18 มี.ค. 2021 เวลา 00:30 • การศึกษา
Ransomware มัลแวร์เรียกค่าไถ่ กับวิธีรับมือที่ดีที่สุด
ปัจจุบันเป็นยุคของการขับเคลื่อนทุกอย่างด้วยเทคโนโลยี ซึ่งมีการพัฒนาไปชนิดที่เรียกว่าก้าวกระโดดกันเลยทีเดียว ถ้าใครปรับตัวไม่ทัน ก็จะกลายเป็นล้าหลังไป คุยกับใครก็อาจจะไม่ค่อยรู้เรื่องนะคะ
ซึ่งเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหล่านั้น ล้วนก่อให้เกิดประโยชน์นานัปการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศต่างๆ
ทุกหน่วยงานและองค์กร หรือแม้แต่ตัวบุคคล ล้วนมีข้อมูลที่สำคัญของตัวเองที่ต้องการเก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัย 🔐
ถึงแม้เทคโนโลยีจะมีประโยชน์คุณอนันท์มากมายแค่ไหน แต่มันก็มาพร้อมกับโทษมหันต์เช่นเดียวกัน ดังคำกล่าวที่ว่า เหรียญมีสองด้านเสมอ ดังนั้นจึงมีพวกหัวใส ที่จะหากินบนช่องทางนี้ พยายามสร้างเครื่องมือขึ้นมา ที่พวกเราเรียกมันว่า ไวรัส นั่นเอง
เจ้าไวรัสที่แพร่หลายในโลกอินเทอร์เน็ตนั้น เรียกว่า Ransomware หรือ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ ซึ่งจริงๆแล้ว มัลแวร์ตัวนี้ ได้เกิดขึ้นมาค่อนข้างนานพอสมควรแล้ว
โดยมัลแวร์ตัวนี้ ผู้ร้ายมักจะส่งไปทางอีเมลล์หรือลิ้งค์ที่มีข้อความลักษณะจูงใจ เมื่อมีผู้หลงเชื่อ กดลิ้งค์เปิดอ่าน ระบบจะถูกเจาะและเข้ารหัส ทำให้เหยื่อจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลตัวเองได้ ส่งผลให้เหยื่อต้องพยายามกู้ข้อมูลคืนหรืออาจต้องจ่ายเงินให้แฮกเกอร์เพื่อเป็นการไถ่ข้อมูลคืน
👉 ก่อนหน้านี้ไม่นานก็มีตัวอย่างโรงพยาบาลสระบุรี ถูกเจ้าไวรัสตัวนี้เล่นงาน โดยแฮกเกอร์ ได้เข้าไปแฮกข้อมูล และปิดการมองเห็นประวัติของผู้ป่วยในช่วง 3-4 ปีหลัง ซึ่งก็เป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต เพราะด้วยข้อมูลของผู้ป่วยนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก และยังเป็นเรื่องของชีวิตความเป็นความตายของผู้ป่วยด้วย
และอีกตัวอย่างล่าสุดก็คือ Jasmin International บริษัทแม่ของ 3BB และ Mono Group ก็ถูกแฮกเกอร์เจาะระบบ และฉกข้อมูลไว้เพื่อเรียกค่าไถ่เป็นมูลค่า 500,000 เหรียญ หรือราวๆ 15 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าไม่น้อยเลยทีเดียว
จากการที่ผู้เขียนก็ทำงานคลุกคลีอยู่ในสายงานนี้ด้วยเช่นกัน ก็ได้ยินได้เห็นลูกค้าหลายราย ก็โดนเจ้าไวรัสตัวนี้เล่นงานไปค่อนข้างเยอะจนน่าตกใจเหมือนกันค่ะ
ก็เลยอยากจะมาแชร์ในมุมมองของผู้ที่อยู่ในสายงานนี้ว่า ถึงเราจะพยายามป้องกันให้ดีแค่ไหน สุดท้ายมันก็อาจจะมีหลุดรอดกันได้บ้าง
การป้องกัน จึงเป็นเพียงด่านแรกที่เราควรกระทำ และด่านที่สองซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือ การแบ็คอัพข้อมูลหรือการสำรองข้อมูลนั่นเองค่ะ
1
โดยอาจจะกำหนดการสำรองข้อมูลทุกเดือน ทุกสัปดาห์ หรือทุกวันยิ่งดีค่ะ ยิ่งแบ็คอัพถี่แค่ไหน ข้อมูลที่เราจะได้คืน ก็เป็นปัจจุบันมากเท่านั้นค่ะ
💦.....วิธีการดังกล่าวคือจากประสบการณ์และมุมมองของผู้เขียนเองนะคะ หากท่านใดมีข้อแนะนำอย่างอื่น สามารถเข้ามาแชร์กันนะคะ จะได้เป็นการช่วยให้ผู้อ่านท่านอื่นๆ ทราบด้วยค่ะ
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ช่องทางอื่นในการติดตาม เพจลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกกำลังใจและการติดตามนะคะ 🙏🙏😘😘

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา