Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กวีธารา Elephant FC
•
ติดตาม
28 ม.ค. 2021 เวลา 15:05 • ประวัติศาสตร์
สินค้าส่งออกชนิดใดใหญ่ที่สุด มีสง่าและศักดิ์ศรีสูงสุด?(ep1/2)
คำถามทายซิ? นี้ บางคนอาจนึกตอบเป็น ยานอวกาศ.., ยานยนต์ไร้คนขับ Tesla..,รถถัง Challenger 2.. หรือคำตอบอื่นๆ อีกมากมาย
แต่หากย้อนไปในยุคกรุงศรีอยุธยาเมื่อ 300 ปีก่อน คำตอบนี้มีหนึ่งเดียว =.ช้าง.
ช้าง...หนึ่งในสินค้าส่งออก ที่ทำความมั่งคั่งใหักับกรุงศรีอยุธยา
ไม่เพียงเป็นสินค้าชิ้นใหญ่..ที่สุด สง่างาม และมีศักดิ์ศรีสูงสุด*
ช้างส่งออก ยังทำรายได้สูงสุดติดอันดับ ให้กับราชสำนักสยาม
เป็นสินค้า Monopoly ที่ราชสำนักสยาม ขายได้แต่เพียงผู้เดียว***
ตลาดมีความต้องการ Demand สูง ขายดี ขายได้ราคาดี** กำไรสูง ต้นทุนต่ำ
หาจับได้ในป่าทั่วแผ่นดิน
ราชสำนักสยาม ถึงกับมีการปรับปรุงระบบ Logistic รองรับการค้าช้าง มีการต่อเรือบรรทุกช้างไปขายโดยเฉพาะ มีการจะพัฒนาเมืองมะริด เป็นเมืองท่า
ในการขนช้างลงเรือไปขาย
หรือแม้กระทั่ง โครงการพระราชดำริของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ที่จะขุดคลองคอคอดกระ เชื่อมทะเลอันดามันกับอ่าวไทย เมื่อ 300 ปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งก็เพื่อรองรับธุรกิจส่งออกช้างนี้ ก็เป็นไปได้เช่นกัน.
*กษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ยกย่องช้างเป็น สัตว์คู่บ้านคู่เมือง ให้มียศฐาบรรดาศักดิ์สูงถึงระดับเจ้าพระยา เสมอขุนนางผู้ใหญ่
** ช้างเป็นสินค้าส่งออกที่ขายได้ราคาสูง เช่นเดียวกับกำยาน (benzoin) และไม้กฤษณา (eaglewood)
*** ราษฎรจับช้างป่าได้ แต่เพื่อมาใช้งานเอง และต้องอยู่ในการควบคุมจำนวนของหลวง หรือราษฎรจะส่งช้างมาจ่ายแทนภาษีให้กับทางการ และนี่เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ราชสำนักฯจะได้ช้างมาไว้ใช้งาน และส่งขายต่างประเทศ
1
เจ้าพระยาปราบหงสาวดี ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช .
“ใครใคร่ค้าช้างค้า ใครใคร่ค้าม้าค้า”
ข้อความบนหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงฯ ที่หลายคนท่องกันจนคุ้นชิน
จริงแล้ว เป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญ ชิ้นหนึ่งทีเดียว ที่ระบุให้เห็นได้ชัดว่า...
การค้าช้างนั้น มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
แต่เป็นเพียง การค้าขายกันเองระหว่างชุมชน หรือเมืองใกล้เคียง และใช้ระบบแลกเปลี่ยนสินค้ากัน(Barter System) ยังไม่มีการส่งออกช้างใดๆ
สถิติจำนวนช้างส่งออก* สมัยกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2225 จำนวน 22 ช้าง
(รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ )
พ.ศ. 2227 จำนวน 115 ช้าง
(รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ )
พ.ศ. 2231-2246 ปีละ <100 ช้าง
(รัชสมัยพระเพทราชา)
พ.ศ. 2258 จำนวน 40 ช้าง
(รัชสมัยขุนหลวงท้ายสระ) *
บันทึกสำเภากษัตริย์สุไลมาน** ระบุว่า สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงโปรดให้มีพิธีคล้องช้างในทุก ๆ ปี คือ การจับช้างจากป่า โดยจับได้ครั้งละ 300-400 ตัว นำมาฝึกให้เชื่อง เพื่อใช้งานในสังกัดกรม กอง และเป็นสินค้าส่งออก ปีละประมาณ 300 ช้าง
*จำนวนส่งออก เป็นตัวเลขจากส่วนหนึ่งของบันทึกชาวต่างชาติที่เข้ามาในสยาม
**บันทึกการเดินทางของคณะทูตอิหร่าน ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยาม ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
1
การค้าช้างศึก
ตลาดรับซื้อแห่งใหญ่ของช้างสยามอยู่รอบอ่าวเบงกอล มี 2 กลุ่มสำคัญ คือ
1. รัฐเบงกอลและพ่อค้า ซื้อช้างไปใช้ลากซุง บรรทุกของ และทำศึก
2. รัฐสุลต่านต่าง ๆ แห่งที่ราบสูงเดคคาน และจักรวรรดิโมกุล อันยิ่งใหญ่
รัฐสุลต่านแห่งโกลกอนดา Golconda แห่งที่ราบสูงเดคคาน และสยาม มีความสัมพันธ์ต่อกันมายาวนาน แต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และจักรวรรดิโมกุล คือลูกค้ารายสำคัญของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรตที่ 15 รัฐสุลต่านต่าง ๆ และจักรวรรดิ์โมกุล มีการทำสงครามนิกายศาสนาอย่างยืดเยื้อและยาวนาน จักรวรรดิโมกุลซึ่งอยู่ในรัชกาลของพระเจ้าออรังเซป ต้องการขยายอำนาจลงอินเดียใต้ จึงต้องการช้างไปทำศึกสงคราม
ในแต่ละปี รัฐมุสลิมต่าง ๆ เหล่านี้ สั่งซื้อช้างจากกรุงสยาม ไปทำช้างศึกจำนวนมาก ทำรายได้มหาศาลให้กับ กรุงศรีอยุธยา และสูงสุดในช่วงราชวงศ์ปราสาททอง จนถูกเล่าต่อกันมาว่าเป็น "ยุคทองของการค้าช้าง"
ศึกช้าง บนที่ราบสูงเดคคาน
มะริด-มะสุลีปะตัม-บะละซอร์
ทุกๆ ปี จะมีพ่อค้าแขกจากฝั่งอินเดีย แล่นเรือเข้ามา เพื่อซื้อช้างกับราชสำนักสยาม
โดยช้างจะถูกขนส่งลงเรือที่เมืองท่ามะริด (Port of Loading) เรือข้ามทะเลเบงกอล แล้วไปขึ้นบกอีกที ที่ชายฝั่งรอบอ่าวเบงกอล คือ เมืองท่ามะสุลีปะตัม และ
เมืองบะละซอร์ (Port of Discharge)
มะริด เป็นเมืองท่าที่ราชสำนักสยาม ให้แขกมัวร์* เป็นกลุ่มที่ผู้ควบคุม ดูแลตลาดการค้าสำคัญในอ่าวเบงกอล รวมถึงดำเนินการเชื่อมโยงธุรกิจจากฝั่งทะเลตะวันตกของสยาม มายังฝั่งอ่าวไทยด้วย
สมเด็จพระนารายณ์ฯ เคยตั้งสถานีการค้าช้าง-ดีบุก ที่เมืองมะละบาร์ และเคยแต่งตั้งผู้แทนการค้าของสยาม ที่เมืองมะสุรีปะตัม เพื่อช่วยกระจายสินค้าช้าง จากชายฝั่งโคโรมัลเดลอินเดียตะวันออก
ต่อไปยังภาคใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย
มะสุรีปะตัม ยังเป็นเมืองศูนย์กลางในการจัดหาสินค้าจากชมพูทวีป และแถบอิหร่าน-อาหรับ ให้กับราชสำนักสยาม.
มะสุลีตัม เมืองท่านานาชาติของรัฐมุสลิมอินเดียโบราณ
ช้างส่งออกมักล้มตายราวหนึ่งในสาม ก่อนถึงเมืองมะสุลีปะตัม เพราะทนไม่ไหวกับสภาพการล่องทะเลในเรือเป็นระยะนานเป็นเดือน ๆ
แต่ถ้ารอดชีวิตไปถึงได้ พ่อค้าจะขายช้างได้กำไรสูงถึง 4 เท่า
* พ่อค้าแขกมุสลิม โดยเฉพาะเชื้อสายอินโด-อิหร่าน เป็นกลุ่มที่มีบทบาทสูงมากต่อการค้าต่างประเทศของสยาม
ช้างสยาม VS ผ้าฝ้ายพิมพ์ลาย
บันทึกการ เดินทาง "สำเภากษัตริย์สุไลมาน" ระบุว่า ราคาช้างในสยาม ตกอยู่ราวตัวละ 7-8 โตมาน* แต่ราคาช้างสยามในอินเดีย จะขายได้ราคาสูงถึงราว 25 โตมาน
แต่พ่อค้าแขกมัวร์ที่มาซื้อช้างสยาม นิยมจ่ายค่าสินค้าช้าง เป็นสินค้า"ผ้าฝ้ายพิมพ์ลาย"
ผ้าฝ้ายพิมพ์ลาย Chintz Fabric จาก Golconda อินเดียเป็นที่ยอมรับอย่างสูงเรื่องการย้อมสีที่สวยงาม คงทน
ราชสำนักสยามมีความต้องการผ้าฝ้ายพิมพ่ลายสูง เพราะใช้เป็นผ้าตัดฉลองพระองค์สำหรับกษัตริย์ เครื่องแต่งกายของขุนนาง และยังใช้เป็น”ผ้าหวัดรายปี”เพื่อปูนบำเหน็จรางวัลให้กับเหล่าข้าราชบริพาร
แต่ที่สำคัญ ในยุคศตวรรษที่ 16 นั้น สยามยังไม่มีการผลิตผ้าพิมพ์ลาย ทั้งหมดจึงทำให้ผ้าพิมพ์ลายจากอินเดีย เป็นสินค้านำเข้าที่มีมูลค่าสูง สูง..จนสามารถใช้แลกเปลี่ยนกับช้าง ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกขนาดใหญ่ที่สุด และมีศักดิ์ศรีสูงสุดได้
*ในสมัยกรุงศรีอยุธยา: เงิน 1 โตมาน = เงินอังกฤษ 3 ปอนด์โดยประมาณ
ผ้าฝ้ายพิมพ์ลายสมัยอยุธยา
ผ้าฝ้ายพิมพ์ลายจากอินเดีย มีความสวยงาม เป็นที่นิยมของหญิงชั้นสูงในกรุงศรีอยุธยา Credit ภาพจากอินเตอร์เนท
บันทึกการค้าฮอลันดา ระบุว่า
“เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2206 เรือของพวกแขกมัวร์ 4 ลำสุดท้าย จากมะสุลีปะตัม เดินทางมายังสยาม
โดยเรือ 2 ลำเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งบรรทุกผ้าระบายสีทุกชนิดเข้ามา และทำให้ตลาดผ้าในกรุงสยามคึกคักขึ้น”
ยิ่งสู่ยุคทองของการค้าช้าง ก็ยิ่งทำให้กรุงศรีฯ เข้าสู่ยุคทองของการค้าผ้าระดับภูมิภาค เพราะกรุงศรีฯ กลายเป็น แหล่งผ้าพิมพ์ลายจำนวนมากมาย หลายหลากจากอินเดีย พรมจากเปอร์เซีย จากฟากตะวันตก
นอกเหนือไปจาก ผ้าไหมผ้าแพรจากจีน ผ้าปูมจากเขมร จากฝั่งทะเลสยามตะวันออก ที่มีการค้าขายกันมานานแล้ว
จบตอน 1/2
................กวีธารา.............
ติดตามกันต่อไปนะ ในตอนจบครั้งหน้า กับเรื่องราวของ
-ช้างศึกที่รัฐทางอินเดีย ทำไมต้องเลือก Thai Elephant Only
-แขกเปอร์เชีย VS คอนแสตนติน ฟอลคอน
-ฮานาโกะ 2, 3, 4 ?
ในฐานะ กวีธารา เป็น Elephant F.C. หากผู้อ่านชื่นชมในบทความของกวีธารา และต้องการส่งกำลังใจให้กับผู้เขียน ขอเชิญบริจาคสมทบทุนช่วยเหลือช้าง/ให้อาหาร ช้างได้ที่ ชมรม ช ช้างชรา(Elephant World)อ. เมือง จ.กาญจนบุรี หรือชมรมอนุรักษ์ช้างต่าง ๆ ทั่วประเทศ
กวีธารา ขอแนะนำบทความอื่น ๆ ที่ทางเราตั้งใจเขียน รวบรวม แชร์ไว้ โดยมีเนื้อหาน่าสนใจไม่แพ้กันเช่นกันนะคะ ติดตามที่
https://www.blockdit.com/kaweetara
กวีธารา เป็นร้านค้าแนวอนุรักษ์ขายโปสการ์ด&ถุงผ้า และรับทำถุงผ้า+screenโลโก้ภาพลิขสิทธิ์ งาน Handmade อยู่ตลาดน้ำลัดมะยมโซน7 พุทธมณฑลสาย 1 กทม.
สนใจสั่งทำถุงผ้า ติดต่อ Line ID 3514653 หรือ
https://shopee.co.th/kwtara
ภาพช้างในป่า ลิขสิทธิ์ของกวีธารา ที่พิมพ์บนถุงผ้าและโปสการ์ด
บันทึก
8
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ช้าง ช้าง ช้าง
8
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย