Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
24 ธ.ค. 2020 เวลา 15:00 • สุขภาพ
โรคดึงผมตนเอง (Trichotillomania)
โรคดึงผมตนเอง (Trichotillomania)
หมายถึง โรคผมร่วงที่เกิดจากการดึง หรือถอนผมตนเอง โดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มความผิดปกติทางจิตเวชแบบย้ำคิดย้ำทำ
สามารถเกิดได้กับทุกบริเวณของร่างกายที่มีผมหรือขนที่ยาวในขนาดที่สามารถดึงออกได้ เช่น ผม ขนคิ้ว ขนตา หนวดเครา และหัวหน่าว เป็นต้น
#สาระจี๊ดจี๊ด
ดึงผมตนเอง เป็นสัญญาณของโรคทางจิตเวช
สาเหตุ และอาการของโรคดึงผมตนเอง
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจน มีสมมติฐานการเกิดโรคหลายอย่าง เช่น เกิดจากระดับของสารสื่อประสาทในบริเวณสมองขาดความสมดุล ทำให้ผู้ป่วยควบคุมพฤติกรรมการดึงผมของตนเองไม่ได้
เกิดจากความเครียดวิตกกังวลและความกดดันกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมดึงผม นอกจากนี้ยังเกิดจากโรคของหนังศีรษะเองโดยการดึงผมจะทำให้อาการดีขึ้น เช่น อาการคันจากรังแค และอาการเจ็บปวดจากปลายประสาทอักเสบ มีข้อมูลจากการศึกษาพบว่าพันธุกรรมอาจมีส่วนในการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค
โรคนี้พบได้ในทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยอาจยอมรับหรือไม่ยอมรับว่าดึงผมตนเอง ผมร่วงจะมีได้หลายลักษณะ หลายขนาด อาจเป็นหย่อมเล็ก หรือกระจายหลายหย่อมทั่วศีรษะ หรืออาจกระจายทั้งศีรษะ รูปร่างของหย่อมผมร่วงมีลักษณะแปลก ตำแหน่งของผมร่วงส่วนใหญ่เป็นที่ศีรษะ แต่สามารถพบได้ในตำแหน่งอื่นที่มีขนได้แก่ ผม ขนคิ้ว ขนตา หนวดเคราและหัวหน่าว ผิวหนังบริเวณผมร่วงจะมีลักษณะปกติ อาจพบเส้นผมลักษณะเส้นสั้น ๆ มีความยาวไม่เท่ากัน บริเวณปลายผมมีลักษณะทื่อ และอาจพบผมหักงอในบริเวณผมร่วง
การวินิจฉัย และการรักษา
ในการวินิจฉัย คุณหมอจะดูเพื่อแยกจากโรคผมร่วงเป็นหย่อมและโรคเชื้อราที่หนังศีรษะ โดยทั่วไปสามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกาย ยกเว้นในรายที่มีลักษณะไม่ชัดเจนอาจต้องยืนยันการวินิจฉัยด้วยการตัดชิ้นเนื้อ จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการรักษา แพทย์ผู้รักษาประเมินผู้ป่วยเบื้องต้นว่ามีปัญหาทางจิตใจ และปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรคหรือไม่ โดยแพทย์ผู้รักษาอาจร่วมรักษาผู้ป่วยร่วมกับจิตแพทย์
การรักษาทำได้ตั้งแต่การให้คำปรึกษาและการปรับพฤติกรรม หากเป็นรุนแรงอาจต้องให้ยาทางจิตเวชในการช่วยควบคุมอาการ และให้การรักษาเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคทางหนังศีรษะร่วมด้วย เช่น ยาทาสเตียรอยด์รักษาภาวะหนังศีรษะอักเสบ หรือให้ยาแก้อาการปลายประสาทอักเสบ เป็นต้น
#สาระจี๊ดจี๊ด
ผู้ป่วยอาจมีอาการของโรคนี้ในช่วงก่อนอายุ 17 ปี โดยมักดึงผมหรือขนตามร่างกายของตนเอง และหากเสพติดการดึงผมก็อาจถึงขั้นทำให้เกิดรอยแหว่งเป็นวงกลมหรือเป็นหย่อม ๆ ทั่วหนังศีรษะ
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
แหล่งที่มา
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%94%e0%b8%b6%e0%b8%87%e0%b8%9c%e0%b8%a1-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%8a
https://www.pobpad.com/trichotillomania-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A1
https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=2158
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
11 บันทึก
22
21
14
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สุขภาพ โรคภัย การแพทย์
11
22
21
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย