8 ม.ค. 2021 เวลา 11:48 • สุขภาพ
โรคอ้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ทำให้เกิดอัตราการตายและอัตราพิการเพิ่มมากขึ้นกว่าคนไม่อ้วน คนอ้วนมีอายุขัยสั้นกว่าคนที่ไม่อ้วน ผู้ที่มีดัชนีมวลกายในช่วง 30-35 กิโลกรัม/ตารางเมตร จะมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นลง 2-4 ปี ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย 40-50 กิโลกรัม/ตารางเมตร จะมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นลง 8-10 ปี
ผลร้ายต่อสุขภาพของโรคอ้วน
ผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะมีความเสี่ยงและความผิดปกติการเกิดโรคร่วมต่างๆ เท่าไหร่กัน หากเทียบกับคนน้ำหนักปกติทั่วไป
ความดันโลหิตสูง เพิ่ม 2.9 เท่า
โรคมะเร็ง เสียชีวิต 1.3 เท่าในเพศชาย และ 1.6 เท่าในเพศหญิง
โรคนิ่วในถุงน้ำดีเพิ่ม 3-4 เท่า
โรคตับอักเสบจากไขมันสะสม พบร้อยละ 90 ในคนที่มี BMI > 40 กก./ม.2
โรคเบาหวาน เกิดโรค 2 เท่าในคนอ้วนเล็กน้อย 5 เท่าในคนอ้วนปานกลาง 10 เท่าในคนที่อ้วนมาก
โรคถุงน้ำรังไข่ เพิ่ม 1-2 เท่า
โรคหลอดเลือดสมองตีบ เพิ่ม 1.95 เท่า
ภาวะเลือดออกในสมอง เพิ่ม 2.25 เท่า
ภาวะหัวใจล้มเหลว เพิ่ม 2 เท่า
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เพิ่ม 1.5 เท่า
โรคข้อเข่าเสื่อม เพิ่ม 2.9 เท่า
ทางเดินหายใจตีบและตันชั่วคราวขณะหลับ
โรคกรดไหลย้อน
โรคเก๊าท์
โรคอ้วนเป็นโรคที่มีการสะสมของไขมันตามอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมากกว่าปกติ จนมีผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเจ็บป่วยจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคอ้วนที่มีผลกระทบต่อสุขภาพมีอยู่ 2 ชนิด คือ
โรคอ้วนทั้งตัว ชนิดนี้จะมีไขมันกระจายอยู่ทั้งร่างกายมากกว่าปกติ โดยมิได้จำกัดอยู่ที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ
โรคอ้วนลงพุง ชนิดนี้จะมีการสะสมของไขมันที่บริเวณช่องท้อง บรเวณช่องเอวมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นการสะสมของไขมันในอวัยวะภายในช่องท้อง เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ไต และอวัยวะอื่นๆ  ซึ่งอาจมีปริมาณไขมันใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้องเพิ่มขึ้นด้วยจนทำให้เห็นหน้าท้องยื่นออกมาชัดเจน
ใครคือกลุ่มเสี่ยง
ผู้ที่มี BMI ระหว่าง 23.0-24.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร คือ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะพัฒนาให้เกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจ การปฏิบัติตัวเพื่อลดน้ำหนักที่เกิน คือ การควบคุมอาหารและออกกำลังกาย
ผู้ที่มี BMI > 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร คือ ผู้ที่เป็นโรคอ้วน ร่วมกับการมีโรคเรื้อรังมากกว่า 2 โรค และมีเส้นรอบเอวมากกว่าปกติ กลุ่มนี้ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้ชำนาญการ ร่วมกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย
สาเหตุทำให้เกิดโรคอ้วน
ปัจจัยทางสรีรวิทยา
ปัจจัยจากความผิดปกติทางพันธุกรรม
การตั้งครรภ์
การหยุดสูบบุหรี่
โรคที่ส่งเสริมให้เกิดโรคอ้วน โรคทางระบบต่อมไร้ท่อ เช่น ภาวะที่มีไทรอยด์ฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ โรคถุงน้ำรังไข่ กลุ่มอาการคุชชิ่ง เป็นต้น
การรับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อน้ำหนัก เช่น ยากันชัก ยาคุมกำเนิด ยาแก้อาการซึมเศร้า ฮอร์โมนสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
ปัจจัยทางพฤติกรรม
เกิดจากความไม่สมดุลระหว่างพลังงานที่ร่างกายได้รับจากการบริโภคและพลังงานที่ใช้ในกิจกรรมประจำวัน ทำให้เกิดไขมันสะสมมากขึ้นเรื่อยๆจนเป็นโรคอ้วน
โรคกินผิดปกติ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา