Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
14 ธ.ค. 2020 เวลา 12:00 • สุขภาพ
โรคฮิสทีเรีย (Hysteria) คืออะไร?
โรคฮิสทีเรีย (Hysteria) คือ โรคขาดผู้ชายไม่ได้จริงหรือ?
2
โรคบุคลิกภาพเรียกร้องความสนใจ (Histrionic Personality Disorder : HPD) คืออะไร?
อาการที่เข้าข่ายโรคฮีสทีเรียเป็นแบบไหน?
สาเหตุ การป้องกัน การรักษา ฮิสทีเรีย?
1
โรคฮิสทีเรีย (Hysteria)
โรคฮิสทีเรีย (Hysteria) คือ โรคทางจิตเวชประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์ หรือควบคุมความวิตกกังวลของตัวเองไม่ค่อยได้ รวมถึงความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองก็ทำได้ไม่ดีเท่าคนปกติเช่นกัน
1
#สาระจี๊ดจี๊ด
โรคประสาทฮิสทีเรียและบุคลิกภาพผิดปกติแบบฮิสทีเรีย ในทางแพทย์จีนเรียกชื่อว่า อี้เจิ้ง (癔症)
1
โรคฮิสทีเรีย (Hysteria) คือ โรคขาดผู้ชายไม่ได้จริงหรือ?
❌ หลายคนอาจคิดว่าโรคฮิสทีเรีย (Hysteria) คือโรคขาดผู้ชายไม่ได้ หรือโรคของคนที่มีความต้องการทางเพศสูง
แต่!
ความจริงแล้ว...
"โรคฮิสทีเรียไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับความต้องการทางเพศหรือการขาดผู้ชายไม่ได้"
โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของบุคลิกภาพ โดยจะมีการแสดงออกทางอารมณ์ และท่าทางมากเกินกว่าปกติ เพื่อดึงดูดความสนใจ
#สาระจี๊ดจี๊ด
โรคฮิสทีเรีย (Histeria) หรือ HPD คือ กลุ่มความผิดปกติทางจิตที่เรียกว่า “Cluster B” หมายถึง ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติในหมวดหมู่นี้จัดอยู่ในประเภททั่วไปว่าดราม่า อารมณ์แปรปรวน หรือเอาแน่เอานอนไม่ได้
ฮิสทีเรีย หรือ HPD เป็นโรคความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่อาจแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ...
1. โรคประสาทฮิสทีเรีย (Conversation Reaction)
2. บุคลิกภาพผิดปกติแบบฮิสทีเรีย (เรียกร้องความสนใจ) (Histrionic Personality Disorder)
อาการที่เข้าข่ายโรคฮีสทีเรียเป็นแบบไหน?
1. โรคประสาทฮิสทีเรีย (Conversation Reaction)
ผู้ป่วยจะมีความขัดแย้งทางจิตใจอย่างรุนแรงจนส่งผลให้เกิดความผิดปกติในด้านการเคลื่อนไหว หรือการรับรู้ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดไม่ได้ ไม่ได้ยินเสียง มองไม่เห็น เป็นต้น
1
โดยอาการจะกำเริบเมื่อเกิดความขัดแย้งทางจิตใจอย่างรุนแรง แต่เมื่อผู้ป่วยตรวจร่างกายอาจจะไม่พบความผิดปกติใด ๆ เพราะเกิดจากจิตใจของผู้ป่วยเองไม่ได้มากจากโรคจริง ๆ นั่นเอง
3
2. โรคบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย (Histrionic Personality Disorder: HPD)
1
จะสามารถพบได้บ่อยกว่าโรคประสาทฮิสทีเรีย โดยมีอาการ ดังนี้...
- ต้องการเป็นจุดเด่น หรือจุดสนใจ หากไม่ได้รับความสนใจจะโมโห
1
- อารมณ์แปรปรวนง่าย รู้สึกเบื่อ หรือหงุดหงิดง่าย และมักแสดงอารมณ์ออกมาอย่างทันทีทันใด
- ไม่นึกถึงความรู้สึกของผู้อื่น หรือไม่ค่อยแสดงความห่วงใย ไม่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
- อาจทำร้ายตัวเอง หรือมีพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจที่ไม่สนว่าการกระทำนั้นจะส่งผลกะทบต่อผู้อื่นหรือไม่
1
- การแสดงออกดูเหมือนยั่วยวน พยายามเข้าหาผู้อื่น โดยเฉพาะเพศตรงข้าม ด้วยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และใช้ลักษณะภายนอกของตนเองดึงดูดความสนใจจากผู้อื่น เช่น ชอบแต่งตัวยั่วยวนเพื่อให้ตนเองเป็นจุดสนใจ
2
- แสดงอารมณ์ ลักษณะท่าทางและการพูดเกินจริง โดยอาจมีลักษณะท่าทางและการพูดเหมือนกำลังเล่นละคร
4
- คล้อยตามสถานการณ์หรือถูกผู้อื่นโน้มน้าวได้ง่าย
- แสดงออกถึงความสนิทสนมกับผู้อื่นมากเกินจริง คิดไปเองว่าสนิทสนมกับอีกฝ่าย ทั้งที่อีกฝ่ายอาจไม่ได้รู้สึกสนิทใจด้วย
2
- ด่วนตัดสินใจ ละเลยการไตร่ตรองเหตุผลอย่างรอบคอบ
- ไม่อาจรักษาความสัมพันธ์ให้ยืนยาว มักแสดงพฤติกรรมที่ดูไม่จริงใจ หรือมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นเพียงผิวเผิน
- ขู่ว่าจะฆ่าตัวตาย เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
2
#สาระจี๊ดจี๊ด
ผู้หญิงได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการฮิสทีเรียมากกว่าผู้ชาย อายุที่ป่วยครั้งแรกพบได้บ่อยที่สุดคือช่วงอายุ 20-30 ปี ร้อยละ 60-80 ของผู้ป่วยอาการสามารถดีขึ้นเองภายใน 1 ปี
1
สาเหตุของฮิสทีเรีย?
ในปัจจุบันแพทย์ยังไม่อาจอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดบุคลิกภาพผิดปกติแบบฮิสทีเรียได้อย่างแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องบางประการ ได้แก่
- พันธุกรรม : ผู้ที่บุคคลในครอบครัวมีบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรียอาจเสี่ยงมีบุคลิกภาพเช่นเดียวกันนี้มากกว่าคนอื่น ๆ
- การเรียนรู้ : โดยเฉพาะเด็กที่สมาชิกในครอบครัวมีบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย อาจเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรมโดยไม่รู้ตัว
- ลักษณะการเลี้ยงดู : เด็กที่เติบโตโดยไม่ได้รับการอบรมอย่างเหมาะสมหรือไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร อาจเสี่ยงมีบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรียได้ เช่น เด็กที่ไม่เคยถูกตักเตือนหรือลงโทษเมื่อทำผิด เด็กที่ไม่ได้รับการเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
- ปัจจัยส่วนบุคคล : เช่น ลักษณะทางจิตวิทยา วิธีจัดการกับอารมณ์และความเครียดของแต่ละคน เป็นต้น
การวินิจฉัยฮิสทีเรีย
ผู้ป่วยโรคนี้มักทราบว่าตนเองมีบุคลิกภาพผิดปกติแบบฮิสทีเรียจากการไปพบแพทย์เพื่อรักษาอาการป่วยอื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า ซึ่งหากพบว่ามีสัญญาณของบุคลิกภาพที่ผิดปกติ แพทย์จะวินิจฉัยด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
1
- สอบถามประวัติทางการแพทย์ : เช่น อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น รวมถึงสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกและบุคลิกภาพโดยรวม
- ตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการ : เช่น การวินิจฉัยจากภาพถ่ายระบบประสาท (Neuroimaging) หรือการตรวจเลือดเพื่อตัดสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอาการลักษณะเดียวกันออกไป
- พบจิตแพทย์ : หากผลตรวจร่างกายและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบความผิดปกติทางร่างกายใด ๆ แพทย์จะส่งตัวผู้ป่วยไปให้จิตแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการผิดปกติทางจิต โดยใช้คำถามสำหรับวินิจฉัยอาการป่วยทางจิตโดยเฉพาะ จากนั้นจึงเสนอแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
การรักษาฮิสทีเรีย
บุคลิกภาพผิดปกติแบบฮิสทีเรียรักษาได้ด้วยการใช้ "จิตบำบัด" ซึ่งเป็นการพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อหาสาเหตุของการแสดงพฤติกรรมผิดปกติ และช่วยปรับกระบวนการคิดและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยพฤติกรรมอันเหมาะสม
ภาวะแทรกซ้อนของฮิสทีเรีย
ผู้ที่มีบุคลิกภาพผิดปกติแบบฮิสทีเรียอาจเสี่ยงเกิด "ภาวะซึมเศร้า" มากกว่าคนปกติ เนื่องจากบุคลิกภาพที่ผิดปกติจะส่งผลกระทบต่อการรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่น ผู้ป่วยอาจรับมือกับความสูญเสียหรือความผิดหวังไม่ได้ รวมถึงนิสัยเบื่อหน่ายง่ายและมีความอดทนต่ำที่อาจส่งผลให้เปลี่ยนงานบ่อย นอกจากนี้ บางรายอาจต้องการความตื่นเต้น จนทำให้ต้องเผชิญเรื่องเสี่ยงอันตรายอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ทั้งสิ้น
การป้องกันฮิสทีเรีย
บุคลิกภาพผิดปกติแบบฮิสทีเรียนั้น "ยาก" ที่จะป้องกันได้ เนื่องจากยังไม่พบสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติอย่างแน่ชัด
#สาระจี๊ดจี๊ด
อย่างไรก็ตาม "การเลี้ยงดูเอาใจใส่" ให้เด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสม และรู้จักจัดการกับความเครียดหรือความผิดหวังด้วยวิธีการที่ถูกต้อง อาจเป็นแนวทางลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดบุคลิกภาพผิดปกติชนิดฮิสทีเรียที่พอจะทำได้
1
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
บรรณานุกรม (Referance) / แหล่งที่มา
https://cutt.ly/Ol2C7X0
https://cutt.ly/8l2C9NP
https://bupa.co.th/histeria-0290
https://cutt.ly/3l2CNeP
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
64 บันทึก
118
23
56
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สุขภาพ โรคภัย การแพทย์
64
118
23
56
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย