Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
14 ม.ค. 2021 เวลา 22:30 • สุขภาพ
มีลูกยาก (Infertility)
มีลูกยาก คืออะไร?
สาเหตุของการมีลูกยาก?
พฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้มีลูกยาก!
มีลูกยาก (Infertility)
มีลูกยาก คืออะไร?
มีลูกยาก (Infertility) คือ ภาวะคู่สามีภรรยาที่ไม่สามารถมีลูกเองได้ตามธรรมชาติหลังจากที่มีเพศสัมพันธ์เฉลี่ยสัปดาห์ละ 2-3 วัน โดยไม่ได้คุมกำเนิดอย่างน้อย 1 ปี
#สาระจี๊ดจี๊ด
ระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงจะปล่อยไข่ออกมาจากรังไข่ เพื่อรับการปฏิสนธิจากอสุจิของเพศชาย ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะเคลื่อนตัวจากท่อนำไข่ไปฝังตัวที่มดลูก
ผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ อายุ 35 ปีขึ้นไป และไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ภายใน 6 เดือน ที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่รักอย่างสม่ำเสมอควรเข้ารับการตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญหามีลูกยาก
ส่วนผู้ชายที่ประสบภาวะมีลูกยากจะได้รับการตรวจภาวะดังกล่าวด้วยวิธีการทางการแพทย์หลายอย่าง รวมทั้งตรวจอสุจิในห้องทดลองด้วย เพื่อเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้สามารถมีลูกได้
สาเหตุของการมีลูกยาก?
สาเหตุอาจเกิดจากฝ่ายชาย (ประมาณ 25%) หรือฝ่ายหญิง (ประมาณ 40%) หรือเกิดจากทั้งสองฝ่าย (ประมาณ 20%) ที่เหลือหาสาเหตุไม่พบ (ประมาณ 15%)
ผู้ชาย : อายุมาก สิ่งแวดล้อม สูบบุหรี่จัด ได้รับยาหรือสารบางอย่างที่ทำให้คุณภาพของอสุจิลดลง
ผู้หญิง : เป็นโรคช็อกโกแลตซีส ท้องนอกมดลูก ความผิดปกติ ของฮอร์โมน การทำงานผิดปกติของรังไข่ ภาวะไข่ไม่ตก หรือปัญหามดลูกผิดปกติ
พฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้มีลูกยาก!
- ดื่มแอลกอฮอร์มากไป : การดื่มแอลกอฮอร์มากเกินไปส่งผลให้โอกาสที่จะมีลูกลดลงถึง 50% แล้วดื่มอย่างไรถึงมากเกินไป เราไม่ควรดื่มวันละ 1 ดริ๊งค์ หรือ เทียบกับไวน์ 120 มิลลิลิตร
- สูบบุหรี่เป็นประจำ : ผู้หญิงที่สูบบุหรี่มากกว่าวันละ 10 มวน ส่งผลให้มีลูกยากกว่าผู้หญิงทั่วไปถึง 3 เท่า เพราะบุหรี่มีส่วนช่วยลดประสิทธิภาพของมดลูกที่เป็นที่ฝังตัวอ่อนอีกด้วย
- อายุที่เพิ่มขึ้น : ผู้หญิงที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป โอกาสของการมีลูกนั้นน้อยลง อีกทั้งหากมีลูกในช่วงที่มีอายุมากนั้นจะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาลูกในท้องผิดปกติสูง และเสี่ยงต่อการโรคดาวน์ซินโดรม โรคตับโต ม้ามโต โรคปากแหว่งเพดานโหว่ได้
- ความเครียด : มีผลกระทบต่อฮอร์โมนในการสืบพันธุ์ ส่งผลให้เกิดภาวะไม่ตกไข่ทำให้ไข่เจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ อีกทั้งยังทำให้ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวที่มดลูกได้ยากขึ้นอีกด้วย
- กินอาหารไม่มีประโยชน์ : หากรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์เป็นประจำ จะทำให้ร่างกายได้รัยสารอาหารไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดภาวะการมีบุตรยากได้
- ปล่อยให้มีปัญหาน้ำหนักตัวเกิน : น้ำหนักตัวที่มีเกินไปหรือน้อยเกินไปจะมีผลต่อการปรับตัวของร่างกาย ส่งผลให้ความสามารถในการเจริญพันธุ์ลดลง แถมยังเสี่ยงต่อการแท้งง่ายอีกด้วย
#สาระจี๊ดจี๊ด
มีการศึกษาพบว่า...
ผู้หญิงที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน ต้องใช้เวลาในการตั้งท้องนานเป็น 4 เท่า
ในขณะที่ผู้หญิงที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ใช้เวลา 2 เท่า
เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวปกติ
- ดื่มกาแฟเกินวันละสองแก้ว : คาเฟอีนในกาแฟนั้นส่งผลต่อการชะลอในการตั้งครรภ์ ซึ่งโอกาสในการมีลูกลดลงถึง 26%
- ดื่มน้ำอัดลม : หากดื่มมากก็มีผลเสีย เพราะน้ำอัดลมนั้นส่งผลทำให้อ้วน และอาจจะมีปัญหาเรื่องของน้ำหนักตัวได้
- ไม่ออกกำลังกาย : ร่างกายหากไม่แข็งแรงมากพอ ก็จะส่งผลต่อการมีลูกยาก ทั้งการออกกำลังกายยังเป็นการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ การทำงานของหัวใจและระดับพลังงานได้อย่างดีเยี่ยม
- ร่างกายได้รับสารเคมีต่าง ๆ มากเกินไป : ทั้งสารเคมีจากเครื่องสำอาง จากการสูดดม หรือการทานอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมี สารโลหะหนักอย่างตะกั่ว และสารเคมีต่างๆ ที่สะสมในร่างกายจะส่งผลต่อการทำงานของรังไข่ทำให้เซลล์สืบพันธุ์ทำงานผิดปกติ
การทำหมัน
ผู้หญิงที่ไม่ต้องการมีลูก จะทำหมันเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ โดยวิธีนี้ทำให้ท่อนำไข่อุดตัน ส่งผลให้ไม่สามารถลำเลียงไข่ไปฝังตัวที่มดลูกได้
ส่วนผู้ชายที่ไม่ต้องการมีลูก จะตัดสินใจทำหมัน โดยแพทย์จะผ่าและปิดท่อที่ลำเลียงอสุจิไปยังอัณฑะ ทำให้ไม่มีอสุจิสำหรับสืบพันธุ์
#สาระจี๊ดจี๊ด
ปัจจุบันค่าประมาณการของประชากรไทยมีภาวการณ์มีบุตรยาก อยู่ที่ร้อยละ 15-20 ถือว่าเป็นอัตราที่สูงมาก
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา
http://www.phyathai-sriracha.com/pytsweb/content/content.php?knowid=40
https://www.bwcfertilityclinic.com/th/problem-base-female.html
https://www.pobpad.com/มีลูกยาก
https://www.dailynews.co.th/article/338807
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
1 บันทึก
10
12
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Love Friendship Family Social
1
10
12
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย