Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วินทร์ เลียววาริณ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
25 ม.ค. 2021 เวลา 00:05 • นิยาย เรื่องสั้น
ความรู้สึกผิดของไอน์สไตน์
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
11
วันที่ 14 มีนาคม 1954 เป็นวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 75 ปีของไอน์สไตน์ เขาได้รับของขวัญเป็นนกแก้วตัวหนึ่ง
4
ไอน์สไตน์ชอบนกตัวนี้มาก ตั้งชื่อมันว่า บีโบ
6
วันหนึ่งเขาเห็นบีโบท่าทางซึม ๆ เงื่องหงอย จึงคิดว่านกมีอาการซึมเศร้า เขาจึงเล่าขำขันให้บีโบฟัง
9
แต่ขำขันของเขาไม่ตลก
1
บางทีเขาเองนั่นแหละเป็นโรคซึมเศร้า เพราะคนซึมเศร้าย่อมพูดตลกไม่ออก
4
คนชาญฉลาดอย่างไอน์สไตน์ก็ซึมเศร้าหรือ?
8
เขาอาจไม่เคยเป็นโรคซึมเศร้า แต่อาจจะเป็นหลังจากเขาได้รับข่าวของเหตุการณ์หนึ่งเมื่อเก้าปีก่อน
ฮิโรชิมา
ระเบิดปรมาณูคร่าชีวิตมนุษย์ไปหลายแสนคน อาวุธร้ายที่อิงทฤษฎีฟิสิกส์และสมการ E=mc2 ของเขา
5
วันหนึ่งในปี 1939 หกปีหลังจากฮิตเลอร์ขึ้นเป็นใหญ่ในเยอรมนี ไอน์สไตน์กำลังพักร้อนที่ ลอง ไอแลนด์ นิวยอร์ก ชายสามคนไปหาเขา ได้แก่ ลีโอ ไซลาร์ด (Leo Szilard) เอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์ (Edward Teller) กับ ยูจีน วิกเนอร์ (Eugene Wigner) ทั้งสามเป็นนักฟิสิกส์เชื้อสายฮังกาเรียน
3
ลีโอ ไซลาร์ด เคยเป็นลูกศิษย์และผู้ร่วมงานของไอน์สไตน์ ทั้งสองเคยร่วมพัฒนาตู้เย็นประหยัดพลังงาน โครงการตู้เย็นล้มเหลว แต่ทั้งสองยังติดต่อกันเสมอ
5
ไซลาร์ดบอกไอน์สไตน์ว่า "สาระทฤษฎีของคุณคือพลังงานและมวลสลับรูปกันได้ เป็นรากฐานของพลังงานนิวเคลียร์ จึงสามารถต่อยอดให้สร้างระเบิดปรมาณูได้"
9
ไอน์สไตน์ถาม "อย่างไร?"
"ผมตั้งคำถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าเรายิงนิวตรอนซึ่งไม่มีประจุไฟฟ้าเข้าไปในศูนย์กลางของอะตอม มันจะเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ทางนิวเคลียร์ ปลดปล่อยเอาพลังงานมหาศาลออกมาจากนิวเคลียสของอะตอม ผมคำนวณตัวเลข จึงรู้ว่าด้วยมวลสารเพียงไม่กี่ปอนด์ ก็สามารถก่อกระบวนการปฏิกิริยาลูกโซ่ ปลดปล่อยพลังงานมหาศาลที่สามารถให้พลังงานสำหรับเมืองทั้งเมือง..."
13
5
ลีโอ ไซลาร์ด / เอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์
ไซลาร์ดนิ่งไป แล้วพูดต่อ "แต่ก็มีอำนาจทำลายล้างเมืองทั้งเมืองได้เช่นกัน"
2
ไซลาร์ดขยายความการคำนวณของเขาให้ไอน์สไตน์ฟังว่า จะทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่อย่างไร
2
ไอน์สไตน์ตกใจเมื่อรู้ว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของเขาสามารถเป็นรากฐานให้พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ เขาร้องว่า "ผมไม่เคยคิดเรื่องอาวุธมาก่อนเลย"
13
ไอน์สไตน์ซักถามไซลาร์ดหลายข้อ เมื่อบทสนทนาด้านวิชาการยุติ เขาก็เชื่อแล้วว่าระเบิดปรมาณูเป็นสิ่งที่สร้างได้จริง
3
เขารู้ว่า หากเป็นแค่ทฤษฎี ไซลาร์ดคงไม่พานักฟิสิกส์มือดีอีกสองคนถ่อมาหาเขาเพื่อแจ้งเรื่องนี้ มันต้องมีอะไรมากกว่านั้น
ไซลาร์ดบอกว่า "นักฟิสิกส์เยอรมันกำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์"
3
"ใครทำ?"
"ไฮเซนเบิร์ก"
3
ไฮเซนเบิร์กก็คือ เวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg) สุดยอดนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้บุกเบิกสาย ควอนตัม เมคานิคส์ และได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
6
ยูจีน วิกเนอร์ / เวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก
"ถ้าพวกเยอรมันได้ยูเรเนียมจากคองโก ก็สามารถเริ่มสร้างระเบิดได้ทันที ผมจึงเห็นว่าเราต้องเตือนคนอื่น"
"เตือนใคร?"
2
แขกทั้งสามเสนอให้ไอน์สไตน์เขียนจดหมายไปถึงสมเด็จพระราชินีเบลเยียม เพราะไอน์สไตน์รู้จักพระองค์เป็นการส่วนตัว
ไอน์สไตน์เป็นพวกต่อต้านสงครามและความรุนแรงเสมอมา แต่เขาต้องคิดหนักว่าจะทำอย่างไร หากนาซีสร้างระเบิดปรมาณูสำเร็จ โลกจะเปลี่ยนโฉมโดยสิ้นเชิง
5
ฮิตเลอร์ไม่แยแสชีวิตมนุษย์ หากมีระเบิดปรมาณูย่อมไม่ลังเลที่จะใช้มัน
2
ไอน์สไตน์ลังเลที่จะเขียนจดหมายถึงพระราชินี แต่ตกลงเขียนไปถึงเอกอัครราชทูตเบลเยียมแทน
3
ในเวลาเดียวกัน ไซลาร์ดไปหา อเล็กซานเดอร์ ซาคส์ (Alexander Sachs) นักเศรษฐศาสตร์ผู้เป็นเพื่อนกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ ซาคส์แนะนำให้เขียนจดหมายถึงประธานาธิบดี เสนอให้สร้างระเบิดนิวเคลียร์ ซาคส์จะเป็นผู้นำจดหมายไปถึงมือท่านด้วยตัวเอง
4
แฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์
ไซลาร์ดจึงร่างจดหมายถึงประธานาธิบดี โดยอิงจากจดหมายของไอน์สไตน์ที่เขียนถึงเอกอัครราชทูตเบลเยียม
3
ไอน์สไตน์เป็นผู้เซ็นจดหมาย
2
อเล็กซานเดอร์ ซาคส์ ยื่นจดหมายให้ประธานาธิบดีรูสเวลท์ในวันที่ 11 ตุลาคม 1939 อธิบายที่มาที่ไปให้ผู้นำสหรัฐฯฟังก่อนให้อ่าน
ท่อนหนึ่งของจดหมายเขียนว่า
1
"ในช่วงสี่เดือนที่ผ่านมา มีเรื่องที่ทำให้เป็นไปได้ว่าจากงานของจูลิออตในฝรั่งเศส และเฟอร์มี และไชลาร์ดในอเมริกา ว่าเป็นไปได้ที่จะสร้างปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์โดยการใช้มวลจำนวนมากของแร่ยูเรเนียม ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานมหาศาลและจะก่อให้เกิดองค์ประกอบใหม่ที่คล้ายเรเดียมจำนวนมาก บัดนี้ดูเป็นที่แน่นอนว่าสิ่งนี้สามารถสร้างขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้ ปรากฏการณ์ใหม่นี้ยังสามารถนำไปสู่การสร้างระเบิด และมองเห็นว่าแม้จะไม่แน่นอนนักว่า อาจจะสร้างระเบิดทรงอานุภาพร้ายแรงใหม่ได้..."
8
ไอน์สไตน์เป็นนักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะที่เมื่อส่งเสียง ใคร ๆ ก็รับฟัง รวมทั้งประธานาธิบดีรูสเวลท์
8
ซาคส์บอกรูสเวลท์ว่า ยุคแห่งพลังงานนิวเคลียร์มาถึงแล้ว ไม่ช้าหรือเร็วก็จะมีคนสร้างระเบิด "และใช้ทำลายเพื่อนบ้าน"
8
ประธานาธิบดีกล่าวว่า "อเล็กซ์ สิ่งที่คุณกำลังตามอยู่คือการดูว่าพวกนาซีไม่ระเบิดเราทิ้ง"
9
"ถูกต้องครับ" ซาคส์ตอบ
ประธานาธิบดีรูสเวลท์จึงเรียกนายพล เอ็ดวิน วัตสัน มาพบ บอกว่า "มีงานให้ทำแล้ว"
2
ในที่สุดโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project) ก็ถือกำเนิด สถานที่ทดลองคือรัฐ นิว เม็กซิโก มันเป็นโครงการขนาดยักษ์ ใช้กำลังคนหลายหมื่นคน นำโดย รอเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ (Robert Oppenheimer) ดึงตัวนักวิทยาศาสตร์ชั้นยอดมารวมกันสร้างอาวุธมหาประลัย
12
จดหมายจากไอน์สไตน์ถึงประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์
แต่ไอน์สไตน์ไม่ได้ร่วมโครงการแมนฮัตตัน เอฟบีไอเสนอเบื้องบนว่าไม่ควรให้ไอน์สไตน์เกี่ยวข้องกับโครงการนี้โดยเด็ดขาด เพราะนิสัยของเขาไม่กลัวที่จะพูด หลายปีที่ลี้ภัยในอเมริกา ไอน์สไตน์พูดเรื่องต่าง ๆ เช่น การเหยียดผิว การต่อต้านสงคราม การต่อต้านลัทธิทุนนิยม จนเอฟบีไอต้องแอบตามไอน์สไตน์ไปทุกที่ ดักฟังเสียงโทรศัพท์ บันทึกกิจกรรมต่าง ๆ ของเขา
4
ดังนั้นไอน์สไตน์แม้มีส่วนเกี่ยวข้องทางอ้อมกับระเบิดปรมาณู แต่ไม่ใช่ผู้สร้าง
6
อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงระเบิดปรมาณู ชาวโลกก็มักคิดว่าไอน์สไตน์เป็นบิดาของระเบิดนิวเคลียร์ ทั้งที่สมการ E=mc2 เพียงอธิบายรากฐานของระเบิดปรมาณูทางอ้อม มันไม่ใช่สูตรการสร้างระเบิด
18
ประธานาธิบดีรูสเวลท์ถึงแก่อสัญกรรมในปี 1945 ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองยุติ แฮร์รี ทรูแมน ขึ้นมาแทน และเป็นคนสั่งทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกที่ฮิโรชิมา ตามด้วยลูกที่สองที่นางาซากิ
3
2
เมื่อไอน์สไตน์เห็นภาพควันรูปเห็ดเหนือฟ้าฮิโรชิมา เขารู้สึกปวดร้าวใจอย่างยิ่ง อุทานว่า "Woe is me!" (โอ้! สวรรค์! ช่างร้ายจริง ๆ)
ตลอดชีวิตที่เหลือ เขาพยายามทำกิจกรรมต่อต้านสงครามนิวเคลียร์ เพราะรู้สึกผิดที่ตนเองเกี่ยวข้องทางอ้อมกับอาวุธมหาประลัยนี้
13
ความฉลาดระดับอัจฉริยะของเขากลายเป็นการเปิดประตูความชั่วร้ายโดยไม่ตั้งใจ
6
แต่วิทยาศาสตร์ต้องก้าวต่อไป และมันยากจะรู้ว่าใครจะนำวิทยาศาสตร์ไปใช้ในทางชั่วร้ายหรือไม่
2
หลังสงคราม มีคนถามไอน์สไตน์เสมอว่า "ทำไมคุณจึงร่วมมือในโครงการสร้างระเบิดปรมาณู ทั้งที่รู้ดีถึงพลังการทำลายล้างของมัน?"
5
เขาไม่รู้จะตอบว่าอะไร
3
ระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา
แต่การโทษไอน์สไตน์ว่าเป็นต้นเหตุของการสร้างระเบิดปรมาณู หรือเป็นบิดาของระเบิดปรมาณูอาจไม่ถูกต้อง
3
นักฟิสิกส์ สตีเฟน ฮอว์กิง เขียนว่า การตำหนิว่าไอน์สไตน์เป็นต้นเหตุของระเบิดปรมาณูก็เหมือนตำหนิ ไอแซค นิวตัน ว่าทำให้เครื่องบินตกซึ่งเป็นผลมาจากแรงโน้มถ่วง เพราะต่อให้ไอน์สไตน์ไม่ใช่คนค้นพบความสัมพันธ์ของมวลกับพลังงาน ก็จะมีนักวิทยาศาสตร์คนอื่นพบจนได้
20
ทุกทุกเทคโนโลยีเป็นดาบสองคม ความดีกับความชั่วร้ายเป็นคนละด้านของเหรียญเดียวกัน
7
1
อย่างไรก็ตาม ไอน์สไตน์มักรู้สึกว่าตนเองรับผิดชอบต่อความวุ่นวายทั้งหลายในโลกที่สืบเนื่องมาจากระเบิดปรมาณู
3
เขาเขียนในปี 1952 ว่า "ผมตระหนักดีถึงอันตรายใหญ่หลวงต่อมนุษยชาติ ถ้าการทดลองระเบิดปรมาณูสำเร็จ แต่ผมมองไม่เห็นทางออกอื่นเลย"
3
เขาเสียใจอย่างยิ่งที่มีส่วนร่วมแม้ในทางอ้อม เขาเคยให้สัมภาษณ์นิตยสาร Newsweek ว่า "ถ้าผมรู้ว่าพวกเยอรมันพัฒนาระเบิดปรมาณูไม่สำเร็จ ผมจะไม่ขยับนิ้วเลย"
1
แต่เขาไม่รู้
นักฟิสิกส์คนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ไม่มีใครรู้ และทั้งหมดล้วนรู้สึกผิดเช่นกันเมื่อเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น โดยเฉพาะ รอเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ หัวหน้าทีมโครงการแมนฮัตตัน
6
ไอน์สไตน์กับออกเพนไฮเมอร์
ในปี 1947 ออพเพนไฮเมอร์รับตำแหน่งผู้อำนวยการ The Institute for Advanced Study สถาบันที่ไอน์สไตน์ทำงาน ทั้งสองคุยกันเสมอ ไอน์สไตน์ยกย่องออพเพนไฮเมอร์มาก จุดหนึ่งที่ทั้งสองเหมือนกันคือต่างรู้สึกผิดที่เกี่ยวข้องกับระเบิดปรมาณู
1
ในด้านการสงคราม มันอาจจะเป็นสิ่งที่ต้องกระทำ แต่ในด้านมโนธรรม จิตวิญญาณของเขาถูกกัดกินขาดวิ่น
3
หลายปีหลังสงคราม แขกคนหนึ่งมาเยี่ยมไอน์สไตน์ คือนักฟิสิกส์ เวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก ผู้นำทีมเยอรมันสร้างระเบิดปรมาณู ผู้ที่ไอน์สไตน์เรียกว่า "นาซีตัวเบิ้ม"
5
ไฮเซนเบิร์กโชคดีที่ทำโครงการระเบิดปรมาณูไม่สำเร็จ จึงไม่ต้องรู้สึกผิดไปตลอดชีวิตเหมือนไอน์สไตน์และออพเพนไฮเมอร์
5
ไม่กี่เดือนก่อนไอน์สไตน์ตาย นักเคมีนาม ไลนัส พอลลิง (Linus Pauling) ไปเยี่ยมไอน์สไตน์ที่พรินซตัน
พอลลิงเป็นนักวิทยาศาสตร์สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก มีผลงานด้านเคมีและอื่น ๆ จนได้รับรางวัลโนเบล
ไอน์สไตน์บอกพอลลิงว่า "ผมทำความผิดใหญ่หลวงที่สุดในชีวิต เมื่อผมเซ็นชื่อในจดหมายถึงประธานาธิบดีรูสเวลท์ แนะนำเขาว่าควรสร้างระเปิดปรมาณู"
4
หากไอน์สไตน์ยังมีชีวิตอยู่อีกหลายปี เขาคงยินดีที่พอลลิงกลายเป็นหัวหอกในการต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ของโลก และมีบทบาทโน้มน้าวใจสหรัฐฯ โซเวียต อังกฤษให้ตกลงเซ็นสนธิสัญญาแบนการทดลองนิวเคลียร์
10
เก้าปีหลังจากไอน์สไตน์ตาย พอลลิงก็ได้รับรางวัลโนเบลอีกรอบ คราวนี้เป็นสาขาสันติภาพ
8
บางทีสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นก็เป็นจุดเริ่มต้นของความหวังใหม่แห่งสันติภาพ
6
ปีต่อมาบีโบติดเชื้อ แล้วส่งต่อให้ไอน์สไตน์ แต่เขาเป็นห่วงนกแก้วมากกว่า อาการของมันไม่ค่อยดี
6
สัตว์แพทย์บอกว่ามันต้องรับการฉีดยาถึงสิบสามเข็ม ไอน์สไตน์กลัวว่ามันจะไม่รอด
2
เขารู้สึกโล่งอกเมื่อบีโบรอดตายหลังจากฉีดยาไปสองเข็ม
2
นกแก้วรอดตาย แต่ไม่ใช่คนหลายแสนคนที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ นกแก้วพ้นจากความทรมาน แต่ไม่ใช่คนอีกจำนวนมากที่ทนทุกข์เพราะพิษปรมาณูไปตลอดชีวิต
4
เชื้อโรคแห่งความรู้สึกผิดร้ายกาจกว่าเชื้อโรคของนกแก้วมากนัก เพราะมันฝังติดตัวไปตลอดชีวิต ไม่มียาชนิดใดสามารถรักษาหาย
12
เขาตายในปีเดียวกับที่นกแก้วหายป่วย
10
201 บันทึก
566
37
298
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Blockdit Original ไอน์สไตน์
201
566
37
298
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย