Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
8 ม.ค. 2021 เวลา 11:45 • สุขภาพ
โรคแกะผิวหนัง (Skin Picking Disorder หรือ Dermatillomania หรือ Excoriation Disorder)
1
โรคแกะผิวหนัง คืออะไร?
อาการแบบไหนที่บ่งบอกว่าเป็นโรคแกะผิวหนัง?
วิธีรับมือกับ โรคแกะผิวหนัง
โรคแกะผิวหนัง Skin Picking Disorder
โรคแกะผิวหนัง คืออะไร?
จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่ผู้ป่วยจะเกา แคะ หรือแกะผิวหนังของตัวเองซ้ำ ๆ หรือแสดงพฤติกรรมดังกล่าวออกมาโดยไม่รู้ตัว จนส่งผลให้เกิดรอยโรคที่ผิวหนัง ผิวหนังเป็นแผล อักเสบ ติดเชื้อ หรือร้ายแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือด และส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันด้วย
#สาระจิ๊ดจี๊ด
โรคแกะผิวหนังเป็นโรคเรื้อรัง หากปล่อยไว้ไม่รักษา ผู้ป่วยอาจมีอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ ติดต่อกันได้เป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือยาวนานหลายปี
โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย!
แต่! จากสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า...
"ผู้ป่วยมักเริ่มแสดงอาการของโรคแกะผิวหนังในช่วงวัยหนุ่มสาว"
แต่ก็สามารถเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี หรือผู้ใหญ่ที่อายุ 30-40 ได้เช่นกัน
#สาระจิ๊ดจี๊ด
ผู้หญิงมักป่วยเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย
#สาระจิ๊ดจี๊ด
โรคแกะผิวหนัง เป็นอีกโรคหนึ่งที่มีบรรจุใหม่ในในเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM) ฉบับที่ 5 (ซึ่งเป็นฉบับอัพเดทล่าสุด) ในปี ค.ศ. 2013
2
อาการแบบไหนที่บ่งบอกว่าเป็นโรคแกะผิวหนัง?
สัญญาณและอาการของโรคแกะผิวหนังอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล อาการที่พบได้บ่อย เช่น...
- เกา จิก หรือแกะสะเก็ดแผล ตุ่ม สิว หรือบริเวณอื่น ๆ ที่ผิวหนังผิดปกติ จนบริเวณนั้นเลือดออก หรืออักเสบ
- ชอบดึง หรือแกะผิวหนังรอบเล็บมือ หรือเล็บเท้า
3
- แกะแผล พอแผลตกสะเก็ด ก็แกะซ้ำ วนไปเรื่อย ๆ จนแผลไม่หายดีสักที
2
- รู้สึกว่าบางส่วนบนผิวหนังมีจุดบกพร่อง เช่น ไฝ กระ จุดด่างดำ แผล เลยพยายามกำจัดสิ่งนั้นออกด้วยการเกา แกะ หรือแคะ
- ชอบแกะ เกาผิวหนัง เวลาที่อารมณ์แปรปรวน เช่น เครียด ตื่นเต้น วิตกกังวล
- แกะ เกา หรือแคะผิวหนังโดยไม่รู้ตัว ไม่เว้นแม้แต่ตอนนอน
-พยายามจะเลิกแสดงพฤติกรรมดังกล่าวหลายครั้ง แต่ก็ทำไม่สำเร็จ
1
- ใช้เวลาเกา แกะ หรือแคะผิวหนังวันละหลายครั้ง หรือบางคนอาจแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ติดต่อกันหลายชั่วโมง จนมักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการเข้าสังคม
- หลีกเลี่ยงการพบปะสังสรรค์ ออกงานสังคม หรือไปในที่ที่ผู้คนมักสวมใส่เสื้อผ้าเผยเนื้อหนัง เช่น ชายหาด ฟิตเนส เพราะแกะ เกา หรือแคะผิวหนังจนเป็นรอย หรือเป็นแผล และไม่อยากให้ใครเห็น
#สาระจิ๊ดจี๊ด
ผู้ป่วยโรคแกะผิวหนังบางรายอาจ "ชอบแกะ เกาผิวหนังของผู้อื่น" ด้วย และผู้ป่วยอาจใช้นิ้วมือ เล็บมือ ฟัน หรืออุปกรณ์ เช่น แหนบ เข็มหมุด กรรไกร ในการแคะ แกะ เกาผิวหนังก็ได้
โรคแกะผิวหนังนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบว่าโรคแกะผิวหนังนั้นเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ แต่จากข้อมูลพบว่า โรคแกะผิวหนังมักมีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุการณ์ หรือสิ่งกระตุ้น
เช่น...
- เกิดการติดเชื้อ อาการบาดเจ็บ หรือมีแผลที่เริ่มหายและเกิดเป็นสะเก็ดแผล ซึ่งมักมาพร้อมกับอาการคันจนต้องแกะหรือเกาเพื่อให้อาการคันทุเลา แต่พอแกะ เกามาก ๆ เข้า แผลก็ไม่หายสนิท ซ้ำยังอาจเกิดแผลใหม่ ผู้ป่วยจึงแคะ แกะ เกาซ้ำไปซ้ำมา จนกลายเป็นวงจรของการแกะผิวหนัง
- ชอบแก้เครียด แก้เบื่อ หรือบรรเทาอาการวิตกกังวล หรืออาการตื่นเต้นด้วยการแคะ แกะ เกาผิวหนัง ยิ่งเครียดก็ยิ่งเกา จนสุดท้ายก็ติดเป็นนิสัย และกลายเป็นโรคแกะผิวหนังในที่สุด
โรคแกะผิวหนัง มักมาพร้อมโรคเหล่านี้!
ผู้ป่วยโรคแกะผิวหนังมักเป็นโรคเหล่านี้ หรือมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเหล่านี้ได้มากกว่าคนทั่วไป
- โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder หรือ OCD)
- โรคไม่ชอบรูปร่างหน้าตาตัวเอง หรือโรคคิดว่าตัวเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ (Body Dysmorphic Disorder)
- โรคซึมเศร้า
2
- โรคพฤติกรรมการทำซ้ำที่ร่างกาย (Body-Focused Repetitive Behaviors หรือ BFRBs) ชนิดอื่น เช่น โรคดึงผม โรคกัดเล็บ โรคกัดปากตัวเอง
วิธีรับมือกับโรคแกะผิวหนัง
1
เมื่อป่วยเป็นโรคแกะผิวหนัง คุณควรเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะหากปล่อยไว้ อาจส่งผลให้เกิดโรคทางจิตเวช หรือปัญหาสุขภาพกายอื่น ๆ ตามมาได้ แต่นอกจากการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เช่น การใช้ยา การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy) แล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ก็สามารถช่วยให้คุณรับมือกับโรคแกะผิวหนังได้ดีขึ้นเช่นกัน
- พยายามหากิจกรรมทำ อย่าให้มือว่าง เช่น ต่อจิ๊กซอว์ บีบลูกบอลบริหารมือ หรือสวมถุงมือ
- หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น ลองสังเกตว่าเหตุการณ์หรือสิ่งกระตุ้นโรคแกะผิวหนังของคุณคืออะไร และหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเหล่านั้นให้ได้ เช่น หากคุณพบว่าตัวเองชอบแกะผิวหนังเวลาเครียด ก็ลองทำกิจกรรมคลายเครียดอื่น ๆ แทน เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง
- เอาชนะใจตนเองด้วยการอดทน หากรู้สึกอยากแกะผิวหนัง ให้พยายามฝืนตัวเองให้ได้นานที่สุด
- เลือกบำรุงผิวแทนการแกะผิว เวลาอยากแคะ แกะ หรือเกาผิวหนัง ก็ให้เปลี่ยนไปบำรุงผิวแทน เช่น ทามอยส์เจอไรเซอร์ที่ผิว วิธีนี้นอกจากจะช่วยให้ผิวชุ่มชื้นขึ้นแล้ว ยังช่วยลดอาการคันที่มักกระตุ้นให้อยากแกะผิวหนังได้ด้วย
- รักษาสุขอนามัยของผิว ทำความสะอาดและดูแลผิวหนังให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะติดเชื้อที่ผิวหนัง
- ขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ตัว แจ้งให้คนอื่นทราบว่าคุณเป็นโรคแกะผิวหนัง เพราะหากคุณเริ่มแสดงพฤติกรรมของโรค คนอื่นจะได้ช่วยเตือนคุณให้หยุดแสดงพฤติกรรมดังกล่าวได้
- ไม่ไว้เล็บยาว หมั่นตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ อย่าไว้เล็บยาว
- หยุดพกพาอุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะ แคะหรือเกาผิวหนัง หลีกเลี่ยงการพกอุปกรณ์ที่สามารถใช้แคะ แกะ หรือเกาผิวหนังได้ติดตัว เช่น แหนบ เข็มหมุด กรรไกร
การรักษาโรคแกะผิวหนัง
เนื่องจากโรคนี้พึ่งมีเกณฑ์การวินิจฉัยมาไม่นาน ข้อมูลการศึกษาวิจัยในโรคนี้จึงยังค่อนข้างมีน้อยอยู่เมื่อเทียบกับโรคทางจิตเวชอื่น ๆ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่ายาต้านเศร้ากลุ่ม serotonin reuptake inhibitor น่าจะมีประสิทธิภาพในการลดพฤติกรรมการแกะได้ ส่วนการรักษาโดยไม่ใช้ยาพบการทำจิตบำบัดแบบ cognitive behavioral therapy และการทำพฤติกรรมบำบัดชนิด habit reversal มีประสิทธิภาพในการรักษา นอกจากนี้การรักษากับแพทย์ด้านผิวหนังไปด้วยก็จะช่วยให้รอยแผลหายได้เร็วยิ่งขึ้น
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา
https://www.psychologytoday.com/us/conditions/dermatillomania-skin-picking
https://www.facebook.com/ThaiPsychiatricAssociation/photos/a.499791366791551.1073741828.483246708446017/962950970475586/?type=3
https://hellokhunmor.com/สุขภาพชีวิตที่ดี/สุขภาพจิต/โรคแกะผิวหนัง-อาการ-วิธีรับมือ-อาการแทรกซ้อน
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
12 บันทึก
23
20
46
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สุขภาพ โรคภัย การแพทย์
12
23
20
46
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย