Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ออมให้เงินโต แบบเข้าใจง่ายๆ
•
ติดตาม
19 ธ.ค. 2020 เวลา 02:44 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ออมให้เงินโต ภาคกองทุนรวม EP31
“กองทุนหุ้นต่างประเทศตอนที่ 3 เลือกกองทุนหุ้นอเมริกา”
สวัสดีครับ เมื่อเรารู้จักดัชนีหุ้นทั้งอเมริกาและจีนแล้ว แน่นอนว่าเราจะลองไปเลือกกองทุนที่ลงทุนในดัชนีของทั้ง 2 ประเทศกัน ซึ่งผมขออนุญาตเลือกกองทุนที่ไปลงทุนในหุ้นประเทศอเมริกาเป็นตัวอย่างให้ดูแค่ประเทศเดียวนะครับ
และก่อนหน้าที่เราจะไปเลือกกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศกัน เรามารู้จักคำศัพท์และเคล็ดลับเล็กน้อยๆกันก่อนนะครับ
1. กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศเราจะเรียกว่า Foreign Investment Fund หรือ FIF ซึ่ง FIF เนี่ยเป็นคำเรียกแบบรวมๆของกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศมากกว่า 80% ของ NAV ซึ่งกองทุนนั้นจะไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศกี่กองทุนก็ได้
แต่ถ้ามีการไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศเพียงกองทุนเดียวมากกว่า 80% ของ NAV เราจะเรียกกองทุน FIF นั้นแบบเฉพาะเจาะจงว่า Feeder Fund ส่วนกองทุนที่ FIF ไปลงทุนเราจะเรียกว่า Master Fund หรือเรียกกันแบบสะดวกปากได้ว่ากองทุนแม่ หรือ กองทุนปลายทาง
2. ถ้า Feeder fund นั้นๆไปลงทุนในกองทุน ETF ที่ลงทุนในดัชนี เราจะถือว่ากองทุนนั้นเป็นกองทุนดัชนี เนื่องจากกองทุน ETF ทุกกองจะลงทุนแบบ Passive ในสินทรัพย์ที่ไปลงทุน
3. นโยบายการลงทุนของกองทุน FIF ให้ดูที่นโยบายการลงทุนของกองทุนแม่ (Master Fund) เป็นหลัก เพราะนโยบายของตัว FIF เองมักจะบอกว่าลงทุนให้ได้ผลตอบแทนตามกองทุนแม่ (Passive) แต่ถ้ากองทุนแม่ลงทุนแบบ Active ให้ถือว่ากองทุนนั้นลงทุนแบบ Active
4. ในการเปรียบเทียบ เราจะไม่แยกกองทุน Passive กับ Active แบบตอนที่เราคัดกองหุ้นไทยนะครับ เพราะจำนวนกองทุนมีน้อย แต่เราจะให้คะแนนความเสี่ยงของกองทุน Passive ว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่ากอง Active
5. ข้อมูลบางอย่างใน Fund Fact Sheet อาจจะไม่มีบอกตรงๆ แต่เราสามารถรู้ได้แบบอ้อมๆ เช่น การกระจุกตัวในผู้ออกหุ้นรายตัว (Issuer) ถึงบางกองทุนจะไม่บอก แต่เรารู้ได้ด้วยการดูสัดส่วนการลงทุนในหุ้น 5 อันดับแรก ถ้าเจอว่าหุ้นที่กองทุนถือมากสุดนั้นมีสัดส่วนไม่ถึง 10% เราก็รู้ละว่า การกระจุกตัวในผู้ออกมันไม่เกิน 10%
3
ส่วนการกระจุกตัวรายอุตสาหกรรมก็ใช้วิธีเดียวกันคือ ถ้า Fund Fact Sheet ไม่บอก เราก็ดูได้จากสัดส่วนการลงทุนรายอุตสาหกรรม
6. ใน Fund Fact Sheet มักจะบอกว่ากองแม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมเท่าไหร่ ตรงนี้เขาบอกไว้เป็นข้อมูลเฉยๆนะครับ ไม่ต้องเอามาคิดรวม เพราะค่าธรรมเนียมที่กองแม่เก็บนั้น จะรวมอยู่ในค่าธรรมเนียม TER ของกองในบ้านเราแล้ว
อ่ะ พร้อมแล้วไปคัดกองทุนกันเลยครับ
ไปเริ่มที่ Morningstar เหมือนเดิม เพื่อไปหากองทุนที่ทำผลงานดีๆ 5 กอง
ที่หน้าคัดกองทุน เลือก US Equity และ ไม่จ่ายปันผลตามรูป
ดูผลตอบแทนระยะยาว และ เรียงผลตอบแทน 10 ปี
จะเห็นว่ามีกองทุนแค่ 3 กองเท่านั้นที่เปิดมา 10 ปี ดังนั้น เราลองเรียงผลตอบแทน 5 ปีดูมั่ง
ผลตอบแทน 5 ปีก็ถือว่าโอเคอยู่นะ กองทุนที่เปิดมา 10 ปี ก็ยังอยู่ใน 5 อันดับแรก 2 กอง ดังนั้นเราจะเลือกกองทุนจากการเรียงผลตอบแทน 5 ปีนี่แหละ
ตัดกองทุน RMF (เพื่อการเลี้ยงชีพ) ออกไป คลิกที่ภาพรวมเพื่อเอาชื่อย่อ 5 กอง เพื่อไปคัดต่อที่เว็บ Wealthmagik
ได้กองทุนตามนี้
1. กองทุนเปิดเคแทม ยูเอส โกรท อิควิตี้ฟันด์ (KT-US-A)
2. กองทุนเปิดแอสเซทพลัสเอสแอนด์พี 500 (ASP-S&P500)
3. กองทุนเปิดทิสโก้ ยูเอส อิควิตี้ ฟันด์ (TISCOUS)
4. กองทุนเปิดทหารไทย US500 Equity Index (TMBUS500)
5. กองทุนเปิดกรุงศรียูเอสอิควิตี้ (KF-US)
ไปต่อที่เว็บ Wealth Magik เอากราฟ NAV ของทั้ง 5 กองมาเปรียบเทียบกันก่อนเลยด้วยวิธีที่เคยทำให้ดูใน EP22 ได้กราฟ NAV ทั้ง 5 กองเปรียบเทียบ 5 ปีย้อนหลังตามรูปเลยนะฮะ
จากกราฟ NAV ย้อนหลัง 5 ปี บอกได้ว่า ทั้ง 5 กองดูแนวโน้มคล้ายๆกัน คร่าวๆคือดูโอเคทุกกอง แต่ดูเหมือนว่า TMBUS500 ทำได้ดีกว่า KF-US เพราะเริ่มต้นมาพอๆกันแต่หลังๆ TMBUS500 เริ่มทำผลงานได้ดีกว่า
ส่วนตารางผลตอบแทนใต้กราฟ ดูเปรียบเทียบกันได้นะครับ ตัวเลขจะใกล้เคียงกับของ Morningstar แต่ระวังอย่าดูคอลัมภ์ “ตั้งแต่เริ่มจัดตั้ง” เพราะแต่ละกองทุนจัดตั้งไม่พร้อมกัน เราเลยเอาคอลัมภ์นี้มาเทียบกันไม่ได้
ขั้นตอนต่อมาเราก็ทำตารางเพื่อเปรียบเทียบกองทุนเหมือนเดิม เนื่องจากทำให้ดูมาหลายครั้งแล้ว ขอตัดภาพไปที่ตารางที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว
จะเห็นว่ามีบรรทัดที่เป็น Master Fund ที่เพิ่มขึ้นมา ตรงนี้เอาไว้ดูเฉยๆว่ามีกองไหนที่ไปลงกองแม่อันเดียวกันมั่ง ผลตอบแทนก็จะพอๆกัน อยู่ที่ว่ากองไหนจะเก็บค่าธรรมเนียมถูกหรือแพงกว่ากัน
ให้คะแนนความเสี่ยง และ ผลตอบแทนที่น่าสนใจได้ตามนี้
ในส่วนของความเสี่ยง กอง KT-US-A กับ KF-US เสี่ยงกว่าที่เหลือ เพราะเป็นกอง Active เน้นลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีเป็นสัดส่วนมากสุดเหมือนกัน ส่วนหุ้นกลุ่มที่ลงทุนเป็นสัดส่วนรองลงมา ของ KT-US-A เป็นกลุ่มสุขภาพ (Health Care) ส่วน KF-US ลงในสินค้าฟุ่มเฟือย (Consumer Discretion) คือของใช้ที่ไม่ใช่ปัจจัย 4 เช่น รถยนต์ เฟอนิเจอร์
จริงๆแล้ว ดูชื่อกองแม่ก็รู้แล้วครับว่า 2 กองนี้ เขาเน้นไปลงทุนในหุ้นเติบโต (Growth)
ส่วนที่เหลือเป็นกองดัชนี เพราะเป็นกอง ETF ที่ไปลงทุนในดัชนี S&P500 ซึ่งก็สามารถเดาๆได้จากชื่อกองแม่เหมือนกัน
สัดส่วนการลงทุนในรายอุตสาหกรรม ถามว่าทำไมต้องดูถึงอันดับ 2 ด้วย
ตรงนี้เพราะว่าหุ้นเทคโนโลยีมีผลกับการคำนวณดัชนี S&P500 มากสุด ดังนั้นกองดัชนีเลยลงในหุ้นกลุ่มนี้เยอะเหมือนกองที่ลงหุ้นเติบโต ดังนั้นเพื่อจะดูให้เห็นความแตกต่าง เราเลยต้องลงมาดูอันดับ 2 ด้วย แล้วก็เจอว่าสัดส่วนต่างกันจริง
มาดูผลตอบแทนกันต่อ ที่วงไว้ 4 กองแรก ผลตอบแทนและค่าธรรมเนียมพอๆกัน ที่ต้องระวังคือกอง ASP-S&P500 มีขนาดเล็กไปหน่อย
สรุป
1. เทียบผลตอบแทนกับความเสี่ยง กอง TISCOUS กับ TMBUS500 ดีพอๆกัน ส่วน ASP-S&P500 ก็ดีแต่ขนาดเล็กไปหน่อย
2. กอง KT-US-A ก็โอเคนะ ติดที่ว่าลงทุนเสี่ยงกว่า แต่ผลตอบแทนดีกว่าแค่นิดหน่อย เลยดูไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไหร่
ถ้าอยากลองเลือกกองทุนที่ลงทุนในประเทศจีน ที่หน้าคัดกองทุนให้เลือกประเภทกองทุนเป็น China Equity ตามรูป แล้วทำตารางเปรียบเทียบกันตามปกติได้เลยครับ
วันนี้สวัสดีครับ ชุบ ชุบ
อ้างอิง:
สรุปข้อมูลสำคัญการลงทุน กองทุนเปิดเคแทม ยูเอส โกรท อิควิตี้ฟันด์ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563
สรุปข้อมูลสำคัญการลงทุน กองทุนเปิดแอสเซ็พลัสเอสแอนด์พี 500 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563
สรุปข้อมูลสำคัญการลงทุน กองทุนเปิดทิสโก้ยูเอสอิควิตี้ฟันด์ ณ วันที่ 1 กันยายน 2563
สรุปข้อมูลสำคัญการลงทุน กองทุนเปิดทหารไทย US500 Equity Index ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2563
สรุปข้อมูลสำคัญการลงทุน กองทุนเปิดกรุงศรียูเอสอิควิตี้ ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2563
ออมให้เงินโต วางแผนการเงินด้วยตัวเอง ใช้ภาษาบ้านๆ เข้าใจง่าย อ่านฟรีครับ
https://bit.ly/3mBhhio
อ่านแล้วมีคำถาม ถามได้ที่เพจตลอดเวลา ยินดีตอบคำถามอย่างมากๆครับผม
https://www.facebook.com/EzyFinPlan
ถ้าอ่านแล้วชอบ สั่งซื้อหนังสือออมให้เงินโตได้จากช่องทางต่อไปนี้นะครับ
Line : @proudorder
คลิก >
https://bit.ly/33z7RLe
หรือ > Lazada : PROUD
คลิก >
https://s.lazada.co.th/s.ZRnKa
2 บันทึก
2
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ออมให้เงินโต ภาคกองทุนรวม
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย