Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Werawut Wongwasan
•
ติดตาม
19 ม.ค. 2021 เวลา 11:08 • สิ่งแวดล้อม
พรรณไม้หายากของไทย (1)
สวัสดีครับ...ในช่วงนี้ยังคงนำเสนอเกี่ยวกับพรรณไม้ต่างๆ ของไทยกันอยู่ครับ สำหรับพรรณไม้ที่น่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่ง คือ พรรณไม้หายาก ซึ่งหลายคนอาจไม่เคยรู้จัก ไม่เคยได้ยินชื่อ ดังนั้น จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้รวบรวมพรรณไม้ดังกล่าว มาทำความรู้จักและเรียนรู้กันต่อไป
สำหรับชุดแรก เราเริ่มต้นกันด้วยพืชวงศ์เงาะ ชื่อ ก่วม หรือเมเปิ้ล (Acer) ซึ่งทั่วโลกมี 130 ชนิด และในประเทศไทยพบเพียง 6 ชนิด อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ 4 ชนิด และมีข้อมูลที่สืบค้นได้เพียง 4 ชนิด ได้แก่ ก่วมแดง หรือเมเปิ้ลแดง (Acer calcaratum) ก่วมเชียงดาว (A. chiangdaoensis) ก่วมขาว (A. laurinum) และ ก่วมภูคา (A. pseudowilsonii)
1
พรรณไม้หายาก 1 : ก่วมแดง
ภาพใบก่วมแดง.....https://news.mthai.com
ก่วมแดง หรือ ไฟเดือนห้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acer calcaratum Gagnep. ชื่อวงศ์ คือ ACERACEAE และมีชื่อเรียกพื้นเมือง ได้แก่ ก่วมแดง, ไฟเดือนห้า, เมเปิลแดง, มะเยาดง (เลย) เป็นพืชในสกุลเมเปิล วงศ์เงาะ
เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูงได้ถึง 12-25 ม. ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เปลือกเรียบ สีเทาอมน้ำตาล เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมยาว ใบเว้าเป็น 3 แฉก ปลายใบแหลม ขอบเรียบ โคนใบเว้าตรงรอยต่อก้านใบชัดเจน ใบด้านกว้างส่วนมากยาวกว่าด้านยาว ยาว 6-15 ซม. โคนกลมหรือเว้าตื้น ขอบเรียบ เส้นแขนงใบรูปฝ่ามือ
ภาพต้นก่วมแดง/เมเปิ้ลแดง บนอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
ก้านใบยาว 1.5-4.5 ซม. เปลี่ยนเป็นสีแดงก่อนร่วง ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่นออกสั้น ๆ ตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีแดง ยาวประมาณ 2 มม. ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม
ลักษณะของดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว ฐานดอกมีต่อมน้ำหวานรูปวงกลมสีแดง ช่อดอกสั้นออกตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงก้านดอกยาว 1.5-2 ซม. ก้านชูอับเรณูยาว 3-4 มม. ในดอกเพศผู้ อับเรณูสีแดง จานฐานดอกอยู่ด้านนอกวงเกสรเพศผู้ ผลแห้ง รูปไข่ กว้างประมาณ 7 มม. ยาวประมาณ 5 มม. ปีกยาว 3-5 ซม. แต่ละช่อมีผล 1-4 ผล ช่อผลตั้ง ชูผลขึ้นข้างบน
ภาพต้นก่วมแดง/เมเปิ้ลแดง บนอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
ภาพใบต้นก่วมแดง/เมเปิลแดง บนอุทยานแห่งชาติภูกระดึง
ก่วมแดง มีเขตการกระจายพันธุ์ที่แคบ สภาพนิเวศน์ที่ชอบคือ ชอบขึ้นตามป่าดิบเขาหรือตามริมลำธาร บนภูเขาหินทราย ลำธารบนภูเขา ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,300-2,200 เมตร ในประเทศไทยจะพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาพใบก่วมแดง/เมเปิลแดง ร่วงหล่นตามลำธาร บนอุทยานแห่งชาติภูกระดึง
ก่วมแดง จะออกดอกเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม และผลจะแก่เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากไปชมภาพความงดงามในช่วงเวลาใบเมเปิ้ลเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีแดง หรือไม่ก็สีแดงอิฐ และใบร่วงหล่นจากต้นลงสู่พื้นดินอย่างสวยงาม แนะนำให้ไปในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงเดือนธันวาคม-ต้นกุมภาพันธ์
ภาพใบก่วมแดง/เมเปิลแดง....th.aectourismthai.com
พรรณไม้หายาก 2 : ก่วมเชียงดาว
ก่วมเชียงดาว.....FB ชุมชนคนรักษ์พรรณไม้
ก่วมเชียงดาว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Acer chiangdaoense Santisuk อยู่ในวงศ์เงาะ (Sapindaceae) เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคเหนือที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และดอยตุง จังหวัดเชียงราย ขึ้นตามเขาหินปูน ความสูง 1300-2200 เมตร
ก่วมเชียงดาว.....FB ชุมชนคนรักษ์พรรณไม้
ก่วมเชียงดาว.....FB ชุมชนคนรักษ์พรรณไม้
ก่วมเชียงดาว....https://www.dnp.go.th
ก่วมเชียงดาว ไม้ยืนต้นสูง 5–15 ม. ลำต้นมักแคระแกร็น มีขนละเอียดตามกิ่งอ่อน ใบอ่อน และช่อดอก ใบรูปไข่หรือรูปไข่กว้าง ยาว 4–11 ซม. ขอบเรียบ แผ่นใบด้านล่างมีนวล เส้นโคนใบข้างละ 1–2 เส้น เส้นแขนงใบข้างละ 3–4 เส้น คู่ล่างโค้งถึงประมาณกึ่งกลางใบ ช่อดอกคล้ายช่อเชิงหลั่นแยกแขนงสั้น ๆ ออกที่ปลายกิ่ง ยาว 3.5–8 ซม. มีขนสั้นนุ่ม ก้านดอกยาว 0.5–1 ซม. กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2.5 มม. ดอกสีขาว กลีบดอกยาวกว่ากลีบเลี้ยงเล็กน้อย ช่อผลมักตั้งขึ้น ผลรูปรีเป็นเหลี่ยมมน ยาว 0.5–1 ซม. ปีกยาว 1.4–1.8 ซม.
พรรณไม้หายาก 3 : ก่วมภูคา
ก่วมภูคา บนอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน
ก่วมภูคา มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Acer pseudowilsonii Y. S. Chen อยู่ในวงศ์เงาะ
(Sapindaceae) พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคเหนือที่ดอยภูคา จังหวัดน่าน ขึ้นตามป่าดิบเขา ความสูง 1000-1400 เมตร
ก่วมภูคา บนอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน
ก่วมภูคา บนอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน
ก่วมภูคา บนอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน
ก่วมภูคา ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. ใบรูปฝ่ามือมี 3 แฉก เปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มหรือแดงก่อนผลัด ปลายใบแหลมยาวคล้ายหาง ดอกสีขาวช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนงออกตามปลายกิ่งห้อยลง ผลมีปีกกางออก
พรรณไม้หายาก 4 : ก่วมขาว
ดอกก่วมขาว....https://www.qsbg.org
ก่วมขาว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Acer laurinum Hassk. อยู่ในวงศ์ Aceraceae
ไม้ต้นแยกเพศ สูงได้ถึง 30 เมตร ใบ เดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปหอกถึงรูปรี กว้าง 2.5-7 ซม. ยาว 6.5-15 ซม. โคนใบมนมีเส้นใบ 3-5 เส้น ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง มีนวลสีขาวหรือเทาอมน้ำเงินอ่อนๆ ที่ใต้ใบ ก้านใบยาว 2.5-5 ซม. ดอกแยกเพศออกเป็นช่อที่ซอกใบยาว 2-10 ซม. ดอกย่อยสีเขียวถึงเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะคล้ายกัน มีอย่างละ 5 กลีบ รูปหอก ยาว 1.5-3 มม. มีขน เกสรเพศผู้มีจำนวน 8 อัน ก้านชูเกสรเพศผู้ยาว 2.5-3 มม. อับเรณูค่อนข้างกลมถึงรูปไข่ ยาว 0.5-0.75 มม. ดีสค์หนามีขนประปราย รังไข่มีขนประปราย ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-1.5 มม. ผล แห้งปีกเดียว มี 2 อันติดกัน กว้าง 1.2-2.3 ซม. ยาว 4-7 ซม. (รวมปีกด้วย) เมล็ด รูปไข่ผิวหยาบมีขนประปราย กว้าง 5-6 มม. ยาว 8-11 มม.
ก่วมขาว ในประเทศไทยพบตามป่าดิบเขาที่ะดับความสูง 1,600-1,800 เมตร ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ติดผลช่วงเดือน พฤศจิกายน-มกราคม
อ้างอิง :
https://news.mthai.com
,
https://mgronline.com
, FB ชุมชนคนรักษ์พรรณไม้ ,
http://www.rspg.or.th
,
https://www.dnp.go.th
, FB กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช &
https://www.qsbg.org
2 บันทึก
6
3
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
พรรณไม้หายากของไทย
2
6
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย