26 ธ.ค. 2020 เวลา 02:24 • สุขภาพ
หวาดระแวง
หวาดระแวง คือ ภาวะผิดปกติทางความคิดที่ทำให้เคลือบแคลงสงสัยหรือระแวงผู้อื่นอย่างไม่มีเหตุผล ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่ามีคนจ้องทำร้ายอยู่ตลอดเวลา คิดว่าคนรอบข้างไม่ชอบตนเอง หรือไม่ไว้ใจผู้อื่น อาการเหล่านี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอ​ๆาการหลงผิด ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือเข้าสังคมได้ยาก
สาเหตุ หวาดระแวง
ปัญหาสุขภาพจิต
รู้สึกวิตกกังวล ซึมเศร้า
ความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ
เสี่ยงที่จะไม่ไว้ใจหรือหวาดระแวงผู้อื่น
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาและสารเสพติด
อาการหลงผิดหรือหวาดกลัวว่าผู้อื่นจะมาทำร้าย
การใช้สารเสพติด เช่น กัญชา แอมเฟตามีน โคเคน แอลเอสดี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
สารเฟนไซคลิดีน (Phencyclidine) และสเตียรอยด์
โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบหวาดระแวง (Paranoid Personality Disorder)
ผู้ป่วยจะไม่ไว้ใจบุคคลรอบข้างง่าย ๆ
ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการหวาดระแวงในระดับอ่อนที่สุดและสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
หายเป็นปกติเมื่ออายุ 50 ปี
สิ่งแวดล้อมภายนอก
ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ห่างไกลจากผู้คนหรือชอบแยกตัวออกจากสังคม
มีแนวโน้มเกิดอาการหวาดระแวงมากขึ้น
การรับฟังข่าวสารเกี่ยวกับการฆาตกรรม การแบ่งแยกดินแดน
ส่งผลให้รู้สึกวิตกกังวลและระแวงผู้คนรอบตัว
โรคจิตหลงผิด (Delusional Disorder)
ภาวะที่มีความเชื่อหรือความคิดผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงเท่านั้น
คิดว่าตนเองป่วยทั้งที่ไม่ได้ป่วย
คิดว่ามีคนคอยปองร้าย
ประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่พบเจอ
ผู้ที่เคยประสบเหตุการณ์เสี่ยงตาย
ต้องอยู่เพียงลำพัง หรือเผชิญสถานการ์ที่รู้สึกกดดันและเครียด
เช่น ถูกกลั่นแกล้งจากที่ทำงาน โจรขึ้นบ้าน เป็นต้น
โรคจิตเภทแบบหวาดระแวง (Paranoid Schizophrenia)
โรควิกลจริตชนิดหนึ่งที่ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่เชื่อหรือยอมรับความจริง
มีอาการประสาทหลอนหรือพฤติกรรมแปลก ๆ หากไม่ได้รับการรักษาจะใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้
กลุ่มโรคจิตเวชที่มีอาการหวาดระแวงรุนแรงมากที่สุด
ภาวะพักผ่อนไม่เพียงพอ
การนอนน้อยมักกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย
หวาดระแวง หรือมีอาการหลอนได้
ปัญหาสุขภาพกาย
โรคสมองเสื่อม
พาร์กินสัน
อัลไซเมอร์
โรคฮันติงตัน (Huntington’s Disease)
โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสูญเสียการได้ยิน ภาวะเครียด
พันธุกรรม
คาดว่าอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหวาดระแวงได้
อาการ หวาดระแวง
การสังเกตว่าคนที่เรารู้จักหรือพบเห็นหวาดระแวง นั้น อาจจะไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะคนหวาดระแวงที่อายุมาก หรือมีการศึกษา เวลาระแวงจะสังเกตได้ยาก เพราะ เขาพอจะรู้ตัวว่าควรระแวงแบบไหน ทำให้ดูไม่ผิดปกตินัก สำหรับรายที่ระแวงมากๆ หรืออายุน้อย เช่น วัยรุ่น 15-16 ปีกลุ่มโรคจิตเภท ค่อนข้างชัดเจน และไม่มีระแวงอย่างเดียว มีอาการหูแว่วประสาทหลอน ไม่อาบน้ำ ไม่แปรงฟัน ไม่ดูแลตัวเอง เคยเรียนหนังสือก็ไม่ไปเรียน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สังเกตได้ชัด
นอกจากการสังเกตอาการหวาดระแวงแล้ว ควรจะต้องดูอาการทั่วๆ ไป (ทำงานได้มั้ย เรียนได้มั้ย) ซึ่งเป็น ตัวบอกว่าเขาผิดปกติ เพราะถ้าเกิดระแวงแล้วไม่ไปเรียน ไม่ไปทำงาน แสดงว่าผิดปกติชัดเจน แต่ถ้าทำงานอะไรได้ตั้งหลายอย่าง จะต้องดูอาการอื่นๆ ร่วมด้วย
ถ้าญาติไม่แน่ใจอาจจะไปปรึกษากับแพทย์ก่อนก็ได้ บางรายอาจจะตรวจสอบยาก ต้องใช้การทดสอบทางจิตวิทยาเข้าช่วย เหมือนกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือรายที่มีอายุมาก สาเหตุไม่ชัดเจน จะต้อง ตรวจร่างกายด้วย
ผู้ป่วยบางรายมีอาการทางกายที่ส่งผลให้เกิดอาการ ทางจิต เช่น ผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เนื้องอกในสมอง โรคเอสแอลอีขึ้นสมอง ก็ทำให้เกิดความหวาด ระแวงได้ ถึงแม้จะพบได้ไม่บ่อยแต่เป็นสิ่งที่จิตแพทย์จะต้องสังเกตว่าเขามีอาการทางร่างกายด้วยหรือไม่
การรักษา หวาดระแวง
การใช้ยา
ผู้ป่วยที่รู้สึกหวาดกลัวหรือวิตกกังวลบ่อย ๆ เช่น โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบหวาดระแวง โรคหลงผิด และโรคจิตเภท
ยาต้านโรคจิตเพื่อบรรเทาอาการหวาดระแวง
แพทย์อาจให้ยาต้านเศร้าหรือยาคลายเครียดที่มีฤทธิ์อ่อน ๆ เพื่อระงับอาการไม่ให้กำเริบ
จิตบำบัด
เป็นวิธีรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหวาดระแวงในระดับไม่รุนแรง
เพิ่มความเชื่อมั่นในตนเองและความเชื่อใจต่อผู้อื่น
การวาดรูป
ฝึกทักษะในการเผชิญความเครียด
เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักผ่อนคลายจากความเครียด
รู้วิธีรับมือกับอาการวิตกกังวล
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
การพักรักษาในโรงพยาบาล
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
ผู้ป่วยภาวะหวาดระแวงที่เกิดจากการใช้สารเสพติดจะได้รับการบำบัดจนกว่าผลข้างเคียงจากการใช้ยาจะหาย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา