2 ม.ค. 2021 เวลา 11:00 • สุขภาพ
โรคกลัวที่แคบ (Claustrophobia)
โรคกลัวที่แคบ (Claustrophobia)
ทุกคนล้วนมีความกลัวอยู่ภายในจิตใจ ที่เก็บเป็นความลับเอาไว้ สำหรับบางคนอาจกลัวความมืดจนต้องเปิดไฟทั้งวันทั้งคืน บางคนมีอาการ กลัวรูเพียงแค่เห็นภาพก็ชวนขนลุก รวมถึง "โรคกลัวที่แคบ" นี้ด้วย
โรคกลัวที่แคบ (Claustrophobia)
คือ
กลุ่มอาการวิตกกังวลผิดปกติเป็นโรคเฉพาะเจาะจงรายบุคคล เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกให้อยู่คนเดียวในบริเวณที่ปิดล้อม และในพื้นที่แออัด เช่น ห้องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หรืออยู่ในลิฟต์ที่เต็มไปด้วยคนเยอะ ๆ ซึ่งส่งผลให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ หายใจไม่สะดวก หรือเริ่มมีอาการหงุดหงิด เมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลี่ยงไม่ได้
#สาระจี๊ดจี๊ด
โดยจากสถิติผู้ป่วยโรคกลัวที่แคบของ NYU Langone Medical Center บันทึกให้เห็นว่า โรคกลัวที่แคบอาจไม่ใช่โรคที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด แต่อาจเริ่มเป็นในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่นเสียส่วนใหญ่
สาเหตุที่ทำให้คุณกลัวที่แคบคืออะไรกัน?…
1
นักจิตวิทยาท่าหนึ่งคาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของ อะมิกดะลา (Amygdala) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองที่ควบคุมความรู้สึกกลัวหวาดระแวง และอาจเกี่ยวข้องกับความทรงจำในอดีตที่ทำให้สะเทือนต่อจิตใจของเรา
บางครั้งความกลัวที่แคบสามารถเริ่มต้นได้จากเหตุการณ์ในวัยเด็กที่ทำให้ 'ฝังใจ' เนื่องจากตอนเราเยาว์วัย จิตใจ ของเรานั้นค่อนข้างอ่อนไหวง่ายต่อสิ่งรอบข้าง เช่น...
- การถูกกลั่นแกล้ง
นอกจากพื้นที่เล็กแคบแล้ว ความกลัวนี้อาจเกิดได้จากความรู้สึกแออัด สับสน เมื่อ ต้องอยู่ในสถานที่ ที่ไม่คุ้นเคย หรือเมื่อรู้สึกอากาศหายใจในที่นั้น ๆ มีน้อย อาการกลัวก็อาจเกิดขึ้น ได้เช่นกัน แต่ในเบื้องต้นเราอาจสังเกตความกลัวของเราได้จากอาการ และความกลัวเมื่อต้องอยู่ในที่เหล่านี้
- ลิฟต์โดยสาร
- ห้างสรรพสินค้าหรือที่ที่คุ้นเคยที่ถูกจัดแต่งใหม่ เปลี่ยนแปลงไป
- อุโมงค์
- ห้องใต้ดิน
- รถไฟใต้ดิน
- ห้องขนาดเล็ก แคบ
- ห้องพักที่ไม่มีหน้าต่าง หรือหน้าต่างไม่สามารถเปิดได้
- ประตูหมุน
- เครื่องบิน
- ห้องน้ำสาธารณะ
- ห้องที่ถูกล็อก
- รถยนต์ที่มีระบบล็อกประตูอัตโนมัติ
- ตู้รถไฟ
- ชุมชนที่มีคนแออัด/สถานที่ที่เต็มไปด้วยผู้คน
- อุโมงค์ล้างรถอัตโนมัติ
- เครื่องสแกน MRI
วิธีรักษาให้หายขาด พร้อมเผชิญที่แคบได้อย่างสบาย
เข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดจิตใจที่ผิดปกติ (CBT) : นักจิตวิทยาจะสอนให้คุณควบคุมอารมณ์ความรู้สึกและเปลี่ยนวิธีการคิดให้จากลบเป็นบวก การบำบัดนี้ยังเหมาะกับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าอีกด้วย
การบำบัดเชิงอารมณ์ด้วยเหตุและผล (REBT) : เป็นการบำบัดควบคู่กับ (CBT) ตามโปรแกรมการบำบัดของนักจิตวิทยา
ผ่อนคลายผ่านการมองเห็น : หารูปภาพหรือออกไปอยู่ในพื้นที่ที่คุณรู้สึกผ่อนคลาย เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจ เช่น การมองรูปภาพหรือมองออกข้างนอกที่มีวิวทิวทัศน์กว้างขวาง
การรับประทานยาตามที่จำหน่ายโดยแพทย์ : ยาแก้โรคซึมเศร้า
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา