Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
3 ม.ค. 2021 เวลา 22:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
การทำงานของเครื่องช่วยหายใจ!
3
การทำงานของเครื่องช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจทำงานอย่างไร?
ระบบหายใจ
ร่างกายจะหดกะบังลมเมื่อเราหายใจ
ซึ่งจะทำให้ช่องอกของเราขยาย
เพราะมีการรับอากาศเข้าไป และเกิดการพองตัวของถุงลมที่มีขนาดเล็กจำนวนนับล้านอยู่ในปอดของเรา ถุงลมเหล่านี้จะมีเส้นเลือดฝอยล้อมรอบ กระจายตัวเป็นตาข่ายที่คอยรับออกซิเจนเข้ามาและทิ้งคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาตอนที่กะบังลมเกิดการคายตัว ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
ปัจจัยที่ทำให้ระบบหายใจหยุดทำงาน
- โรคหยุดหายใจขณะหลับ
ร่างกายจะหยุดการหดตัวของกะบังลม
- โรคหอบหืด
นำไปสู่การอักเสบของทางเดินหายใจ
- โรคปอดอักเสบ
จะถูกกระตุ้นจากการติดเชื้อของแบคทีเรียหรือไวรัส เข้าไปโจมตีถุงลมโดยตรง
ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ปอดไม่สามารถทำงานได้ปกติ จึงต้องมีเครื่องช่วยหายใจที่จะเข้าไปควบคุมกระบวนการนำออกซิเจนเข้าไปยังร่างกาย
#สาระจี๊ดจี๊ด
ในศตวรรษที่ 16 แอนเดรียส เวซาเลียส แพทย์ชาวเฟลมิช อธิบายวิธีการช่วยชีวิตสัตว์ที่หายใจไม่ได้ โดยการใส่ท่อเข้าไปในหลอดลม และเป่าลมเข้าไปเพื่อทำให้ปอดพองตัว ในปี 1555 กระบวนการนี้ ไม่ได้รับความสนใจมากนัก แต่ทุกวันนี้ บทความของเวซาเลียส กลายเป็นที่ยอมรับ ในฐานะการบรรยายแรก เกี่ยวกับเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการแพทย์แผนปัจจุบัน
การทำงานของเครื่องช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจจะมีวิธีการทำงานอยู่หลัก ๆ 2 วิธี คือ...
1. สูบอากาศเข้าไปในปอดของผู้ป่วยผ่านเครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก
2. ปล่อยให้อากาศไหลเข้าไปผ่านเครื่องช่วยหายใจแรงดันลบ
กรณีที่ไม่รุนแรง การช่วยหายใจ สามารถทำได้โดยไม่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ
โดยส่วนใหญ่จะใช้หน้ากากที่ครอบจมูก และปาก แล้วอัดอากาศเข้าไป ซึ่งอากาศก็จะเดินทางไปยังทางเดินหายใจของผู้ป่วย
แต่! ในกรณีที่มีความรุนแรง
เราจำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์ ที่ควบคุมกระบวนการหายใจทั้งหมด ท่อจะถูกใส่เข้าไปในหลอดลมของผู้ป่วย เพื่อสูบอากาศเข้าไปในปอดโดยตรง พร้อมกับชุดของลิ้นเปิดปิด และท่อแขนงต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดวงจรการหายใจเข้า และออก
ในเครื่องช่วยหายใจที่ทันสมัยส่วนมาก ระบบคอมพิวเตอร์ฝังตัว ซึ่งใช้ประมวลผลการหายใจของผู้ป่วย และปรับระดับการไหลของอากาศ เครื่องมือเหล่านี้ไม่ได้ถูกใช้ในการรักษาโดยทั่วไป แต่ค่อนข้างจะเป็นทางออกสุดท้ายมากกว่า
การทนต่อแรงดันอากาศที่อัดเข้ามา จำเป็นต้องทำให้เกิดการลดลงของการรับรู้ และการใช้เครื่องช่วยหายใจซ้ำ ๆ อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อปอดในระยะยาว แต่ในสถานการณ์ที่ร้ายแรงที่สุด เครื่องช่วยหายใจอาจเป็นสิ่งชี้เป็นชี้ตาย และในเหตุการณ์อย่างการแพร่ระบาด ของเชื้อ COVID-19 ทำให้เราเห็นว่าอุปกรณ์เหล่านี้ มีความสำคัญมากกว่าที่เราคิดเสียอีก
แต่เนื่องจากแบบในปัจจุบัน มีความเทอะทะ มีราคาแพง และต้องมีผ่านการฝึกเพื่อเรียนรู้การใช้งาน โรงพยาบาลส่วนใหญ่จึงมีเครื่องมือนี้ไม่มาก ซึ่งอาจจะเพียงพอภายใต้สถานการณ์ปกติ แต่ภาวะฉุกเฉิน ทำให้อุปกรณ์ ที่มีจำนวนน้อยยิ่งขาดแคลน
1
โลกของเราต้องการเครื่องช่วยหายใจ ที่มีราคาถูก และเคลื่อนย้ายได้อย่างเร่งด่วน รวมถึงวิธีที่รวดเร็วขึ้น ในการผลิตและแจกจ่าย เทคโนโลยีที่ช่วยชีวิตของเรา
#สาระจี๊ดจี๊ด
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เครื่องช่วยหายใจที่เป็นที่สนใจ คือ ชนิดแรงดันลบ ซึ่งมีความใกล้เคียงกับการหายใจโดยธรรมชาติ และมีการกระจายของอากาศ ในปอดอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อทำสิ่งนี้ แพทย์ได้สร้างผนึก ที่แน่นหนารอบ ๆ ตัวผู้ป่วย โดยการล้อมพวกเขาไว้ในกล่องไม้ หรือห้องที่ถูกปิดผนึกอย่างดี หลังจากนั้นอากาศก็ถูกสูบออกจากห้อง ทำให้ความดันอากาศลดลง ส่งผลให้ช่องอกของผู้ป่วย ขยายตัวได้ง่ายขึ้น ในปี 1928 แพทย์ได้พัฒนา อุปกรณ์พกพาได้จากโลหะ พร้อมเครื่องสูบที่ทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า
เครื่องจักรเครื่องนี้ซึ่ง เป็นที่รู้จักในชื่อ "ปอดเหล็ก" กลายเป็นสิ่งที่ติดตั้งอยู่ในโรงพยาบาล ตลอดช่วงกลางศตวรรษที่ 20
อย่างไรก็ตาม
แม้กระทั่งเครื่องช่วยหายใจ แรงดันลบที่กะทัดรัดที่สุด ก็จำกัดการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยอย่างมาก และขัดขวางการเข้าถึงของผู้ดูแลผู้ป่วย ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลในช่วงทศวรรษที่ 1960 จึงหันมาสนใจเครื่องช่วยหายใจแรงดันบวกแทน
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา
https://www.ted.com/talks/alex_gendler_how_do_ventilators_work
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
6 บันทึก
31
10
11
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สุขภาพ โรคภัย การแพทย์
6
31
10
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย