Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
13 ธ.ค. 2020 เวลา 12:00 • ศิลปะ & ออกแบบ
ศิลปะบำบัด (Art Therapy) คืออะไร?
ศิลปะบำบัดช่วยได้อย่างไร?
ใครบ้างที่เหมาะกับศิลปะบำบัด?
ศิลปะบำบัด (Art Therapy) คืออะไร?
ศิลปะบำบัด (Art Therapy) คือ วิธีการเยียวยาด้วยการนำเทคนิคที่อาศัยการแสดงออก ความคิดสร้างสรรค์ การมองและตีความศิลปะ เพื่อช่วยให้คน
1
ได้ค้นหาและเปิดรับกับสภาวะอารมณ์ของตัวเอง
ได้รับรู้ (Self-Awareness)
ได้ดูแลจัดการความเครียด
ได้ดูแลความภูมิใจ ความมั่นใจของตนเอง (Self-Esteem)
และได้ทักษะทางสังคม
โดยสมาคมนักศิลปะบำบัดของอเมริกา (The American Art Therapy Association) ได้อธิบายเกี่ยวกับศิลปะบำบัดไว้ว่าเป็นวิธีการที่ใช้กระบวนการทางศิลปะ เพื่อเพิ่มสุขภาวะทางใจ ร่างกาย และอารมณ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผลงานที่สร้างสรรค์ได้ช่วยให้ผู้คนได้ค้นพบ แสดงออก และรู้จักกับทางเลือกใหม่ ๆ ในการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง รวมทั้งพัฒนาตนเองด้วย
กระบวนการศิลปะบำบัดสามารถรวมไปถึงการวาดภาพ ระบายสี การปั้น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นไปได้อีกมากมาย
เช่น...
การใช้ดนตรี ถ่ายภาพ การแสดงและการละคร เป็นต้น
ซึ่งการแสดงออกเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถมองเห็นความคิด อารมณ์ และการแสดงออกได้แตกต่างกันไป
คนทั่วไปที่ไม่มีความรู้หรือทักษะเกี่ยวกับศิลปะเหล่านั้นก็สามารถทำกิจกรรมศิลปะบำบัดได้ และศิลปะบำบัดมีไว้สำหรับคนทั่วไป
❌ ความเข้าใจผิดอีกสิ่งหนึ่งคือผู้ที่จะมาทำกิจกรรมศิลปะบำบัดจะต้องเป็นผู้ป่วยทางจิตเวช หรือมีอาการป่วยทางจิต หรือเป็นโรคซึมเศร้าเท่านั้น
ศิลปะบำบัดช่วยได้อย่างไร?
นักศิลปะบำบัดจะมีเครื่องมือหลายอย่างที่แตกต่างกันออกไป โดยคนที่มีปัญหาเรื้อรังเกี่ยวกับสภาวะทางอารมณ์ การถูกทารุณกรรมทางกาย การล่วงละเมิด ความเครียด รวมถึงอาการซึมเศร้า หรือปัญหาทางจิตบางประเภท สามารถได้รับประโยชน์จากการแสดงความคิดสร้างสรรค์จากพวกได้
การได้สร้างสรรค์ศิลปะและผ่านกระบวนการทางศิลปะบำบัดจะช่วยให้คุณได้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก และการเข้าใจตนเองผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้มากขึ้น โดยคนที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะบำบัดจะประหลาดใจถึงความแตกต่างของกิจกรรมศิลปะบำบัดกับห้องเรียนศิลปะทั่ว ๆ ไป
เพราะโรงเรียนศิลปะทั่วไปนั้นเน้นการสอนเทคนิค เพื่อสร้างผลงานให้เสร็จและมีความสวยงาม แต่ศิลปะบำบัดจะมุ่งเน้นให้คุณได้แสดงออกถึงประสบการณ์ภายใน อารมณ์ความรู้สึก โดยที่คุณจะสามารถทำทุกอย่าง แสดงออกผ่านความรับรู้ของตนเอง จิตนาการ และแสดงความรู้สึกได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ในกระบวนการศิลปะบำบัดการแสดงออกถึงโลกภายในของคุณเองนั้นจะมีคุณค่า และความหมายมากกว่า การได้ทำศิลปะที่โลกภายนอกยอมรับ
ใครบ้างที่เหมาะกับศิลปะบำบัด?
ศิลปะบำบัดเป็นกิจกรรมที่หาได้ยาก โดยหลายกลุ่มคนสามารถได้รับประโยชน์จากศิลปะบำบัดได้เช่น
กลุ่มคนที่มีปัญหาทางจิตใจ มีหลากหลายหน่วยงานที่แนะนำเรื่องการนำศิลปะบำบัดไปใช้เพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้เช่นกลุ่มอาการ Schizophrenia เป็นต้น
1. ผู้ที่เผชิญกับความยากลำบาก ศิลปะบำบัดสามารถช่วยเหลือให้เกิดการเรียนรู้กับความยากลำบากในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะสำหรับคนที่อาจรู้สึกยากในการแสดงเรื่องราวเหล่านั้นออกมาเป็นคำพูด หรือแสดงออกในความรู้สึกเหล่านั้น
2. คนที่ทำงานซ้ำซากติดต่อเป็นเวลานาน คนที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง และใช้ทักษะเฉพาะอย่างที่ซ้ำซากติดต่อเป็นเวลานาน จะได้รับประโยชน์ในการทำศิลปะบำบัดแบบกลุ่มที่จะช่วยให้พวกเขาได้รู้จักและเรียนรู้การเข้าสังคม การแสดงออกในมิติทางความรู้สึกหรือเรื่องราวได้
3. ผู้ที่รู้สึกยากลำบากในการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก การใช้ศิลปะสำหรับแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก จะช่วยทำให้กลับไปเรียนรู้อารมณ์ความรู้สึก โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องเข้าไปเรียนรู้เรื่องคำพูดที่เชื่อมโยงกับอารมณ์เหล่านั้น
4. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ผู้ต้องขัง หรือนักโทษต่าง ๆ สามารถใช้กระบวนการศิลปะบำบัดในการแสดงออกทางความรู้สึกเพื่อให้เข้าถึงอิสรภาพ และดูแลอารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้นได้
5. ผู้ที่มีหน้าที่บำบัดเยียวยาหรือรักษาผู้อื่น แพทย์ พญาบาล นักจิตวิทยาให้คำปรึกษา และกลุ่มผู้เยียวยาที่มักจะได้รับฟังเรื่องราวที่สะเทือนความรู้สึก อาจต้องมีการดูแลตัวเองจากศิลปะบำบัด เพื่อให้ตนเองได้ผ่อนพัก และเยียวยาตนเองเป็นระยะจากศิลปะบำบัด เพื่อลดความเครียดสะสม
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
แหล่งที่มา
https://www.urbinner.com/post/what-is-art-therapy
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
5 บันทึก
13
7
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สุขภาพ โรคภัย การแพทย์
Sleep Rest Relaxation
5
13
7
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย