรชีวิต สะสม20-25ปี-มั่นคง30-40ปี-อุทิศ 45ปี+
1.2 สถานภาพสมรส - ความรับผิดชอบ
1.3 พฤติกรรม - เหล้าบุหรี่ แนวโน้ม
1.4 โรคประจำตัว - ประกัน
1.5 งานอดิเรก - ความเสี่ยง ท่องเที่ยว ดำน้ำ ประกันเพิ่ม
1.6 ผู้อยู่ในอุปการะ - ภาระ ความรับผิดชอบ
2. การจัดการความเสี่ยงและทำประกัน - ความเสี่ยง
2.1 Personal risk
(1) ชีวิต -​ risk of premature deathตายก่อน, risk of old age อยู่นานไป
(2)สุขภาพ -​ risk of poor health
(3)การงาน risk of unemployment
2.2 Liability risk ภาระผูกพันอนาคต
2.3 Property risk ทรัพย์สินในครอบครองเสียหาย
3. ข้อมูลการลงทุน
3.1 Willingness and Ability to take risk
3.2 Return ผลตอบแทนที่คาดหวัง
3.3 Diversify การกระจายความเสี่ยง
3.4 Time-bound ระยะเวลาลงทุน
3.5 Liquidity สภาพคล่อง
4. ข้อมูลการออมเพื่อวัยเกษียณ
4.1 ความคาดหวังวัยเกษียณ จำนวนเงินเพียงพอและสอดคล้องกับเป้าหมาย
4.2 ระยะเวลาในการออมเงิน
4.3 แหล่งเงินออมเพื่อวัยเกษียณมีอะไรบ้าง
Common size analysis
ทำทุกอย่างเป็น % เทียบเฉยๆ
1. งบดุลส่วนบุคคล
personal Balance sheet
---- เทียบ สินทรัพย์รวม Total Assets 100%
2. งบกระแสเงินสดส่วนบุคคล
personal statement of cashflow
---- เทียบรายรับรวม Total cash inflow 100%
- รายรับ % เงินเดือนหรือธุรกิจอิสระ อันไหน % มากกว่ากัน?
- %เงินเดือนมากกว่า >> รายได้สม่ำเสมอ แต่ต้องระวังตกงาน
- %ธุรกิจอิสระมากกว่า >>รายได้ผันผวน
รายจ่าย% เทียบค่าใช้จ่ายคงที่ กับ ค่าใช้จ่ายผันแปร และ ค่าใช้จ่ายออมและลงทุน
%ค่าใช้จ่ายคงที่ สูง >> ข้อจำกัดชีวิตเยอะ ระวังขาดสภาพคล่อง ออมและลงทุนได้ต่ำ
- %ค่าใช้จ่ายผันแปร สูง>>อาจใช้เงินฟุ่มเฟือย มีค่าเสียโอกาสหารายได้สูง
- %ค่าใช้จ่ายออมและลงทุนสูง >> หากมีค่าใช้จ่ายคงที่ต่ำกว่าผันแปร >> มีอิสระทางการเงินสูง
- %ค่าใช้จ่ายออมและลงทุนสูง >> หากมีค่าใช้จ่ายคงที่สูงกว่าผันแปร >> อาจมีข้อจำกัดบางอย่าง แต่กำลังดีขึ้น โอกาสออมและลงทุนสูง
Financial Ratio analysis
ดูสภาพคล่อง
1.อัตราส่วนสภาพคล่อง
2.อัตราส่วนสภาพคล่องพื้นฐานหรือเงินสำรองฉุกเฉิน
3.อัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องต่อความมั่งคั่งสุทธิ
1)สินทรัพย์สภาพคล่อง/หนี้สินระยะสั้น
2)สินทรัพย์สภาพคล่อง/กระแสเงินสดจ่ายต่อเดือน
3)สินทรัพย์สภาพคล่อง/ความมั่งคั่งสุทธิ
I.ควร > 1 เท่า คืออย่างน้อยสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสามารถจ่ายหนี้สินอันใกล้ได้
II.ควร 3-6 เท่าขึ้นไป ถึงสภาพคล่องเหมาะสม เผื่อใช้จ่ายเวลาตกงาน 3-6 เดือน เช่น เงินสำรอง 100,000บาท/ค่าใช้จ่ายเดือนละ 20000 บาท = 5 เท่า อยู่ได้ 5 เดือน OK
III.ควร > 15% สัดสภาพคล่องต่อมั่งคั่งสุทธิดี
ดูหนี้สิน
4.อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ Debt to asset ratio
5.อัตราส่วนการชำระคืนหนี้สินจากรายได้ Debt service ratio
6.อัตราส่วนการชำระคืนหนี้สินที่ไม่ใช่การจดจำนองจากรายได้ non-mortage service ratio 4)หนี้สินรวม/สินทรัพย์รวม
5)เงินชำระคืนหนี้สิน/รายรับรวม
6)เงินชำระคืนหนี้สินไม่รวมจดจำนอง/รายรับรวม
IV.>50% สินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้สินหากมีปัญหาในอนาคต
V.แปลว่าความสามารถชำระหนี้ CFเงินผ่อนทั้งหมดหารCFรายได้รวม ควรอยู่ range 35%-45% หากน้อยกว่า 35% ควรชำระคืนหนี้สิน เงินเหลือ หากมากกว่า 45% คือผ่อนไม่ไหวระวังล้มละลาย
VI.แปลว่าความสามารถชำระหนี้ CFเงินผ่อนทั้งหมดไม่รวมผ่อนบ้านหารCFรายได้รวม ควรอยู่ range 15%-20% หากน้อยกว่า 15% มีเสถียรภาพการเงิน หากมากกว่า 20% คือไม่มั่นคงทางการเงิน มัวแต่ผ่อนสิ่งที่มูลค่าหมดไป ไม่เป็นสมบัติทรัพย์สิน เช่น รถ สินค้าฟุ่มเฟือย
ดูการออมและลงทุน
7.อัตราส่วนการออม
8.อัตราส่วนการลงทุน
>10% ควรลงทุนสกุลเงินตปท. 7)เงินออม/รายได้รวม
8)สินทรัพย์ลงทุนรวม/ความมั่งคั่งสุทธิ VII.>10% ออมดี
VIII.>50% ลงทุนดี การเงินมั่นคง
Solvency ratio = ความสามารถชำระหนี้คืนระยะยาว (ทั้งหมด) = ความมั่งคั่งสุทธิ/สินทรัพย์รวม ; >50% ดี มั่งคั่งมากกว่าหนี้สินทั้งหมด
🤸🤸‍♀️🤸‍♂️
🤑ดอยอะไรก็ติดได้..แต่อย่าติดดอยชีวิต🤑วางแผนไว้ก่อน..รู้รอดเป็นยอดดี
หมอลงทุน
FA Sayamon S.
Finnomena ref 116407
ติดต่อแนะนำการลงทุนได้ที่..สมัครเลย!
♥️ใครชอบบทความดีๆแบบนี้ ♥️
รบกวนกด Like กดแชร์ เป็นกำลังใจให้กัน ส่งต่อความรู้ดีๆ ให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกคนน้า
blockdit หมอลงทุน
facebook หมอลงทุน
...
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน
โฆษณา