15 ม.ค. 2021 เวลา 22:30 • ไลฟ์สไตล์
ความเชื่อกับการปล่อยสัตว์
ปล่อยสัตว์แบบนี้!
บุญ หรือ บาป?
แนวทางในการทำบุญปล่อยสัตว์
เลิกปล่อยดีกว่าไหม!
ปล่อยสัตว์บุญ หรือบาป?
ปล่อยสัตว์ บุญ หรือบาป?
ในช่วงวันปีใหม่และในโอกาสที่เราต้องการทำบุญ วิธีหนึ่งที่สังคมไทยนิยมกันคือการทำบุญปล่อยสัตว์ที่มีความเชื่อว่าจะนำพาโชคลาภ ความราบรื่น เหนือสิ่งอื่นใดคือความสบายใจที่ได้ทำบุญ
บริเวณท่าน้ำและวัดมักมีจุดบริการสัตว์น้ำอำนวยความสะดวก แต่อย่างไรก็ดีเราควรพิจารณาถึงสายพันธุ์ของสัตว์ที่จะปล่อย ปล่อยอย่างไรไม่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม
ความเชื่อกับการปล่อยสัตว์
1. การปล่อย “ปลาช่อน”
เชื่อกันว่า...
ทำให้มีเงินใช้ไม่ขาดมือ (แต่อย่างไรก็ดีควรมีเงินในบัญชีเงินออมไว้เผื่อเหลือเผื่อขาด)
ควรปล่อยตามแหล่งน้ำที่มีพืชน้ำหรือตลิ่งน้ำ ห้ามปล่อยในที่น้ำเชี่ยว หรือน้ำลึกเด็ดขาด!
2. การปล่อย “หอยขม”
เชื่อกันว่า...
ทำให้ร่มเย็นทิ้งความขมขื่น
ควรปล่อยหอยขมตามแหล่งหนอง บึง น้ำนิ่ง ๆ ที่สะอาด มีดินโคลน ปราศจากสารเคมี และวัชพืช ห้ามปล่อยในแม่น้ำที่ไหลเชี่ยว ที่มีเรือผ่าน หรือแหล่งน้ำลึกเด็ดขาด!
3. การปล่อย “กบ”
เชื่อกันว่า...
ช่วยกำจัดสิ่งอัปมงคล
ควรปล่อยกบตามที่ชื้นแฉะ มีเนินดินหรือตลิ่ง ตามบึง ท้องนา มีกอหญ้าหรือไม้น้ำให้เกาะได้ เพื่อใช้เป็นที่หลบซ่อนศัตรูทางธรรมชาติ เช่น นก งู ห้ามปล่อยในแม่น้ำ ที่ไม่มีที่พัก หรือแหล่งน้ำลึกเด็ดขาด!
4. การปล่อย “เต่าบก”
เชื่อกันว่า...
ทำให้อายุยืนยาว (ปล่อยแล้วลองคิดถึงอายุเต่าไปด้วย)
1
ควรปล่อยเต่าตามตลิ่งน้ำและแหล่งน้ำตื้น ห้ามปล่อยในบ่อน้ำที่มีการก่อคอนกรีตสูง ควรมีที่แห้งให้สามารถขึ้นมาพักได้ ไม่เหมาะกับการปล่อยในน้ำอาจจมน้ำตายได้
5. การปล่อย “ปลาไหล”
เชื่อกันว่า...
ช่วยให้งานลื่นเงินไหล
ควรปล่อยปลาไหลตามบึง ท้องนา แหล่งน้ำที่มีดินโคลนให้ขุดรูเพื่อหลบพัก ห้ามปล่อยในแม่น้ำ ลำคลองที่ไหลเชี่ยว หรือน้ำลึกเด็ดขาด!
6. การปล่อย “ตะพาบน้ำ”
เชื่อกันว่า...
การปล่อยตะพาบช่วยให้ภัยคุกคามต่าง ๆ จะหายไป
เหมาะกับที่มีตลิ่งหรือเนินดินไว้อาบแดดและพักจากการว่ายน้ำ ไม่เหมาะกับที่ ๆ มีน้ำไหลเชี่ยว และไม่มีที่พัก
7. การปล่อย “ปลาตะเพียน”
เชื่อกันว่า... การปล่อยปลาตะเพียนจะทำให้ขยันหมั่นเพียรและหาเงินได้มากขึ้น
เหมาะกับปล่อยในแม่น้ำ คลองที่มีระดับน้ำลึก และกระแสน้ำแรง มีบริเวณกว้าง ไม่เหมาะกับการปล่อยในพื้นที่จำกัด ปลาเล็กอาจเป็นอาหารของปลาใหญ่ได้
แนวทางในการทำบุญปล่อยสัตว์
วิธีการปล่อยปลา
• ไม่ปล่อยสัตว์ต่างถิ่น หรือเอเลียนสปีชีส์
• ไม่ปล่อยในปริมาณที่มากจนเกินไป
• คัดเลือกสถานที่ปล่อยให้เหมาะสมกับชนิดของปลา
• ควรปล่อยในแหล่งน้ำตื้นหรือลึกระดับปานกลาง (ระดับเอวถึงหน้าอก)
• ไม่ปล่อยในแหล่งที่มีน้ำเชี่ยว
• ปล่อยในแหล่งที่มีพืชน้ำ เพื่อเป็นที่หลบภัย, อาหาร หรือเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ
• ปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีการไหลเวียนของน้ำ หรือที่มีน้ำสะอาด
ปลาที่ควร และไม่ควรปล่อย
• ปลาที่แนะนำให้ปล่อยในแหล่งน้ำของประเทศไทย ควรเป็นปลาพื้นเมืองของไทย เช่น ปลาตะเพียนขาว, ปลาตะเพียนทอง, ปลาแก้มช้ำ, ปลาสร้อยขาว, ปลาหมอไทย, ปลายี่สกไทย, ปลากราย, ปลาโพง และปลาบึก
• สัตว์น้ำตามความเชื่อที่ไม่ควรปล่อยเด็ดขาด (เอเลี่ยน สปีชีย์) เช่น ปลาราหู (ปลาซักเกอร์), ปลาดุกอัฟริกัน หรือปลาดุกลูกผสม (บิ๊กอุย), กุ้งเครย์ฟิซ, เต่าญี่ปุ่นหรือเต่าแก้มแดง, ปลาหางนกยูง, ปลากดเกราะดำและปลากดเกราะลาย, ตะพาบไต้หวัน, ปลาทับทิม, ปลานิล และปลาหมอสีคางดำ
เลิกปล่อยดีกว่าไหม!
- นก
เลิกปล่อยนกที่ถูกจับมักอยู่รวมกันอย่างแออัด ทำให้นกอ่อนแอ หลังจากโดนปล่อยอาจตายและไม่มีแหล่งหากินในเมืองได้
1
- ปลาเศรษฐกิจบางชนิด
เลิกปล่อยปลาเศรษฐกิจบางชนิด เพราะเหมาะสำหรับการเลี้ยงแบบบ่อปิดเท่านั้น เช่น ปลานิล, ปลาทับทิม, ปลาหางนกยูง และปลาดุกบิ๊กอุย
#สาระจี๊ดจี๊ด
"ปล่อยสัตว์เพื่อความอิ่มใจได้บุญฉันใด ให้นึกถึงความเป็นอยู่ของสัตว์ที่ปล่อยไปฉันนั้น"
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
โฆษณา