4 ม.ค. 2021 เวลา 11:28 • สุขภาพ
รู้ทันและป้องกันโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
1
หมายถึงความผิดปกติของโครงสร้างของหัวใจหรือหลอดเลือดใกล้หัวใจ โดยปกติหัวใจของทารกในครรภ์จะเริ่มสร้างเมื่อทารกมีอายุครรภ์ได้ 5 สัปดาห์ และเสร็จสมบูรณ์เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์
2
องค์ประกอบที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคหัวใจพิการหรือผิดปกติแต่กำเนิด
1. โรคทางพันธุกรรมบางชนิด
ดาวน์ซินโดรม
เทอร์เนอร์ซินโดรม (Turner syndrome)
2. ปัจจัยเสี่ยงของแม่ขณะตั้งครรภ์
โรคประจำตัวของแม่
การเจ็บป่วยขณะตั้งครรภ์
อาการของโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด
อาการเขียว จะมีสีม่วงคล้ำที่เล็บ ริมฝีปากและเยื่อบุภายในช่องปาก
หัวใจเต้นเร็ว
หายใจเร็วและหายใจลำบาก
เหนื่อยง่าย ในทารกจะสังเกตได้เวลาดื่มนม ทำให้ดื่มนมได้น้อย
เลี้ยงไม่โต
เหงื่อออกมาก
อ่อนเพลีย
การรักษาโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด
ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความผิดปกติเพียงเล็กน้อยที่ไม่แสดงอาการและสามารถเจริญเติบโตพร้อมทั้งดำเนินชีวิตได้ตามปกติก็ไม่ต้องรักษา ส่วนในกลุ่มที่มีอาการ เช่น หัวใจวาย อาจต้องให้ยาเพื่อควบคุมอาการ ส่วนจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความผิดปกติของหัวใจว่าเป็นแบบใด บางชนิดหายเองได้หรือดีขึ้นจนถึงจุดที่ไม่อันตรายและไม่ต้องรับการผ่าตัด แต่หากหายเองไม่ได้มักลงเอยด้วยการผ่าตัดหรือการสวนหัวใจ ในปัจจุบันการรักษารูรั่วที่ผนังหัวใจบางชนิดหรือการปิดเส้นเลือดที่ไม่มีความจำเป็นสามารถทำได้ด้วยการสวนหัวใจ แพทย์จะใช้สายพลาสติกเล็กๆ สอดเข้าไปทางเส้นเลือดจนถึงบริเวณของหัวใจที่มีความผิดปกติ แล้วสอดอุปกรณ์ที่จะเข้าไปปิดรูรั่วผ่านทางสายพลาสติกนี้ วิธีการเช่นนี้ได้ผลดีและทำให้หลีกเลี่ยงการผ่าตัดใหญ่ได้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา