24 ม.ค. 2021 เวลา 06:25 • สุขภาพ
ความแตกต่างระหว่างแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด และ Personal trainer ❓
หมอชอบเวลาได้คุยแลกเปลี่ยนความรู้กับนักกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล และ personal trainer ที่ยิม ที่แม้จะใช้การออกกำลังกายในการดูแลรักษาเหมือนกัน หลักการพื้นฐานใกล้เคียงกัน แต่ในแต่ละ field ก็จะมีจุดเด่นของตัวเองที่เอาไว้ดูแลคนไข้ ที่หลายๆคนมักสับสน จึงอยากมาเล่าให้ฟังค่ะ
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation doctor หรือ Physiatrist)
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู จะเน้นการวินิจฉัยและดูแลรักษาโรค หรืออาการนั้นๆให้ดีขึ้น หรือเรียกว่าเป็น ระยะรักษา และฟื้นฟูร่างกาย แพทย์จะวางแผนการรักษา ได้แก่ การใช้ยา แนะนำการปรับพฤติกรรม แนะนำว่าควรทำกายภาพบำบัด หรือออกกำลังกายในลักษณะใดที่เหมาะสม อาจใช้เข็ม ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ช่วยในการรักษา ไม่ว่าจะเป็น support หรือ อุปกรณ์ลดปวด แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจะทำงานร่วมกับนักกายภาพบำบัด เพื่อให้การรักษาครบสมบูรณ์ มักเป็นการออกกำลังกายเบาๆ เพื่อไม่ให้บาดเจ็บเพิ่ม และฟื้นตัวได้ดี
ที่สำคัญคือ ถ้ามีโรคประจำตัวต่างๆ แพทย์จะดูข้อควรระวังในการออกกำลังกายต่างๆให้ด้วย แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจะทำงานร่วมกับนักกายภาพบำบัด
นักกายภาพบำบัด (Physical therapist)
จะเน้นในการดูแลผู้ป่วยเช่นกัน คือ ในระยะที่กำลังป่วย บาดเจ็บ หรือระยะที่กำลังหายป่วยแล้วจะฟื้นตัว ให้กลับไปนั่ง ยืน เดิน ทำกิจวัตรได้ตามปกติ นักกายภาพก็จะเก่งในการออกแบบการออกกำลังกาย ทำร่วมไปกับพร้อมกับการสอนผู้ป่วย โดยเน้น การออกกำลังกายเพื่อการรักษา ท่าบริหารต่างๆ (therapeutic exercise), manual therapy รวมถึงการใช้อุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด ในการรักษา เช่น ultrasound, heat, cold, traction เป็นต้น
Personal trainer
จะเน้น ให้เราไปถึงเป้าหมายในการออกกำลังกายของเรา โดยที่ เราอาจจะไม่ได้ป่วยก็ได้ เช่น เราอยากจะ หุ่นดี ลดน้ำหนัก หรือ อยากจะไปเล่นกีฬา ให้ performance ดีขึ้น หรือ แค่จะออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ หรือ อยากจะไปเดินเที่ยวให้ฟิตขึ้น ทรงตัวดีขึ้น หรือ ในคนที่ป่วยหรือบาดเจ็บ มักจะเป็นระยะต่อเนื่องมาหลังจากหายบาดเจ็บแล้ว
ส่วนใหญ่ personal trainer จะสอนและออกแบบการออกกำลังกาย โดยเน้นการเล่น weight คือ เป็น strengthening exercise อาจจะเสริม endurance stretching balance agility บ้าง โดยใช้เครื่อง หรือ body weightก็ได้ แต่เค้าจะช่วยเราแนะนำ cardiovascular exercise ที่ควรจะมี รวมถึงเรื่อง nutrition เพื่อให้เราไปถึงเป้าหมายในการออกกำลังกายด้วย
Trainer บางคนก็ไม่ได้จบ Sports Science แต่สอบได้ certificate ก็เป็น trainer ทำงานได้ แต่ความสนุกคือ Trainer เค้าจะมี dynamic ของการออกแบบ การ train ใช้ body weight หรือ weight จริง, กี่ rep กี่ set ความถี่ คืองานเค้าเน้นด้านนี้
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู (หรือที่เค้าชอบเรียกกันว่าหมอ rehab) และ นักกายภาพ ที่สนใจ exercise เป็นพิเศษ ก็มักจะศึกษาต่อยอด ในการดู performance ในกรณีที่เล่นกีฬาได้ด้วย หรือ ออกกำลังกายหนักขึ้นแบบ trainer ได้ด้วย มีความวิจิตรมากขึ้นไปอีก
แต่ให้เข้าใจว่า เนื่องจากทั้งแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู, นักกายภาพ และ trainer ก็ทำงานเพื่อให้คนไข้ได้ เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เช่นเดียวกัน ทำให้มีหลักการคิดหลายอย่าง พื้นฐานใกล้เคียงกัน ส่วนตัวหมอคิดว่าเราทำงานเสริมกัน โดยที่แต่ละคนมีจุดเด่นแต่ละด้าน เพียงแต่เราควรใช้ให้ถูกระยะ
ยกตัวอย่างนะคะ คนไข้ปวดหลังเป็นหมอนรองกระดูกเคลื่อนเดินไม่ไหว หลังการเล่นกีฬา คนไข้ก็มาพบแพทย์ก่อน อาจเป็น หมอกระดูก (orthopedist) หรือ หมอ rehab (แล้วแต่ ระบบของแต่ละโรงพยาบาล) แพทย์ก็จะให้รักษาต่างๆ ให้พัก ให้ยา ให้คำแนะนำต่างๆ ส่งให้นักกายภาพ ทำกายภาพเบื้องต้น มักเป็นอุปกรณ์ ultrasound ประคบ หรืออะไรที่เหมาะสม เมื่ออาการดีขึ้นมาก ก็จะมีคำแนะนำ และท่าบริหารง่ายๆ ซึ่งก็คือการทำ therapeutic exercise หรือ กายภาพบำบัดนั่นเอง พออาการดีขึ้นไปอีก คนไข้บางรายก็สามารถฝึกต่อกับ trainer เพื่อสร้าง core muscle หรือ เพิ่ม flexibility ต่อไป เมื่อไม่ค่อยปวดแล้ว แล้วก็เน้นฝึกเพิ่มเพื่อ performance ถ้าคนไข้อยากกลับไปเล่นกีฬา ลักษณะนี้ค่ะ
ยุคนี้มี clip ต่างๆ ที่เป็นท่าออกกำลังกายออกมามาก ที่ทำดีๆ ก็มาก “สิ่งสำคัญคือ เราควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับระยะของโรค และโรคที่เราเป็น” เราอาจจะใช้หลักง่ายๆ เบื้องต้น เวลาป่วย หรือบาดเจ็บ คือ “ออกกำลังเท่าที่ไม่เจ็บเพิ่ม” หรือ “optimal loading exercise”
ปัญหาที่หมอพบบ่อยคือ คนไข้มักเริ่มออกกำลังตอนที่กำลังเจ็บมากอยู่ หรือ เพิ่งเจ็บใหม่ ทำให้อาการแย่ลงไปอีก หรือ บางครั้งวินิจฉัยโรคเองไม่ถูกต้อง ไม่ได้เป็นโรคแบบที่เหมาะกับที่ใน clipบอกไว้ ดังนั้น ทางที่ดี เพื่อความปลอดภัย ถ้าไม่แน่ใจควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมตรงตามเป้าหมายของเรานะคะ
fb: Rehab Your Life
Medium : Dr. Pranathip Rinkaewkan
Youtube : DrAnnPlanet
โฆษณา