11 ธ.ค. 2020 เวลา 23:30 • สุขภาพ
เกรลินฮอร์โมน คืออะไร?
1
ความหิวนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?
เกรลินฮอร์โมน คืออะไร?
ความหิวนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจากสภาพจิตใจ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ ร่างกายกายของเราจะมีกระบวนการหลั่งฮอร์โมนความหิวเกิดขึ้น หรืออีกอย่างหนึ่งที่เรียกเป็นทางการว่า “เกรลิน” (Ghrelin hormone)
กระบวนการเกิด เกรลิน
เกรลินถูกหลั่งออกมาจากเซลล์กระเพาะอาหารและส่งสัญญาณไปที่สมองทำให้เรารู้สึกอยากกินอาหารต่าง ๆ โดยช่วงนั้นระดับของเกรลินจะขึ้นสูงและลดลงโดยใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง หลังรับประทานอาหาร
ดั้งนั้นวิธีการที่จะจัดการกับความหิวที่ได้ผลที่ต้นตอก็คือ พยายามควบคุมเจ้าเกรลินให้ไม่สูงเกินไป และไม่ถูกหลั่งออกมาเร็วเกินไป
เกรลินควบคุมได้อย่างไร?
เพิ่มโปรตีนดีในมื้ออาหาร พบว่าการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนดีสูง เช่น ไข่ขาว ปลา ถั่ว จะช่วยยับยั้งการหลั่งของเกรลิน ได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทานในมื้อเช้า
หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เพราะว่ามื้ออาหารที่มีไขมันสูง จะส่งผลยับยั้งฮอร์โมนหิวหรือเกรลินได้ไม่ดีเท่าอาหารไขมันต่ำ นั่นหมายความว่า ยิ่งรับประทานอาหารมัน ๆ มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งหิวง่ายขึ้นเท่านั้น
อย่านอนดึก การนอนหลับไม่เพียงพอส่งผลกระตุ้นการผลิตของเกรลิน ลองสังเกตดูว่าในวันที่คุณนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ นอกจากจะง่วงเพลียแล้ว ยังมักจะหิวและกินเก่งขึ้นด้วย
รับประทานมื้อเล็ก แต่บ่อยขึ้น การแบ่งอาหารเป็นมื้อที่เล็กลง แต่บ่อยขึ้นเป็นทุก 3 - 4 ชั่วโมง จะช่วยกระตุ้นเปปไทด์ YY3 - 36 ซึ่งจะไปยับยั้งการหลั่งของเกรลินอีกต่อหนึ่ง แถมการทานมื้อเล็กๆก็จะช่วยเพิ่มให้ร่างกายได้เผาผลาญพลังงานอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
หาทางจัดการกับความเครียด เช่น ออกกำลังกาย นวด นั่งสมาธิ ฟังเพลง ในเวลาที่เรามีความเครียดหรือวิตกกังวล
#สาระจี๊ดจี๊ด
เกรลินจะถูกผลิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เราหิวง่ายขึ้นในยามเครียดนั่นเอง
การปล่อยให้ร่างกายเผชิญภาวะเลปตินและเกรลินเสียสมดุลประจำ อาจเป็นเหตุนำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs เช่น โรคเบาหวานประเภทที่ 2 ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกิน กลุ่มคนที่มักติดนิสัยกินเร็ว เพราะต้องทำงานแข่งกับเวลา จึงเวลามื้อเช้าและมื้อกลางวันไม่กี่นาที
เมื่อการกินเร็วทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เพราะเรากินหมดก่อนที่ร่างกายจะส่งข้อมูลไปยังหน่วยรับอินซูลินได้ทันว่าเกรลินหยุดทำงานแล้ว อินซูลินจึงยังถูกส่งออกมาต่อเนื่องทั้งที่ระดับน้ำตาลลดลงแล้ว
เท่ากับว่าการกินเร็วคือการใช้อินซูลินไปโดยเปล่าประโยชน์
ส่วนการกินเยอะเกินไปเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ร่างกายจึงต้องเร่งผลิตอินซูลินเพื่อลดน้ำตาลเหล่านี้
ในระยะยาวพฤติกรรมนี้ยังทำให้การหลั่งอินซูลินผิดปกติ เซลล์ต่างๆ จึงเสื่อมสภาพ ซึ่งเป็นต้นเหตุของความแก่
ส่วนน้ำตาลส่วนเกินในกระแสเลือดจะถูกอินซูลินเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในตับและเนื้อเยื่อ จึงทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นและกลายเป็นโรคอ้วนในที่สุด
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา