25 ธ.ค. 2020 เวลา 04:20 • หนังสือ
สรุปหนังสือ | หนังสือเสียง 9 | The 100 Year life ชีวิตศตวรรษ
ผู้เขียน lynda Gratton + Andrew Scott แปล วารีรัตน์ อันวีระวัฒนา
เป็นหนังสือที่ต้องอ่าน เมื่อต้องการเปลี่ยนชีวิต เพราะเมื่อคนเราอายุยืนยาวขึ้น มีหลายปัจจัยที่ต้องเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เราต้องวางแผนมากขึ้น จะเกิดสิ่งที่ไม่เคยเกิด บางสิ่งก็จากหายไป หากเราไม่ได้เตรียมตัววางแผนแต่เนิ่น แทนที่ชีวิตที่ยืนยาวขึ้นจะมีความสุข กลับกลายเป็นความทุกข์แทน เช่น เรื่องสุขภาพ หากเราต้องป่วยเรื้อรังตอนอายุ65 ตายตอนอายุ 70 คือทรมาณกับการป่วย 5ปี หากต้องตายตอนอายุ100ล่ะ ต้องทรมาณไปถึง35ปี แล้วเรื่องเงินเก็บ ค่าใช้จ่าย การดำเนินชีวิตจะเป็นอย่างไร นี่คือเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ที่จะชี้ให้เราเห็นสิ่งที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้เราเตรียมพร้อมที่จะรับมือ
หนังสือเสียง 👉🏻https://youtu.be/OTZiaxezIx8
หนังสือเล่มนี้ เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวในชีวิต เป็นการสำรวจชีวิตสมัยใหม่ มอบแผนที่สำคัญ บอกเงื่อนไข ข้อจำกัด กระบวนการปรับตัว เพื่อรับมือกับการใช้ชีวิต 100 ปี
เรามีอายุเฉลี่ยมากกว่าปู่ย่าตายาย
หากตอนนี้คุณอายุ 20 มีโอกาสอยู่ถึง 100 ปี
หากตอนนี้คุณอายุ 40 มีโอกาสอยู่ถึง 95 ปี
หากตอนนี้คุณอายุ 60 มีโอกาสอยู่ถึง 90 ปี
พวกเรากำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน แต่มีน้อยคนที่ทราบและเตรียมตัวผ่านช่วงเวลานี้ หากใครเตรียมตัวพร้อม ก็เหมือนกับการได้รับพรอันประเสริฐ แต่หากละเลย ชีวิตก็จะเหมือนถูกสาบ
เพราะว่าคนเราจะอายุยืนขึ้น เราจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตอย่างไร เลือกใช้เวลาทำอะไร จัดสรรเวลาที่ได้มาเพิ่มขึ้นได้อย่างไร การจัดการกับสุขภาพที่ร่วงโรย ความเจ็บป่วย ความจำเสื่อม ค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น วิกฤตที่เข้ามา การวางแผนเรื่องการเงิน การวางแผนเรื่องอาชีพ คือหัวใจที่สำคัญของการรับมือชีวิตที่ยาวนานขึ้น
....ชีวิตที่ยืนยาวต้องอาศัยทรัพยากร ทักษะ ความยืดหยุ่น การรู้จักตนเอง การวางแผน ...กลุ่มคนที่มีรายได้สูงและมีวิชาชีพเฉพาะจะมีทางเลือกที่เอื้อกับการมีชีวิต 100 ปี
ศตวรรษที่ 20 จัดเวลาการใช้ชีวิตเป็น 3 ช่วง คือ
ช่วงการศึกษาเล่าเรียน
ช่วงการทำงาน
ช่วงเกษียณ
แต่พออายุยืนขึ้น การจัดเวลาการใช้ชีวิตจะไม่ใช่ 3 ช่วงแล้ว เพราะอาจเกิดปัญหา ไม่มีเงินมากพอที่จะเลี้ยงตัวเอง เพราะเวลาที่มีมากขึ้น
สิ่งที่คิดว่าจะเกิดขึ้น เมื่อเราจะอายุ 100 ปี
1. คนจะทำงานจนถึงอายุ 70-80 ปี
2. เกิดงานและทักษะใหม่....ความรู้และทักษะที่เราเรียนมาตอนอายุ 20 หากต้องทำงานจนอายุ 70-80 ในสภาวะตลาดงานที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีAI เข้ามา ...ยังสามารถปัดฝุ่นความรู้ที่มีคงไม่พอ ต้องทุ่มเทเวลาเพื่อการลงทุนครั้งใหญ่ในการหาความรู้และทักษะใหม่
3. เรื่องเงิน....เพราะคุณไม่สามารถรักษาหน้าที่การงานที่จะสร้างความสำเร็จทางการเงินได้ในระยะยาว หากทักษะ สุขภาพ ความสัมพันธ์ ค่อยๆถดถอย ...หากขาดความมั่นคงด้านการเงิน คงไม่สามารถหาเวลามาพัฒนาเรื่องสำคัญที่ไม่เกี่ยวกับการเงินได้
4. ช่วงชีวิต 3 ขั้น จะเปลี่ยนเป็นหลายขั้น ....คนเราจะมีหลายอาชีพ มีการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆตลอดเวลา
5. ช่วงเปลี่ยนผ่านจะเป็นเรื่องปกติ...เมื่อชีวิตขยายจาก 3 ขั้น เป็นหลายขั้น จะมีช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านมากขึ้น แต่ มีคนไม่มากที่มีสามารถและทักษะที่จะก้าวผ่านช่วงเปลี่ยนผ่านหลายครั้งได้ ซึ่งการใช้ชีวิตที่ยืนยาวและหลายขั้น ต้องฝึกทักษะหลายด้านให้ช่ำชอง ยืดหยุ่น เสาะหาความรู้ใหม่ๆ ค้นหาวิธีการใหม่ๆ มองโลกในมุมมองที่ไม่เคยมอง ยอมรับและทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลง สร้างเครือข่ายใหม่ๆ พลิกมุมมองครั้งใหม่และมองการณ์ไกลอย่างแท้จริง
6. ชีวิตขั้นใหม่ๆจะปรากฎขึ้น....(เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นแล้วในช่วงศตวรรษที่20 คือ มีช่วงวัยรุ่นและวัยเกษียณ) ...ทำให้วัยรุ่นเลือกทางที่กว้าง และเสาะหาหนทางใหม่ๆ ไม่สร้างภาระผูกพัน มองหาตัวเลือกและ lifestyle อื่นๆ
7. การใช้เวลาสร้างสรรค์สิ่งใหม่....แบ่งเวลามาพัฒนาตัวเองกลายเป็นเรื่องที่จำเป็น แทนการบริโภค การพักผ่อน และ สันทนาการ
8. เลิกเรียงลำดับชีวิต....ลำดับขั้นจะไม่เชื่อมกับอายุอีกแล้ว (เช่น บอกว่ากำลังเรียนป.ตรี เราจะเดาอายุได้ แต่เมื่ออายุยืนขึ้นจะเดาอายุไม่ได้แล้ว)
9. ทางเลือกมีค่ามากขึ้น ....การตัดสินใจเลือกหมายถึงการปิดทางเลือกอื่นๆ คนจึงยืดเวลาของการเลือก เช่น การแต่งงาน การสร้างครอบครัว ซื้อบ้านซื้อรถ คือเปิดโอกาสให้ตนเองมีทางเลือกต่อไปเรื่อยๆ
10. ความเยาว์ที่ยืนยาวขึ้น.... คนวัย 18-30 มีชีวิตที่ยืดหยุ่นมากขึ้นผูกมัดน้อยลง ....เราจะรักษาความยืดหยุ่นไว้แบบวัยรุ่นถึงแม้จะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เช่น ปรับตัวง่าย ยืดหยุ่น ไม่ยึดติดกับนิสัยที่เคยชิน และมีมิตรภาพต่างวัยมากขึ้น
11. ความสัมพันธ์ในบ้านและที่ทำงานจะพลิกโฉม ...ความเท่าเทียมทางเพศ อาจสลับกันทำงาน สลับกันหาเลี้ยงครอบครัวระหว่างสามีภรรยา
12. ความซับซ้อนข้ามรุ่น....ครอบครัวมีคนต่างรุ่นถึง 4 รุ่นใต้หลังคาเดียวกัน โครงสร้างครอบครัวซับซ้อนขึ้น ทัศนคติของคนแต่ละรุ่นจะเปลี่ยนแปลง
13. จะมีการทดลองกันอีกมาก ....เพราะต้องพยายามค้นหาหนทางที่จะรับมือกับชีวิต 100 ปี
14. การสู้รบกับทัพฝ่ายบริหารบุคคล...ความปราถนาของบุคคลที่ต้องการตัวเลือกและความยืดหยุ่นในชีวิต จะเอาชนะการทำงานที่เป็นระบบ
15. ความท้าทายสำหรับภาครัฐ....ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา การจัดการการเงิน กรอบกฏหมาย ที่ท้าทายสุดคือเรื่องสุขภาพ ชาองว่างคนจนคนรวยมากขึ้น
คำถาม
....ตัวคุณเองตอนอายุ 70 จะคิดยังไงกับตัวคุณในปัจจุบัน
....คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าการตัดสินใจในวันนี้จะสอบผ่านการประเมินของตัวคุณเองในอนาคต
....ตัวตนของคุณเป็นผลสะท้อนของสิ่งที่คุณสร้างขึ้นมาเอง
เรื่องการใช้ชีวิต
....ผู้คนมีรายได้มากขึ้น โภชนาการดีขึ้น การแพทย์มีคุณภาพ
.....อายุเฉลี่ยที่มากขึ้นจะเป็นข่าวดีเมื่อสุขภาพดีด้วย
....ปัญหาโรคเรื้อรังจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุช้าลงด้วยพลังของเวชศาสตร์การป้องกัน (Preventive Medicine) (James Fries) การส่งเสริมเรื่องสุขภาพ และ การศึกษา
....ผลการทดลอง คนออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่สูบบุหรี และควบคุมน้ำหนักส่วนใหญ่มีอาการป่วยก่อนเสียชีวิต สั้นกว่ากลุ่มอื่น
....คุณภาพการใช้ชีวิตประจำวันเมื่อแก่ตัว (Activities of daily living : ADL) เช่น การอาบน้ำ การควบคุมการขับถ่าย การแต่งตัว การทานอาหาร สามารถทำได้ด้วยตัวเอง
....การใช้ชีวิตบั้นปลายที่เป็นโรคสมองเสื่อมรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
เรื่องการหาเลี้ยงชีพ
....ถ้ามีชีวิตที่ยืนยาว การใช้เงินมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ต้องเก็บเงินให้มากขึ้น ทำงานนานขึ้น
คำถาม
....คุณจะหาเงินได้เท่าไหร่
....รายได้เติบโตเร็วแค่ไหน
....ผลตอบแทนการออมอยู่ที่เท่าไหร่
....รายได้ขึ้นลงอย่างไรตลอดช่วงการทำงาน
....คุณจะมีลูกกี่คน
....คุณต้องมีระดับรายได้เท่าไหร่จึงจะมีความสุข
....คุณอยากทิ้งมรดกไว้ให้ลูกหลานเท่าไหร่
เงื่อนไขหลักสำคัญ 4 ข้อ ในการคำนวณเงินเก็บ
1. เป้าหมายจำนวนเงินบำนาญ ....ตั้งเป้าเท่าไหร่ สมมติ 50% ของเงินเดือนสุดท้ายที่ได้รับ
2. อัตราตอบแทนการลงทุนระยะยาวเท่าไหร่ (ผลตอบแทนจากเงินออม)
....ตัวแปรคือ ตัวเองยอมรับความเสี่ยงได้แค่ไหน
....อัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยง เงินชดเชยความเสี่ยง และ พอร์ตการลงทุนที่มีความสมดุลระหว่างการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงและ ปราศจากความเสี่ยง
3. การเติบโตของรายได้ ....แต่ละปีรายรับเพิ่มขึ้นรวดเร็วแค่ไหน
4. อายุที่วางแผนเกษียณ ...ตั้งใจจะเกษียณตอนอายุเท่าไหร่
....เงินบำนาญไม่มีแล้ว เพราะคุณเกิดน้อยลง คนเกษียณมากขึ้น รัฐเก็บภาษีได้น้อยลง
เมื่อมีหุ้นส่วนชีวิต ผลดีคือ (มองว่าหุ้นส่วนชีวิตทวีความสำคัญขึ้น)
1. การประหยัดต่อขนาดในครัวเรือน (Economies of scale) บ้านที่อยู่ 2 คน ไม่มีค่าใช้จ่ายคูณสอง (Adult equivalence scales)
2. รายได้สุทธิที่สูงขึ้นในครัวเรือน (OECD) ....รายได้ 2 คนต้องมีมากกว่าคนเดียว 50%
การงาน
1. สาขางานจะเปลี่ยนไป....เครื่องจักรเข้ามาแทน คนว่างงานจึงเกิดสันทนาการเพิ่มขึ้น เช่น โรงหนัง ฟิสเนต
2. ระบบเกื้อหนุนเฟื่องฟูขึ้น
....เกิดเศรษฐกิจแบบงานอิสระ (gig economy) หมายถึงรายได้จากการทำงานเฉพาะเป็นครั้งคราว สามารถเสนอขายทักษะฝีมือตัวเองผ่านพื้นที่กลาง เช่น Upwork หรือ มีส่วนร่วมในงานสร้างสรรค์ผ่าน Innocentive , kaggle
อาจได้โปรเจคใหญ่ เพราะบริษัทขนาดใหญ่เริ่มมองหานวัตกรรม ยังเป็นพื้นที่ให้คนเฉพาะกลุ่มสาขาเดียวกันเชื่อมต่อกัน
....เกิดเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing economy) เช่น AirBNB
3. มุ่งหน้าสู่เมืองอัจฉริยะที่ยืดหยุ่น
....ชนบทมาสู่เมืองทั้งที่อินเตอร์เน็ตทำให้ระยะทางไม่ใช่ปัญหา แต่ไม่สำคัญเท่าความใกล้ชิด(Proximity) สะท้อนเรื่องการอยู่ใกล้คนเก่งที่มีแนวคิดก้าวหน้าและทักษะชั้นสูงทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ (คนสาขาเดียวกันย้ายไปอยู่ที่เดียวกัน) เป็นแม่เหล็กดึงดูดความสามารถพิเศษ (ตลาดหนาแน่น Thick market) เช่น ใน Silicon Valley , Berkeley , Cal tech , MIT , Harvard , Rayal college of Art , Central ST. Martins
....การสร้างงานของกลุ่มหัวกะทิในเมืองอัจฉริยะ ส่งผลให้เกิดงานอีก 5 งาน เป็นที่ที่สร้างงานได้ดีกว่าเมืองอุตสาหกรรม
....พบการเลือกคู่ครองที่คล้ายตนเอง (Assortative Mating) คู่สมรสมีคุณสมบัติการศึกษา ระดับรายได้ใกล้เคียงกันมากกว่าแต่ก่อน
....การที่สถานที่ทำงานยืดหยุ่น ทำงานที่ไหนก็ได้ ทำให้เราจับคู่คนกับงาน คนที่มีความสนใจคล้ายกัน สร้างชุมชนขนาดใหญ่ที่มีทักษะและทัศนคติคล้ายคลึงกัน
....คอมพิวเตอร์และความก้าวหน้า ส่งผลต่อความคิดของคน แบบเดียวกับ
เครื่องจักรส่งผลต่อพลังกล้ามเนื้อของคน
4. ครึ่งหลังของเกมหมากรุก
....คาดการณ์ว่าความสามารถในการประมวลผลข้อมูลของเซมิคอนดักเตอร์จะเพิ่มขึ้น 2 เท่า ทุก2ปี ในช่วง8ปีข้างหน้า คอมพิวเตอร์จะมีพลังเพิ่มขึ้น4เท่าของเทคโนโลยี คล้ายนิทานราชาของอินเดียเรื่องเกมหมากรุก ข้าว1เม็ดในช่องแรก 2เม็ดในช่อง2 4เม็ดในช่อง3 เพิ่มเป็นทวีคูณ ข้าวจะหมดก่อนช่องที่13 (หมดก่อนครึ่งหลังของเกมหมากรุก)
5. เกิดช่องว่างตรงกลางของตลาดงาน
....การจ้างงานเพิ่มขึ้นในงานทักษะที่สูงและต่ำ แต่ระดับกลางมีการจ้างลดลง
งานแบ่งเป็น 2 แบบ
แบบแรก ....ตัวงานต้องใช้ความคิด หรือ ใช้แรง
แบบ2 ....เป็นงานที่เป็นกิจวัตร หรือ ไม่เป็นกิจวัตร (งานที่มีขั้นตอนกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง) ซึ่งAI จะเข้ามาแทนที่ (งานระดับกลางมักเป็นงานกิจวัตร)
....เทคโนโลยีจะมาแทนงานตรงกลาง แต่เป็นตัวเสริมสำหรับงานทักษะสูง ช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น รายได้ก็เพิ่มขึ้น จึงไปเพิ่มความต้องการแรงงานทักษะต่ำมากขึ้น
6. ทักษะเฉพาะตัวของมนุษย์
....ความสามารถเฉพาะตัวของมนุษย์มี 2 กลุ่ม
กลุ่มแรก....ความสามารถเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ การใช้เหตุผลแบบอุปนัย ทักษะในการสื่อสาร เช่น บริษัทแอปเปิ้ล ....ตรงกับทฤษฎีความย้อนแย้งของโพแลนยี (Polanyi's Paradox) คือ เรารู้มากกว่าที่จะสื่อออกมาได้ องค์ความรู้จำนวนมากของมนุษย์เป็นความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) ไม่สามารถเรียบเรียงเป็นชุดคำสั่งได้
กลุ่มสอง ....การปฎิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการปรับตัวตามสถานการณ์ ซึ่งเป็นความสำคัญที่เห็นในงานประเภทแรงงานมากกว่า ทฤษฎีความย้อนแย้งของโมราเวค (Moravec's Paradox) เป็นเรื่องง่ายที่ให้คอมพิวเตอร์แสดงเชาว์ปัญญาหรือเล่นหมากรุก แต่เป็นเรื่องยากหรือเป็นไปไม่ได้ ที่ให้คอมพิวเตอร์แสดงทักษะเด็กหนึ่งขวบที่กำลังเรียนรู้รอบตัวและขยับตัวเคลื่อนไหว
....การพัฒนาด้าน Cloud Robotics หุ่นยนต์เข้าถึงการเรียนรู้กันและกันผ่านคลาวน์ เป็นการเรียนรู้เร็วและก้าวกระโดด Deep learning เป็นเทคโนโลยีที่พยายามเลียนแบบวิธีที่มนุษย์ใช้เหตุผลผ่านการอ้างอิงและประสบการณ์
7. ตำแหน่งงานว่าง ....เมื่อเบบี้บูมเกษียณ หาคนทำงานแทนไม่ได้ โดยเฉพาะงานที่ใช้ทักษะต่ำกับทักษะสูง ควรดีใจที่หุ่นยนต์มาทันเวลาวิกฤตที่คนทำงานร่อยหรอ
8. ความท้าทายของการนำไปปฎิบัติจริง เช่น รถไร้คนขับยังไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง
....กฎของมัวร์ จะเริ่มถึงขีดจำกัดทางกายภาพ และไม่ได้ผลอีกต่อไป
9. งานใหม่ๆ ....แม้เครื่องจักรจะแย่งงานจากคนในโรงงานไป แต่ก็ยังสร้างงานใหม่ๆขึ้นมาแทนที่จำนวนมาก เทคโนโลยีจะสร้างงานใหม่ๆ ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นด้วย
เรื่องสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้
....ชีวิตที่สมบูรณ์ ชีวิตที่มีครอบครัวรักใคร่กลมเกลียว มีกัลยาณมิตร ทำงานที่ตนเองเลือกอย่างชำนาญ มีสุขภาพกายใจที่แข็งแรง มิตรภาพ ความรู้ สุขภาพ เป็นทรัพย์สินที่ช่วยวางแผนชีวิต100ปี
....ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ คือ กุญแจสู่ชีวิตที่ยืนยาว และ เจริญก้าวหน้าอย่างแท้จริง ชีวิตที่สมบูรณ์ต้องอาศัยสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ กับทรัพย์สินที่จับต้องได้ ที่มีความสมดุลและประสานพลังกันอย่างดี
....งานที่มนุษย์ได้เปรียบเทคโนโลยีมี2 ประเภท
แบบแรก คือ ความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ (Absolute advantage) มนุษย์ทำงานได้ดีกว่าหุ่นยนต์แน่นอน เช่น ความสร้างสรรค์ ความเห็นอกเห็นใจ การแก้ปัญหา การสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ แรงงานอีกหลายประเภท
แบบ2 คือ งานที่มนุษย์ได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative advantage)
....สินทรัพย์ คือ สิ่งที่ทำประโยชน์ให้เราอย่างต่อเนื่องในหลายช่วงเวลา เราจะบริหารจัดการอย่างไร เพราะจะเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลาเพราะถูกใช้งาน และ ถูกละเลย (เสื่อมค่า และอาจสูญหายไปในที่สุด) เพราะจับต้องไม่ได้ เลยวัดค่าไม่ได้ และนำไปแลกเปลี่ยนไม่ได้ มักต้องตัดสินด้วยความรู้สึก เป็นสิ่งที่หาซื้อไม่ได้ ไม่สามารถทดแทนหรือกลับลำได้
....การกลับลำไม่ได้ คือ เราต้องคิดให้ดี ว่าจะเลือกลงทุนลงแรงกับคนนี้ สิ่งนี้
....เสาหลักของการนำไปสู่ความสุข ของ George Valliant
ประการแรก คือ ความรัก
ประการสอง คือ การจัดการกับชีวิตโดยไม่ผลักไสความรักออกไป (ต้องมีความรักก่อน ความสุขจึงตามมา)
....ความงามก็เป็นทรัพย์สิน Daniel Hamermesh วิจัยว่าคนที่มีรูปร่างหน้าตาดีจะถูกจ้างก่อน ได้เลื่อนขั้นเร็วกว่า และได้ค่าตอบแทนมากกว่าคนที่มีหน้าตาธรรมดา 3-4% คนที่ตัวสูงก็ได้เงินเดือนมากกว่าด้วย
....สติปัญญา พันธุกรรมเรื่องสุขภาพ การเกิดมาในตระกูลที่เพียบพร้อมทั้งการศึกษาและฐานะ บุคลิกนิสัยใจคอพื้นฐาน เช่น ทัศนคติทางบวก ความมั่นคงทางอารมณ์ การเข้าสังคมเก่ง คือ แต้มต่อของทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้
ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ แบ่งเป็น 3 หมวด
1. ทรัพย์สินเพื่อความเจริญก้าวหน้า Productive Assets
....ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มพูนรายได้กับความก้าวหน้า สร้างความรู้สึกอยู่ดีมีสุข เช่น ความรู้ที่เราสั่งสมมา (การศึกษา การฝึกฝน การเรียนรู้ การใช้เวลากับสิ่งใด)
....เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น เงินเดือนมาพร้อมกับงานที่ต้องใช้ทักษะสูงขึ้น เทคโนโลยีทำให้ทักษะที่มีล้าสมัย. การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางใหม่ๆ เป็นสิ่งที่ต้องขวนขวายตลอดชีวิต ชีวิต 100ปี มี 873,000 ชั่วโมง ฝึกฝนด้านหนึ่งให้ชำนาญใช้เวลา 10,000 ชั่วโมง
....ทักษะที่เราต้องมุ่งสะสมคลังความรู้ ต้องเป็นทักษะที่มีมูลค่า เป็นสิ่งที่ต้องการของตลาด หายาก เลียนแบบได้ยาก และทดแทนได้ยาก
....ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
การศึกษาเป็นอาวุธที่ทรงพลังที่สุด ที่คุณจะใช้เปลี่ยนโลกได้
Nelson Mandela
....ปัจจัยช่วยเสริมอาชีพได้3แนวทาง คือ
A. ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
ศตวรรษที่ 19 ช่วงเวลาของการปฎิวัติอุตสหกรรมและทุนทางกายภาพ
ศตวรรษที่ 20 การศึกษาและทุนมนุษย์
ศตวรรษที่ 21 การเพิ่มมูลค่าโดยสร้างไอเดียและนวัตกรรมที่สามารถไปทำซ้ำและขายได้
B. ช่วยให้สามารถนำทักษะเฉพาะของมนุษย์และความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นมาใช้งาน
....เช่น ทักษะและดุลยพินิจแบบมนุษย์ ดึงประสบการณ์จากสัญชาตญาณมาใช้
ทักษะการสื่อสารตัวต่อตัวมากขึ้น เน้นการจูงใจคนในทีมและใช้ดุลยพินิจมากขึ้น
ทักษะที่ละเอียดอ่อนของมนุษย์ เช่น ความเห็นอกเห็นใจ การจูงใจ การให้กำลังใจ จะทรงคุณค่า
C. ช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทั่วไปที่จะติดตัวไปไม่ว่าไปที่ไหน เช่น ความยืดหยุ่นทางความคิด ความเฉลียวฉลาด ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
....ความเชี่ยวชาญเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น เพราะเทคโนโลยีแปรผันเร็ว ยิ่งมีความเสี่ยงว่าความเชี่ยวชาญด้านในอาจหมดค่าในอนาคต เพราะฉะนั้นต้องพร้อมที่จะขยับไปศึกษาวิชาอื่นเพิ่ม มีใบรับรองที่ได้รับการยอมรับในวงการ ไม่จำเป็นต้องเลือก อาจเรียนทั้งสายวิทย์และสายศิลป์
....การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงเป็นสิ่งที่ทำให้คนโดดเด่น เป็นประสบการณ์ที่เอาความรู้ที่มีไปใช้งาน สร้างความรู้แบบฝังลึกได้โดยการฝึกฝน ทำซ้ำและสังเกต ต้องมีความฉลาดรู้ทันโลกด้วย
....พรรคพวก (Peers) ความสำคัญของคนรอบด้าน (Boris Groysberg) หากอยากสามารถใช้ความรู้ความสามารถที่มีให้เต็มที่ การเจอบริษัทที่เหมาะสมเป็นเรื่องที่สำคัญ ทั้งเครือข่ายเพื่อนร่วมงาน กลุ่มคนที่เราติดต่อเรื่องงาน เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างผลงาน หากคนในทีมมีความเชื่อมั่น ยอมรับชื่อเสียงของกันและกัน เครือข่ายเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
....ทุนทางสังคมที่มีผลต่ออาชีพการงาน หรือ พวกพ้อง (Posse) เครือข่ายของคนทำงานร่วมกัน ที่มีความสัมพันธ์แบบสนิท เชื่อมั่นกันและกัน เป็นคนที่สอน สนับสนุนกัน แนะนำเครือข่ายของตัวเองให้กันและกัน พร้อมให้คำแนะนำสิ่งที่ล้ำค่า
....การสร้างพวกพ้อง เกิดเมื่อคุณเตรียมพร้อมและสละเวลามากพอเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับคนที่มีความรู้ ทักษะคล้ายคลึงกัน และใช้เวลาสนทนากันตัวต่อตัว
....ชื่อเสียงที่ดี เปิดโอกาสให้นำความรู้ความสามารถไปให้ได้อย่างมีประสิทธิผล สร้างคุณค่าให้อย่างต่อเนื่อง ซื้อขายไม่ได้ และ เสื่อมค่าอย่างรวดเร็ว ชื่อเสียงส่วนหนึ่ง มักอิงกับหมู่คณะที่เราสังกัด แต่สุดท้าย การกระทำของคุณจะเป็นรากฐานที่ทำให้ชื่อเสียงยืนยง
....การสร้างชื่อเสียงต้องอาศัยโครงสร้างทางสังคม ชุมชนรอบตัวต่างหากที่สร้างชื่อเสียงให้ตัวคุณโดยใช้แนวความเชื่อ มุมมอง และ การประเมินเป็นกรอบในการตัดสินว่ามีชื่อเสียงแบบไหน (คือคนอื่นพูดถึงคุณยังไง) กิติศัพท์ที่ว่าคุณเป็นคนแบบไหน
2. สินทรัพย์เพื่อพลังชีวิต (Vatality Assets)
....สุขภาพ มิตรภาพ ความรัก เป็นปัจจัยให้เรามีความสุข เติมเต็ม มีแรงจูงใจ ให้ก้าวหน้าและมีทัศนคติที่ดี
....สุขภาพ ความสำคัญของสมองที่ทำงานราบรื่นและแข็งแรงระยะยาว ซึ่งการกระทำและพฤติกรรม มีผลต่อสมองมาก เช่น แต่ละวันทำอะไร มีส่วนร่วมกับชุมชน ความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่น ความแข็งแรงของร่างกาย โภชนาการ เพราะแนวคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงในสมองของมนุษย์ (Neooplasticity) มองว่าสมองเป็นกล้ามเนื้อ ต้องหมั่นใช้งาน ฝึกฝน สามารถเปลี่ยนวิธีการทำงานและฟื้นฟูตัวเองได้ดี หลังอายุ50 สมองจะหดเล็กลง
....การใช้ชีวิตอย่างสมดุล ...ศัตรูของพลังชีวิตคือความเครียด เสี่ยงเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 20% เราต้องหาวิธีขจัดบ่อเกิดของความเครียด ส่วนใหญ่อารมณ์ค้างคาจะครอบงำความรู้สึกไปตลอดทั้งวัน ส่งผลต่องาน ต่อความคิดสร้างสรรค์ ความคิดริเริ่ม
....มิตรภาพที่เหนียวแน่นก่อให้เกิดอารมณ์ร่วม อารมณ์ความรู้สึกลึกซึ้งเช่นนี้ที่เป็นแรงหนุนสำคัญมาสู่พลังของชีวิต ช่วยเสริมเรื่องราวและความคิดเห็น และ อัตลักษณ์ของเรา
3. ทรัพย์สินเพื่อการปรับตัว (Transformational Assets) เป็นสินทรัพย์แบบใหม่ (A New Asset Class) คือ ความสามารถและแรงจูงใจที่จะนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลง
....ชีวิตหลายขั้นเป็นสมดุลระหว่างทรัพย์สินที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้
....ขั้นการเปลี่ยนผ่าน Liminality ที่ถูกบีบคั้นจากภายนอก เช่น ทักษะที่ถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี บริษัทปิดตัว การลาออกไปเรียน ออกจากช่วงทดลองของชีวิต ไปทำงาน ทรัพย์สินการปรับตัวช่วย้พิ่มขีดการจัดการกับความไม่แน่นอนที่เกิดจากการเปลี่ยนผ่าน เป็นช่วงที่น่าอึดอัดเพราะอัตลักษณ์ในอดีตเริ่มเลือนหาย แต่อัตลักษณ์ใหม่ยังสร้างไม่เสร็จ คือ ต้องหลุดจากความคุ้นเคยในอดีตในขณะที่ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในอนาคตยังเป็นปริศนา
....องค์ประกอบการเปลี่ยนผ่านให้สำเร็จ มี 3 ประการ
A. มีความเข้าใจตนเอง ทั้งปัจจุบันและที่น่าจะเป็นในอนาคต เป็นการตั้งคำถามเกี่ยวกับอดีต ปัจจุบัน และอนาคตอยู่เสมอ (Reflexive Project: Anthony Giddens) ซึ่งต้องอาศัยการรู้จักตัวเอง (Self-knowledge)
....การรู้จักตัวเอง เพราะทุกวันนี่อัตลักษณ์เราถูกปรุงแต่งมากกว่าสืบทอดมา ซึ่งเราจะเข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองได้ดีเมื่อพร้อมจะรับข้อเสนอแนะ คอยถาม และ รับฟังว่าคนอื่นคิดยังไง และนำมาคิดไตร่ตรอง
....คนที่หมั่นสร้างทรัพย์สินการปรับตัวอยู่เสมอ ไม่ได้ป้อนข้อมูลเฉยๆ แต่ปรับความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตัวเอง และสายตาที่มองโลกรอบตัวด้วย เพราะเข้าใจตัวเองได้มากขึ้น ซับซ้อนขึ้น สามารถรับมือกับข้อเรียกร้อง และความไม่แน่นอนต่างๆ
....การปรับตัวเกิดขึ้นเมื่อคนถอยหลังไปไตร่ตรองบางสิ่ง และตัดสินใจในเรื่องนั้น นอกจากจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตัวเอง ยังเปลี่ยนความรู้สึกของตน เปลี่ยนวิธีการรับรู้ (ไม่ใช่แค่รู้อะไร แต่รู้ได้อย่างไรด้วย) Robert Kegan
....ตัวตนทั้งหลายที่เราอาจเป็นได้ (Possible selves) การเดาอนาคตว่าเราอาจเป็น หรือทำอะไรอยู่บ้าง ทำให้เรารู้ว่า เราควรจะทำอะไร เลี่ยงอะไร ตีกรอบพฤติกรรม และเดินไปตามทางที่หวัง
Hazel Markus+Paula Nurius
....พลังงานที่คนนำไปใช้สร้างเรื่องราวที่สอดคล้องกัน ต้องอาศัยการต่อเนื่อง Charlotte Linde
....สิ่งที่เกี่ยวกับตัวฉันที่ยังเหมือนเดิม และ ที่มาที่ไป สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวฉัน ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนเเปลง ต้องใช้การรู้จักตัวเองอย่างลึกซึ้ง
B. คนที่รู้จักเข้าหากลุ่มชุมชนใหม่ๆ และคนที่สร้างเครือข่ายที่หลากหลายและไม่หยุดนิ่ง จะเปลี่ยนผ่านได้ราบรื่นกว่า ทำให้เห็นบริบทสังคมที่กว้างกว่าเดิม ดึงเอาคนต้นแบบ ภาพลักษณ์ และ สัญลักษณ์ มาคิดต่อว่าอนาคตของตัวเอาออกมายังไงได้บ้าง
....เครือข่ายที่หลากหลาย คนเราเริ่มเปลี่ยนมุมมองเมื่อมีปฎิสัมพันธ์กับเครือข่ายที่กว้างขวางหลากหลายขึ้น เกดจุดพลิกผันของการปรับตัว Tipping point เพื่อนกลุ่มเดิมอยากให้คุณเป็นเหมือนเดิม เพื่อนกลุ่มใหม่ที่จะเข้าหามีคุณค่า บรรทัดฐาน ทัศนคติ ความคาดหวังใหม่ๆ เกิดการเข้าถึงข้อมูลใหม่ๆ
C. ต้องลงมือปฎิบัติให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปิดกว้างรับประสบการณ์ ทำให้ทรัพย์สินนี้มีพลวัตในที่สุด
....การจำกัดกิจวัตร Routine-Busting : Douglas Hall + Philip Mirvis นำไปสู่วงจรการเรียนรู้ครั้งใหม่ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เชื่อว่าจะช่วยให้ตนเองสำเร็จ
สถานการณ์สมมติ
....ชีวิต3ขั้นแบบเดิม (เรียน ทำงาน เกษียณ) แทบไม่ต้องอาศัยการวางแผนและไตร่ตรองมาก เพราะมีความแน่นอนและคาดเดาได้ แต่ในอนาคตสิ่งที่เข้ามาแทนที่มีความหลากหลาย เส้นทางอาจไม่ใช่เส้นตรง เราอาจมีแนวโน้มที่จะสร้างตัวตนที่เป็นไปได้ในอนาคต ซึ่งสามารถจูงใจการแสดงออกทางพฤติกรรม หากรู้สึกว่าตนเองมีศักยภาพ มองการณ์ไกล
....คำถาม
_คุณต้องการเป็นคนที่หาเงินได้มากตลอดชีวิตหรือไม่
_คุณจะรักษาความสัมพันธ์กับอีกคนหนึ่งตลอดชีวิตได้อย่างไร
_คุณพร้อมเสี่ยงมากแค่ไหน
_งานประเภทไหนมีความหมายสำหรับคุณ
_คุณต้องการสร้างประโยชน์ประการใดให้สังคม
_คุณใช้โอกาสที่มีอย่างมีคุณค่ามากที่สุดหรือยัง
_คุณยึดติดกับวิธีเดิมมากเกินไปหรือไม่
.....สถานการณ์สมมติที่คุณคิดจะถูกหล่อหลอมขึ้นจากความจำเป็น ความใฝ่ฝัน ความปราถนาเฉพาะตัวของคุณ เป็นสิ่งที่ต้องลงมือทำเอง
....ต้องเผชิญกับตัวเลือก ตัดสินใจ เชื่อมั่นว่าตนเองมีศักยภาพ (Efficacy = ฉันทำสิ่งนี้ได้) และมองการณ์ไกล (ฉันควบคุมตัวเองและมีความมุ่งมั่นว่าจะทำสิ่งนี้ให้สำเร็จ)
....สรุปความคิดจูลเอง ...ผู้เขียนสมมติชีวิตคน2-3 ตัวอย่างให้ดูว่า กรณีที่เลือกพัฒนาทรัพย์สินแต่ละอย่างก่อนหลัง มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตอย่างไร แต่ตรงนี้สรุปไม่ได้ชัดเจน เพราะการตัดสินใจแต่ละแบบมีผลที่แตกต่างกัน แต่กรณีมีชีวิตที่ยืนยาว เช้น GenY คือ เริ่มต้นชีวิตด้วยการสำรวจตัวเอง มีการเงินลุ่มๆดอนๆ แต่ไม่มีหนี้สิน แต่ก็ไม่มีทรัพย์สิน ใช้เวลาไปกับทรัพย์สินเพื่อพลังชีวิต เพื่อการปรับตัว แต่พออายุใกล้ 40 เริ่มมาใช้ทรัพย์สินแบบเจริญก้าวหน้า และมีการเปลี่ยนงานบ่อยครั้ง แต่เนื่องจากรู้จักตัวเอง จึงสามารถปรับตัวเปลี่ยนแปลง ทำงานได้ถึงอายุ85 (GenX เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก ถึงเวลาที่ต้องเรียนรู้ใหม่ มองการณ์ไกล ปรับตัวตอนนี้อย่างเร่งด้วน เพื่อรับมือได้)
ขั้นของชีวิต
....ขั้นตอนใหม่ๆ กับการมีชีวิตที่ยืนยาว เป็นขั้นนักสำรวจ นักผลิตอิสระ ขั้นพอร์ตโพลิโอ ตอนนี้ทุกคนอยู่ในช่วงทดลอง
....การก้มหน้าก้มตาเดินตามลำดับชีวิตที่กำหนดมาแล้ว โดยไม่รู้ว่าใครเป็นใคร เสี่ยงต่อการถูกเหยียบจมดิน ผู้คนจะเปิดใจให้กว้างขึ้น เมื่อหมดยุคของชีวิต 3 ขั้น และคนส่วนใหญ่เริ่มทดลองสลับปรับเปลี่ยนลำดับชีวิตตามความจำเป็น
1. ความอ่อนเยาว์ ....อายุ ไม่ใช่ประเด็นอีกต่อไป การยึดติดกับช่วงอานุ จะขยับขยาย
....ความอ่อนเยาว์ปั้นแต่งง่าย ความขี้เล่น การปล่อยตัวตามสถานการณ์ ศักยภาพในการส่งเสริมการลงมือทำสิ่งแปลกใหม่ เดิมเป็นทรัพย์สินเฉพาะกลุ่ม แต่ภาวะที่คงความอ่อนเยาว์ ยิ่งอยู่ยิ่งไม่แก่ (Juvenescence) หนุ่มสาวยาวนานขึ้น มีเวลาให้เรียนมากขึ้น ยืดหยุ่น ค้นพบทางเลือก เปิดกว้างแทนการผูกติด ทางเลือกมีคุณค่า ระยะเวลาสำรวจยาวนานขึ้น
....เพราะฉะนั้น การรักษาคุณลักษณะวัยหนุ่มสาวมีประโยชน์ เรียกว่า Neoteny ในมุมมองของวิวัฒนาการ วัยรุ่นปรับตัวและปั้นแต่งได้ง่ายกว่า เพราะยังไม่มีแนวอนุรักษ์นิยม ติดนิสัยกิจวัตรตายตัว ความเคร่งเครียดกับนิสัยแบบใดแบบหนึ่ง เห็นได้ชัดจากการแต่งกายและการแสดงออก
....คนต่างวัยมีกิจกรรมร่วมกัน มีปฎิสัมพันธ์โดยไม่ตะขิดตะขวงใจ เล่นและปล่อยตัวตามสถานการณ์
....ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทำให้มนุษย์แตกต่างจากคอมพิวเตอร์
ช่วงเวลาที่หลุดพ้นจากหน้าที่การงาน เขาได้ปลดแอกจิตวิญญาณของตน คือ การเติมสีสันในชีวิต Galunphing
....เราเติมสีสันให้ชีวิต เมื่อเราเดินไปกระโดดไป แทนที่จะตั้งหน้าตั้งตาเดินอย่างเดียว หรือเมื่อเราเลือกใช้เส้นทางที่มีทัศนียภาพงดงาม แทนที่จะใช้เส้นทางที่สะดวก หรือเมื่อเราใส่ใจวิธีการมากกกว่าผลลัพธ์ การกระทำเช่นนี้ เสเพล เกินความจำเป็น เกินเหตุ และ ฟุ่มเฟือย (สตีเฟน นาชโนวิช)
....เป็นช่วงเวลาที่ไม่มีคำถามเลยว่าทำไม หรือ ทำไปแล้วได้อะไรตอบแทน แต่ทำให้ค้นพบเสียงที่แท้จริงของตัวเองผ่านการเดินทางและสิ่งที่ลงมือทำ และให้พื้นที่ตนเองมากพอที่จะได้ยินเสียงสัญชาตญาณของตนเอง และปล่อยตัวไปตามสัญชาตญาณที่ค้นพบ
....การลงมือทำสิ่งแปลกใหม่ เป็นศิลปะแห่งการสังเกตตนอย่างเป็นกิจวัตร Janette Rainwater ทำให้รู้ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร วิตก กลัว ตื่นตาตื่นใจ เป็นกระบวนการตั้งคำถามกับตัวเองว่า จะรับมือกับแต่ละช่วงเวลาได้อย่างไร
2. ก้าวสู่ขั้นสำรวจ Becoming an explorer
....จินตการถึงความตื่นเต้น ความใคร่รู้ การผจญภัยค้นหาความจริง ความวิตกกังวล ไม่ลงหลักปักฐาน ลอยตัว เลี่ยงภาระทางการเงิน ขยับขยายง่าย เป็นช่วงของการต้นพบ เดินทาง และ ค้นหาตัวเอง
....นักสำรวจจะค้นหาความจริงเกี่ยวกับโลกรอบตัว มีอะไรบ้าง มีวิถีอย่างไร ตัวเองชอบ เก่งอะไร เริ่มต้นด้วยการถอนรากจากชีวิตประจำวัน และ ประสบการณ์ที่พบเจอทุกวัน เห็นผลดีที่สุดเมื่อไม่ได้เพียงสังเกตการณ์แบบนักท่องเที่ยวชมเมือง แต่เป็นขั้นตอนของการเข้าไปมีส่วนร่วม
....นักแสวงหา Seacher ออกเดินทางเพื่อค้นหาคำตอบที่ตนเองกังขา ซึ่งมีที่หมายในใจ พร้อมคำถามว่า สิ่งที่ฉันเห็นว่าสำคัญจริงๆคืออะไร สิ่งที่ฉันใส่ใจคืออะไร ฉันคือใคร (มีคำถามนำ)
....นักผจญภัย Adventurer ไม่มีจุดหมายใดนอกจากการค้นพบสิ่งใหม่ สร้างเรื่องราวที่บอกชีวิตในอนาคต พบเห็นอะไรมาบ้าง พบปะใครมา ได้เรียนรู้อะไรบ้าง เป็นแก่นแท้ของการเป็นมนุษย์ คือ มีอิสระเสรีที่ได้ขยับขยายไปรู้จักโลกภายนอก
....นักสำรวจเป็นผู้ขยับขอบเขตของตัวตน ดึงตัวเองออกจากบรรทัดฐาน ท้าทายตนเอง อยู่ในจุดสุดขอบของระบบ The edge of the system : Otto Scharmer เมื่ออยู่จุดนี้ จะมองเห็นสมมติฐานและคุณค่าของตัวเอง
....ผู้นำที่มีความเข้าใจตนเองดี มีหลักศีลธรรมที่หนักแน่น มีประสบการณ์ที่หล่อหลอมตัวตน คือ ช่วงเวลาที่เขาทำความรู้จักชีวิตคนอื่นอย่างลึกซึ้ง เข้าใจความเจ็บปวด ความทุกข์ ความเบื่อหน่าย ควมปิติ (เอาใจเขาใส่ใจเรา) การหล่อหลอมตัวตน เช่น เข้าไปในบรรยากาศที่ไม่เคยประสบมาก่อน ต้องคอยตั้งคำถาม สังเกตอย่างละเอียด ฟังอย่างตั้งใจ ประสบการณ์เหล่านี้ เป็นการเผชิญหน้ากับคุณค่าของตัวเอง คิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของตัวเอง และ บทบาทของตัวเอง ทำให้รู้ว่าแต่ละคนมีที่มาที่ไปอย่างไร เผชิญกับความบีบคั้นประการใดบ้าง ได้รับโอกาสอะไรในชีวิตบ้าง
....วัยที่ออกสำรวจ เรียนจบ-30ต้นๆ มักเป็นนักแสสงหา ที่มุ่งเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง ต้องออกไปค้นหาข้างนอก ผ่านบททดสอบและเผชิญปัญหา พบเจอเหตุการณ์กระตุ้นอารมณ์
....40กว่ารู้ว่าไม่ต้องการอะไร แต่ไม่เข้าใจว่าต้องการอะไร ต้องใช้เวลาทดลอง ไตร่ตรอง ปลดปล่อยตัวเองจากนิสัย และ บทบาทเดิม เริ่มค้นหาการศึกษา ฝึกทักษะใหม่ๆ
....70กว่า ปัดชีวิตประจำวันทิ้ง สวมบทนักผจญภัย ทำให้ฟื้นชีวิตใหม่
....ในชีวิตที่ยืนยาว ค่าเสียหายของการตัดสินใจผิดๆ และความผิดพลาดจะสูงขึ้น การสำรวจทางเลือก คุณค่าของคู่ที่เหมาะสม ทั้งด้าน lifestyle หน้าที่การงาน การพึ่งตนเอง
3. ช่วงชีวิตนักผลิตอิสระ Being an Independent producer
....กิจกรรมทางเศรษฐกิจแนวใหม่ที่เกิดขึ้นคือ การเป็นผู้ประกอบการแบบใหม่ หุ้นส่วน และ บริษัทที่ไม่เหมือนเดิม เป็นผู้สร้างงานมากกว่าหางาน ซึ่งแตกต่างจากผู้ประกอบการแบบเดิม ตรงขนาดของธุรกิจและการคาดหวัง เป็นการออกแบบร้านเพื่อสร้างกระแส เน้นกิจกรรมมากกว่าผล จุดกระแสมากกว่าขายของ ไม่เน้นสร้างตัวองค์กร หรือสะสมทรัพย์สิน แต่ สั่งสมทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้เยอะ
....การสร้างงานต้นแบบ Prototy Ping : อ็อตโต ชาร์เมอร์ ได้ผลดีที่สุดเมื่อเกิดจากการใส่ใจเต็มที่ มีวินัยสร้างที่กระชับเพื่อเรียนรู้มากและลึกซึ้ง
....ขั้นของการเป็นนักผลิตอิสระ เป็นช่วงเดียวกับที่ต้องการสร้างความชำนาญเฉพาะทาง เรียนรู้ ผลิตผลงาน ตัวเองคือการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์ ประเด็นสำคัญคือ มีพื้นที่เผือให้ความล้มเหลว เรียนรู้ผ่านการลงมือ หาเงินพอไหม หาทรัพยากรจำเป็นได้ไหม เส้นสายที่ยืมเงินมีไหม ความช่วยเหลือคำแนะนำมีไหม เป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ที่ต้องลงทุน เน้นการสร้างผลงาน ชื่อเสียง
....การรวมกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จะรวมกลุ่มเรียนรู้กันและกัน คนที่ให้ความสำคัญกลุ่มนี้ คือนักการตลาด เพราะเป็นกลุ่มที่มีรูปแบบการบริโภคที่ไม่เหมือนใคร ปฎิสัมพันธ์ของคนกลุ่มนี้สร้างสรรค์มากพอกับการบริโภค
....ผู้ประกอบการเก่า หวงลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา แต่กลุ่มนี้เน้นการแบ่งปัน การลอกเลียน ทำซ้ำ เป็นการชื่นชม สร้างชื่อเสียงให้เจ้าของความคิด แนวคิดทุกคนมีเอี่ยว
....เศรษฐกิจแบ่งปันเฟื่องฟู เช่น AirBNB , Simplist ยืมของใช้ในบ้านชั้นดี , Lyft ติดรถเป็นประจำโดยไม่ได้รับค่าโดยสาร , Dogvacay ฝากสัตว์เลี้ยงไว้บ้านที่รับเลี้ยง
ข้อดีคือ สร้างรายได้ให้ของที่ซื้อมา และ ได้ประโยชน์จากสินทรัพย์โดยไม่มีภาระ
4. สร้างพอร์ตโพลิโอ Crafting & Portfolio
....เป็นช่วงเวลาที่อยากทำหลายๆอย่างพร้อมๆกัน สร้างความสมดุลทั้ง 3 ด้าน
A. ทั้งหาเงินให้พอกับที่ใช้ และ เพิ่มเงินออม
B. หาตำแหน่งพาร์ไทม์เพื่อต่อยอด สร้างชื่อเสียง ทักษะ กระตุ้นให้ใช้ความคิด
C. พัฒนาบทบาทเพิ่มเติมช่วยเปิดกว้างโอกาสในการเรียนรู้ สร้างเป้าหมายในชีวิต คือ มีแรงจูงใจ หาเงิน สำรวจ สร้างพลังชีวิต แรงผลักดัน เรียนรู้ ตอบแทนสังคม
...การขยับจากชีวิตงานประจำเป็นขั้นพอร์ตโพลิโอ ต้องอาศัยความยืดหยุ่น ทั้งความคิด และ รูปแบบการทำงาน ทรัพย์สินการปรับตัวเริ่มมีบทบาท เพราะเครือข่ายจะขยายออกไป การสื่อสารให้คนรับรู้ถึงทักษะกับความสำเร็จในวงกว้าง
....ความท้าทายของขั้นนี้คือ ไม่ได้ผลตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อกับแรงและเวลาที่ลงไป แต่เราสามารถลดต้นทุนได้คือทำให้ลักษณะงาน กิจกรรมส่งเสริมกัน เชื่อมโยงกัน คล้ายกัน
....กลุ่มนี้มักเกิดในวัย GenY มีข้ออีกอย่างคือ Yahoos (Young Adults Holding Options) คนหนุ่มสาวที่มีทางเลือก
5. ธรรมของการเปลี่ยนผ่าน The Nature of Transitions
....คนส่วนใหญ่ไม่มีทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้เกี่ยวข้องกับการปรับตัว ทำให้เผชิญกับชีวิตหลายขั้นยาก
....การเปลี่ยนผ่าน คือ รอยต่อที่ชี้ชัดไม่ได้ระหว่างขั้นต่างๆ แต่ไม่สามารถเข้าใจอย่างถ่องแท้ตอนที่เกิดขึ้น
....การเปลี่ยนผ่านเริ่มจากรู้สึกว่ามีอะไรในชีวิตไม่สอดคล้องกัน ตัวตนที่น่าเป็นไปได้มีความสำคัญ เกิดการลงมือทำ เกิดการสำรวจเมื่อเกิดไอเดีย เครือข่ายที่หลากหลายมีความสำคัญมาก เริ่มเปลี่ยนแปลง ได้พบช่วงเวลาที่ได้เดินตามความมุ่งมั่น สร้างทางเลือกใหม่ให้อนาคต
....เกิดขึ้น2แบบ
A. เติมพลัง Recharge หลังจากการทำงานหนัก ต้องการแรงกระตุ้น และการเติมเต็มทางจิตใจ การหยุดพัก หลังจากเปลี่ยนผ่านจะไปทำงานแบบเดิม
B. การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ Re-Creation เรียนรู้ทักษะ ความรู้ใหม่ๆ สร้างเครือข่ายใหม่ หามุมมองใหม่ ทำงานเพิ่ม มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนเครือข่าย ทักษะเพื่อก้าวสู่ขั้นต่อไป
เรื่องเงินทอง
....การวางแผนการเงินระยะยาวยุ่งยาก ต้องอาศัยการรู้จักตนเอง ต้องตอบคำถามยากๆ ต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ว่า อนาคตต้องมีอะไร มีความฝันอะไร
....แนวคิดเกี่ยวกับทรัพย์สินเพื่อการปรับตัว
A. ความสำคัญของศักยภาพ (ฉันเชื่อว่าฉันสามารถที่จะทำแบบนี้ได้) ฉันต้องมีเท่าไหร่ถึงพอกิน อยากทำงานนานแค่ไหน มีความรู้เกี่ยวกับการเงินมากแค่ไหน
B. มองการณ์ไกล (ฉันสามารถควบคุม และ มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จจนได้)
....คนส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการคิด ตรรกะ3ประการ ที่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา
A. คิดไปเองว่าจะอยู่รอดได้ โดยมีเงินเกษียณน้อยกว่า50% ....ตอนนี้เรามค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ การเกษียณไม่มีทางจะลดลง มีแต่มากขึ้น โดยเฉพาะการรักษาพยาบาล
....การออมเงินเพื่อการเกษียณอาจไม่เกี่ยวกับการซื้อคอนโดริมหาดหรู เท่ากับการมีเงินพอซื้อลิฟต์สำหรับรถเข็น มีพยาบาลส่วนตัว และ จ่ายค่าบ้านพักคนชรามาตราฐานสูง (Jonathan Skinner)
B. คิดไปเองว่า มูลค่าบ้าน จะนำมาใช้เลี้ยงตัวยามเกษียณได้....คนปกติไม่ขายบ้านในวัยชรา ยกเว้นมีเหตุการณ์กระทบจิตใจ เช่นป่วย หรือการจากไปของคู่ชีวิต
C. เชื่อว่าถ้าเราปรับพฤติกรรมการลงทุนเป็นแบบรุกมากขึ้น จะได้ผลตอบแทนมากขึ้น
....ทำอย่างไรถึงจะมีความรู้เรื่องเงินทองมากขึ้น คือ ควรเริ่มออมและลงทุนแต่เนิ่น เพราะประสบการณ์เป็นหนทางที่ดีที่สุดในการเพิ่มทุนความรู้ด้านการเงิน
....เมื่อผู้คนรู้เรื่องการเงินเพิ่มขึ้น จะรู้เองว่าไม่มีการลงทุนใดที่เป็นการหาเงินได้ง่ายๆ
....ประเด็นทางการเงินในครัวเรือนที่ผู้คนมักเข้าใจผิด (John Campbell ศาสตราจารย์กล่าวในงานปาฐาถา America Finance Association)
A. ครัวเรือนส่วนใหญ่มักลงทุนในตลาดตราสารทุนน้อยเกินควร
B. มักลงทุนในหุ้นที่ตนเองคุ้น หรือ บริษัทใกล้ตัว
C. มักลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ตนทำงาน
D. มักเลือกขายสินทรัพย์ที่มีมูลค่าขึ้น และเก็บสินทรัพย์ที่อยู่ในขาลงไว้
E. เรื่องของการนิ่งเฉย มักยึดติดกับสถานะปัจจุบัน และไม่ได้ย้อนกลับมาประเมินพอร์ตของตนเองเท่าที่ควร
....เมื่ออายุยืนยาวขึ้น ยิ่งควบคุมตัวเองได้น้อยเท่าไหร่ ผลเสียยิ่งทวีคูณขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นเลือกทำสิ่งที่ทำในวันนี้ กับความจำเป็นในวันหน้า
....ความล้มเหลวในการควบคุมตัวเองคือ สมองส่วนหน้าบอกให้ทำส่ิงที่เอื้อประโยชน์ในระยะยาว ระบบลิมปิกคอยกระตุ้นให้ตักตวงความสุขขณะนี้ เหมือนควาญช้างให้ไปอีกทาง แต่ตัวช้างก็ไปตามทางที่ตัวเองต้องการ
....หลักการลดค่าแบบไฮเปอร์โบล่า (Hyperbolic Discounting : Richard Herrnstein + David Laibson) คือ ผู้คนไม่สามารถอดใจรอรางวัลในระยะสั้นได้ แต่จะอดทนอดกลั้นกับแผนระยาวมากกว่า คือ คนเราอยากใช้เงินวันนี้ มากกว่าใช้เงินวันหลัง และอยากกินเค็กตรงหน้ามากกว่าที่จะลดน้ำหนัก
....องค์ประกอบของการลดค่าแบบไฮเปอร์โบล่ามี 3 ประการ
A. สามารถรู้สึกรับผิดชอบตัวเองในอนาคตได้ดี
....ต้องมองเห็นการกระทำวันนี้ ส่งผลต่อไปถึงตัวตนในอนาคต วิธีการคือ การสะกิดให้เปลี่ยนพฤติกรรม (Behavioural nudge) คือจินตนาการว่าตัวคุณวัย 80 นั่งอยู่ข้างๆ จะวางแผนให้เขาอย่างไร คนที่เห็นภาพเสมือนจริงตอนแก่ของตัวเอง ตัดสินใจเก็บเงินมากกว่าถึง2เท่า
B. ความสามารถในการตัดสินใจเปลี่ยนแผนทีหลัง หรือ ทำตามแผนที่วางไว้
....การเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตต้องอาศัยการหักห้ามใจจากเรื่องที่อยากทำในระยะสั้นเพื่อประโยชน์ของอนาคตระยะยาว แต่คนเรามีการเปลี่ยนใจ เพราะฉะนั้นหากทำให้เป็นเรื่องอัตโนมัติจะมีการเปลี่ยนใจน้อยลง เช่น โอนเงินออมอัตโนมัติ กุญแจสำคัญคือ การนิ่งเฉยและตรวจสอบค่าใช้จ่ายของการเปลี่ยนคำร้องในอนาคต
C. การปะทะกันระหว่างความไม่อดทนในระยะสั้น และ ความอดกลั้นในระยะยาว หรือ การสร้างเกราะป้องกันให้ตนเองยามแก่
....การตัดสินใจทางการเงินที่ดี ต้องอาศัยปัจจัย2ประการ คือ ประสบการณ์กับความรู้ และ การคิดวิเคราะห์ เพราะฉะนั้น จุดสูงสุดคือช่วงอายุ40-50ปี จึงควรวางแผนการเงินในวัยกลางคนแทนการพึ่งตัวเองในอนาคตมาแก้ปัญหาเงินไม่พอ
....แรงจูงใจในการออมอีกประการคือ อยากทิ้งมรดกให้ลูกหลาน แต่อาจมีแรงจูงใจแอบแฝง เช่น พ่อแม่สามารถบงการให้ลูกหลานเอาใจ หรือให้ทำสิ่งต่างๆให้โดยใช้มรดกเป็นเครื่องมือ
เรื่องเวลา
....เปลี่ยนเวลาสันทนาการเป็นเวลาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ From Recreation to Re-Creation
....คุณจะใช้เวลานาที ชั่วโมง วัน สัปดาห์ ที่เพิ่มมาในชีวิตอย่างไร หาเงิน หาวิชาเรียน เพื่อเปลี่ยนเวลาเป็นทักษะใหม่ หรือนอนดูทีวี
....แง่ปริมาณ อายุ70 มีเวลา 671,000 ชั่วโมง ....อายุ 100 มีเวลา 873,000 ชั่วโมง
แง่คุณภาพ ...ใช้เวลาเพิ่มสิ่งที่ตนเองต้องการ สร้างฐานะ ฝึกทักษะ ใช้เวลากับเพื่อนฝูง คู่ชีวิต ลูกหลาน ดูแลสุขภาพ สร้างเครือข่าย หางานใหม่ ใช้ชีวิตแบบใหม่
....ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจของคนรุ่นหลาน (Economic possibilities of our Grandchildren : John Maynardkeynes) ความมั่งคั่งที่เพิ่มพูนขึ้น นำไปสู่เวลาว่างอันเหลือเฟือ คือเมื่อหลุดพ้นปัญหาเฉพาะหน้าที่แล้ว มนุษย์จะใช้อิสรภาพอย่างไร มนุษย์จะเอาเวลาว่างที่วิทยาศาสตร์และดอกเบี้ยทบต้น หยิบยื่นมาให้ไปทำอะไร จะใช้ชีวิตชาญฉลาด เป็นอันหนึ่งอันเดียวและสมบูรณ์ได้อย่างไร
....ทำไมทำงานน้อยลง แต่รู้สึกว่าขัดสนเวลา เพราะไม่ใช่ทุกคนจะทำงานน้อยลง เพราะปัจจัยเรื่อง
A. ผลพวงจากการแทนที่ Substitution effect ค่าจ้างสูงขึ้น ต้นทุนของเวลาว่างจะสูงตาม
B. รายได้เพิ่มขึ้น เวลาว่างราคาแพงขึ้น เลยทำงานนานขึ้น และ ประเด็นภาษี ซึ่งจ่ายภาษีมาก การบริโภคเวลาว่างยิ่งมีราคาถูกลง
C. การรู้สึกว่ายุ่ง คือเป็นที่ต้องการ รู้สึกดีกับตัวเอง คนรอบข้างเห็นคุณค่า
D. ปรากฎการณ์ช่วงว่างตรงกลางของตลาดงาน ผู้ชนะกวาดเรียบ ทำให้ต้องตื่นตัวกับงาน 24 ชั่วโมง
E. ยิ่งงานน่าพอใจ (แม้จะเครียดและกดดัน แต่เงินเดือนสูง) ยิ่งพร้อมใช้เวลาทำงานมากขึ้น
F. รู้สึกว่าต้องแบ่งเวลาว่างเพื่ออัดกิจกรรมลงไป เช่น ดูละคร เล่นเฟส ปาร์ตี้ ตกปลา ดูหนัง เพราะการบริโภคต้องใช้เวลา (Gary Becker + Staffan Linder)
....คนรู้สึกขัดสนเวลา ไม่ใช่เวลาส่วนตัว (Discretionary time) แต่เป็นเวลาเหลือใช้ (Spare time)
....การจัดสรรเวลาใหม่ การเปลี่ยนวิธีการใช้เวลาว่างจากหน้ามือเป็นหลังมือ ในชีวิต100 ปี มีความจำเป็นที่ต้องมุ่งทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวกับเพื่อนฝูง ทักษะกับความรู้ สุขภาพกับกำลังชีวิต
....เวลาว่างเพิ่มขึ้น การเติบโตของสันทนาการเพิ่มขึ้น เราจึงใช้เวลาส่วนตัวไปกับสิ่งเหล่านี้ เป็นการบริโภคเวลามากกว่าการใช้เวลา เมื่ออายุยืนขึ้น แทนที่จะบริโภคเวลา คาดว่าคนเราจะใช้เวลาลงทุนในทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ เกิดการใช้เวลาสร้างสรรค์สิ่งใหม่มากกว่าเวลาสันทนาการ คือ การใช้เวลาทำงานให้คุ้มค่า เช่นการพัฒนาตนเอง (Karl Marx)
เรื่องความสัมพันธ์
....เราจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์ที่มีความยืดหยุ่น ครัวเรือนลูกน้อยลง มีปู่ย่าตาทวดมากขึ้น ครอบครัวมี4รุ่นอยู่ด้วยกัน ความสัมพันธ์ข้ามรุ่นทำให้ชีวิตยืนยาว ความเหงาในวัยชราเป็นเรื่องอันตราย อายุที่แยกกันมักเป็นผลจากกิจกรรมหลายอย่างที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อนมีหลากหลายกลุ่มากขึ้น มิตรภาพจะเป็นความสัมพันธ์ที่คล้ายครอบครัว
....ยุคเบบี้บูม ครอบครัวอ้างอิงจากแนวคิด "ความสัมพันธ์ที่เกื้อหนุนด้านการผลิต" (Production complementarities: แกรี่ เบคเกอร์) คือ สามีทำหน้าที่สร้างทรัพย์สินที่จับต้องได้ ภรรยาสร้างทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ 2ฝ่ายอาศัยกันและกัน
....เมื่ออายุยืนขึ้น เกิดการพลิกโฉมความสัมพันธ์(Tranformation of intimacy) มาแทน คือ เกิดจากการคิดถึงเหตุและผลของทั้งสองฝ่าย เปิดกว้างการปรับเปลี่ยน ซักถามกันได้ ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่น ความผูกพันว่าจะฝ่าฟันความยากลำบากในอนาคตร่วมกัน แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกกันง่าย เพราะฉะนั้นการประคับประคองความสัมพันธ์ผ่านความกดดันและขัดแย้งเป็นเรื่องสำคัญ
....ความสัมพันธ์เกื้อหนุนการผลิต เปลี่ยนเป็นความสัมพันธ์ที่เกื้อหนุนการบริโภค (Consumption complementarities) พบว่าคู่ชีวิตจะวัยใกล้เคียงกัน การศึกษาพอๆกัน รายได้สมน้ำสมเนื้อ เป็นการเลือกคู่ตามลักษณะที่คล้ายตัวเอง ช่วยกันทำงานบ้าน เพื่อทั้งสองฝ่ายได้ใช้เวลาพัฒนาทักษะใหม่ๆ
....ในอายุที่ยืนขึ้น คาดว่าครัวเรือนมีรายรับ2ทาง ทั้ง2ฝ่ายสลับกันเป็นผู้หาเงินหลัก ต้องร่วมมือประสานกันมากขึ้น เชื่อใจกัน วางแผนอย่างละเอียดรอบคอบ ต้องทำอย่างไรจึงมีชีวิตคู่ที่ประสบความสำเร็จ
....วางแผนมีลูกน้อยลง มองว่าพลังชีวิตและเพื่อนฝูงมีความสำคัญมากพอๆกับการมีลูก อีกอย่างเพราะต้องใช้เวลาในการค้นหา เมื่อตัดสินใจมีลูกช้าจึงมีลูกยาก
....มีงานวิจัยว่าผู้หญิงที่เลื่อนการเป็นแม่คนออกไปจะมีรายรับตลอดชีพมากกว่า
....คุณค่า5ประการที่ทำให้รายได้สูงขึ้น เป็นช่องว่างระหว่างเพศ เช่นอาชีพทนาย
A. คนๆนั้นพร้อมทำงานที่มีความกดดันด้านเวลาอย่างมากหรือไม่
B. เขาจะรับงานที่ตนเองมีอำนาจน้อยมาก ที่จะเลือกเวลาที่ต้องอยู่หน้างานได้หรือไม่
C. เขาเตรียมพร้อมทำงานที่ต้องยืดหยุ่นในการจัดสรรตารางเวลาของตัวเองหรือไม่
D. เขาอยากได้งานที่ต้องติดต่อกับคนอื่นในทีมเป็นประจำหรือไม่
E. งานที่ทำเป็นงานที่มีเขาทำได้แค่คนเดียวและหาคนมาทำแทนได้ยากใช่หรือไม่
....เมื่อความยืดหยุ่นและการมีอำนาจเลือกได้ด้วยตนเองเพิ่มขึ้น ผลตอบแทนจะลดลง เช่น อาชีพในวงการเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ รายได้ถูกกดต่ำ และ โอกาสในหน้าที่การงานเริ่มมีข้อจำกัด
....การหย่าร้าง อาจมีการหย่าน้อยลงเนื่องจากดูใจกันนานขึ้น. คู่แต่งงานใกล้เคียงกันมากขึ้น ตัดสินใจแต่งงานช้า แต่อาจมีการหย่ามากขึ้นเช่นกัน เพราะชีวิตยาวขึ้นผู้คนไม่อยากทรมาณกับชีวิตคู่ที่ต้องพยายาม แต่มีนัยทางการเงิน มีข้อตกลงที่ยุ่งยาก
วาระเพื่อการเปลี่ยนแปลง Agenda for chage
....ประเด็นที่เร่งด่วนที่สุด คือ ทำอย่างไรให้มีเงินเลี้ยงชีวิตได้ตลอดรอดฝั่ง คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น สร้างความเข้าใจ เตรียมตัวให้พร้อม
....ผลกระทบใหญ่หลวงของชีวิตที่ยืนยาว คือ ความรู้สึกเกี่ยวกับตัวเอง Sense of self คำถามหลักๆ ที่ต้องตอบคือ การเดินทางครั้งนี้ จะเป็นไปในรูปแบบไหน ทำอย่างไรจึงจะเรียกได้ว่าเป็นการเดินทางของคุณอย่างแท้จริง คำตอบขึ้นกับทางเลือกที่คุณเลือก คุณค่าที่คุณยึดถือเป็นตัวกำหนด สร้างลำดับของเหตุการณ์ ขั้นของชีวิต และ ช่วงเปลี่ยนผ่าน ประกอบกันเป็นความรู้สึกเกี่ยวกับตนเอง และ อัตลักษณ์ของคุณ
....อัตลักษณ์ Identity / Relation R เป็นสิ่งที่เชื่อมโยง อดีต ปัจจุบัน อนาคต เวลาที่มากขึ้น ทำให้เราได้สำรวจตัวเอง ใช้ชีวิตใกล้เคียงกับคุณค่าที่ตัวเองยึดถือ วาดฝันไว้ให้มากสุด แทนที่จะเดินตามที่สังคมกำหนด เมื่อก่อนทำตามพ่อแม่ปู่ย่า ปัจจุบันมีต้นแบบให้เราเลือกเดินตามเยอะ
....การวางแผนและ เตรียมพร้อมเป็นเรื่องสำคัญ แต่มีคนมองโลกในแง่ดีมากไป ทำให้ไม่ได้ทำและวางแผนเหมาะสม เรียกว่า การจงใจปิดหูปิดตา (Willful Blindness) ความท้าทายคือ ผลพวงของความผิดพลาดยาวนานขึ้น การทดลองเป็นเข็มทิศให้ไปยังจุดหมาย
....การพยายามเข้าใจความรู้สึกของตนเอง เป็นปัจจัยที่ทำให้สามารถจัดสรรขั้นต่างๆของชีวิต และช่วงเปลี่ยนผ่านได้อย่างเหมาะสม
....ความเชี่ยวชาญ คือ แรงจูงใจที่จะเรียนรู้มีมากพอหรือไม่ กุญแจสู่ความเชี่ยวชาญคือ ศักยภาพ (ความรู้ความสามารถ) และ การมองการณ์ไกล (การควบคุมตนเอง การจัดสรรตัวเอง) ซึ่งมีผลต่อการฝึกความเชี่ยวชาญ เพราะต้องเสียสละความสุขระยะสั้น เพื่อประโยชน์ระยะยาว เป็นพฤติกรรมที่เรียรู้กันได้ ต้องมีคุณสมบัติ Growth Mindset ทำให้ดยงแผนอนาคต และ ผลักดันตัวเองออกจากสิ่งที่คุ้นเคย (Comfort Zone) และมุ่งไปข้างหน้า ตั้งเป้าการเรียนรู้ที่ยาก และ ท้าทาย
....ชีวิตที่ยืนยาวต้องเรียนรู้ตลอดเพื่อปรับตัวในโลกการทำงาน ต้องอาศัยการรู้จักตนเอง มีทักษะ การศึกษาที่สูง มีการเงินเพื่อประคับประคองช่วงเปลี่ยนผ่าน มีความเข้มแข็งในการเจรจาต่อรอง รับมือความเครียดได้ดี มีสมดุลในงานและครอบครัวและเพื่อนฝูง
....ทำไมคนถึงยังไม่ค่อยตระหนัก เพราะการเปลี่ยนแปลงค่อยๆเพิ่มขึ้น เหมือนเอากบใส่หม้อที่น้ำค่อยๆร้อนขึ้น กบไม่กระโดดออกมาจนสุก
....www.100yearlife.com
เพิ่มการพัฒนาตัวเองวันละนิด
เหมือนเติมวันละ 1 องศา
1 วัน อาจจะไม่มีอะไร
10 วันไม่มีความต่าง
แต่ 100 วันล่ะ 1000 วันล่ะ
จะเปลี่ยนแปลงไปโดยแทบไม่เห็นร่องรอยเดิม
มาร่วมกันหา1องศา เพื่อเติมเต็มวงล้อชีวิตให้สมบูรณ์ไปกับเพจ #องศาที่หายไป
👍🏻เลื่อนนิ้วโป้งกด Like กด Share ให้จูลสักนิด..เพื่อชีวิตที่มีกำลังใจให้จูลนะคะ..ขอบคุณค่ะ
⭐️ติดตามที่ Blockdit
❤️ติดตามที่ Youtube
💙ติดตามที่ Facebook
#สรุปหนังสือ #ชีวิต100ศตวรรษ #100yearlife #รีวิวหนังสือ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา