3 ม.ค. 2021 เวลา 16:38 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ท่านผู้ปกครองทั้งหลายไม่ต้องเป็นกังวล เด็กยังพอสามารถอ่านอารมณ์ของคนที่สามหน้ากากอนามัยได้อยู่
เมื่องานวิจัยพบว่าการสวมกากอนามัยส่งผลกระทบต่อเด็กในการอ่านอารมณ์ผ่านทางสีหน้าของคนที่สวมหน้ากากอนามัยนั้นมีไม่ต่างกับคนใส่แว่นกันแดดสักเท่าไหร่
ถ้าเป็นผู้ใหญ่เราคงแยกออกไม่ยากว่าแต่ละอารมณ์ภายใต้หน้ากากนั้นเป็นอย่างไร แต่เด็ก ๆ จะสามารถรับรู้ถึงอารมณ์ของคนที่สวมหน้ากากอนามัยได้ดีอยู่ไหม?
เป็นเวลาปีกว่าแล้วที่เราต้องใช้ชีวิตภายใต้หน้ากากอนามัย ซึ่งการที่ต้องสวมหน้ากากอนามัยนี้ได้สร้างความกังวลใจให้กับ พ่อ-แม่ ผู้ปกครองบางส่วนถึงพัฒนาการและความสามารถในการรับรู้ถึงอารมณ์ของผู้คนที่อยู่ภายใต้หน้ากากอนามัย
มาวันนี้ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Wisconsin ได้เปิดเผยผลการวิจัยการประเมินความสามารถของเด็กต่อการแยกแยะอารมณ์ผ่านสีหน้าของผู้คนที่กำลังสวมหน้ากากอนามัย
ซึ่งผลการทดสอบโดยกลุ่มตัวอย่างเด็กอายุระหว่าง 7-13 ปี จำนวน 81 คน ที่ให้ทำการดูภาพชุดใบหน้า 6 หน้าซึ่งด้านบนไม่มีหน้ากากส่วนด้านล่างมีหน้ากากบังอยู่จำนวน 14 ชุดและบอกว่าแต่ละภาพนั้นกำลังแสดงอารมณ์อะไร
ผลก็เป็นไปตามที่ทีมคิดไว้คือเด็กสามารถบอกอารมณ์ของภาพใบหน้าที่ไม่มีหน้ากากบังได้แม่นยำกว่า โดยมีความถูกต้องถึง 2 ใน 3 ส่วนรูปที่มีหน้ากากบังก็จะมีความแม่นยำลดน้อยลงไป
โดยสำหรับรูปที่มีหน้ากากบังนั้น หน้าเศร้าบอกได้ถูก 28% หน้าโกรธถูก 27% และหน้าตาหวาดกลัวถูกที่ 18% ซึ่งยังถือว่ามีความแม่นยำมากกว่าการเดาสุ่ม
ฟังดูไม่ค่อยดีเลย อย่างนี้เด็กกับผู้ใหญ่จะสื่ออารมณ์ถึงกันหรือเด็กจะสามารถรับรู้อารมณ์ของอีกฝั่งผ่านสีหน้าภายใต้หน้ากากได้หรือ??
ผลก็คือเด็กก็บอกอารมณ์ได้ไม่ค่อยแม่นพอ ๆ กันกับเวลาที่เจอรูปคนใส่แว่นกันแดด
คำตอบคือ มันก็ส่งกระทบไม่ได้ต่างกับการที่ให้เด็กบอกอารมณ์ของภาพใบหน้าที่มีแว่นกันแดดบังเอาไว้ นั่นคือเดาไม่ค่อยถูก
ดังนั้นแล้วการสื่อสารกับเด็กในระหว่างที่เรายังต้องใช้ชีวิตภายใต้หน้ากากอนามัยนี้ ทีมนักวิจัยได้ให้คำแนะนำว่าควรใช้การสื่อสารผ่านน้ำเสียงและท่าทางประกอบด้วย เพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจถึงอารมณ์ของเราขณะนั้น ๆ ได้ถูกต้องมากขึ้น
ไม่ใช่แค่ทำหน้านิ่วใส่แต่เราต้องใช้การสื่อสารทางอื่นประกอบด้วยเพื่อให้เด็ก ๆ ได้เข้าใจถึงอารมณ์ของเรา
แต่ทั้งนี้การที่เด็ก ๆ ต้องเจอกับผู้คนที่สวมหน้ากากอนามัยเป็นเวลานาน ๆ จะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ด้านการอ่านอารมณ์ผ่านสีหน้าในระยะยาวหรือไม่ ก็ยังคงต้องมีการติดตามและศึกษากันต่อไป

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา