12 ม.ค. 2021 เวลา 02:05 • สุขภาพ
เนื้องอกไขสันหลัง
เนื้องอกไขสันหลัง หมายถึง เนื้องอกที่เกิดขึ้นที่ไขสันหลัง ซึ่งแบ่งเป็นชนิดปฐมภูมิ (มีต้นกำเนิดจากเซลล์หรือเนื้อต่าง ๆ ที่อยู่ในและรอบ ๆไขสันหลังซึ่งมีทั้งชนิดไม่ร้ายและชนิดร้าย) และชนิดทุติยภูมิ (มะเร็งที่แพร่กระจายจากที่อื่น) ซึ่งพบได้บ่อยกว่าชนิดปฐมภูมิ
โรคนี้พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ส่วนเนื้องอกชนิด ทุติยภูมิ มักพบในคนวัยกลางคนและวัยสูงอายุ
เนื้องอกไขสันหลังพบได้น้อยกว่าเนื้องอกสมอง
สาเหตุ เนื้องอกไขสันหลัง
เนื้องอกไขสันหลังชนิดปฐมภูมิ
ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เชื่อว่าอาจเกี่ยวกับปัจจัยทางกรรมพันธุ์ร่วมกับ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
เนื้องอกไขสันหลังชนิดทุติภูมิ
ส่วนใหญ่เกิดจากการแพร่กระจายมาจากมะเร็งปอด เต้านม ต่อมลูกหมาก ต่อมไทรรอยด์ ไต และต่อมน้ำเหลือง มาที่กระดูกสันหลังและกดถูกประสาทสันหลัง
อาการ เนื้องอกไขสันหลัง
มักมีอาการเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
แรกเริ่มจะมีอาการปวดหลัง และบางครั้งอาจมี  อาการปวดเสียวตรงบริเวณสะโพกและขาแบบอาการของ รากประสาทถูกกดทับ เนื่องจากก้อนเนื้องอกไปกดประสาท ซึ่งจะเป็นมากขึ้นเวลาไอ จาม
อาการดังกล่าวอาจเป็นอยู่นานเป็นสัปดาห์ ๆ หรือ เป็นเดือน ๆ แล้วต่อมาจะมีอาการขาและอ่อนแรงของขา ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง  อาการอ่อนแรงจะค่อย ๆ เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั้งเดินไม่ได้
ผู้ป่วยอาจมีอาการถ่ายปัสสาวะอุจาระเองไม่ได้  หรือกลั้นไม่อยู่ และมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (องคชาตไม่แข็งตัว) ร่วมด้วย
ในรายที่มีเนื้องอกที่ไขสันหลังในบริเวณคอ อาจกดถูกประสาทที่ควบคุมแขน  อาจทำให้แขนชาและอ่อน แรงได้
การรักษา เนื้องอกไขสันหลัง
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องเอกซเรย์กระดูกสันหลังเจาะหลังถ่ายภาพรังสีไขสันหลังโดยการฉีดสารทึบรังสี (myelography) ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ถ้าพบว่าเป็นเนื้องอก ไขสันหลังมักต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งจะช่วยให้หายปวดหลัง และแขนขามีแรงขึ้น
ในรายที่เป็นเนื้องอกชนิดร้าย(มะเร็ง) อาจต้อง รักษาด้วยการฉายรังสี
ผลการรักษาขึ้นกับชนิดของเนื้องอก และความรุนแรงของโรค
ถ้าเป็นเนื้องอกชนิดธรรมดา เช่น meningioma‚ neurofibroma อาการไม่รุนแรงก็มีทางหายขาดได้ ถ้าประสาทสันหลังถูกทำลายมากหรือเป็นเนื้องอกชนิดร้ายแรงหรือมะเร็งที่แพร่กระจายมาจากที่อื่นก็อาจเป็นอัมพาตครึ่งล่างหรืออัมพาตหมดทั้งแขนขา แล้วอาจเป็นแผลกดทับหรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบแทรกซ้อน และผู้ป่วยอาจมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา