25 ม.ค. 2021 เวลา 12:44 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ตอนที่ 4 timeline to hyperinflation การระเบิดของหนี้สิน
1
ภาวะ hyperinflation
ทุกวันนี้ เงินที่เราใช้จ่ายมากจากการขายพันธบัตรรัฐบาล ให้แก่ธนาคารกลางประเทศนั้น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นหนี้สินอย่างหนึ่งของประเทศนั้นๆ
ดังนั้น money supply ที่แท้จริงก็คือหนี้สินนั้นเอง
1
ทุกวันนี้โลกเรามีปริมาณหนี้สินราว ๆ 280T ดอลลาร์สหรัฐ
ความสัมพันธ์ระหว่างดอกเบี้ยและปริมาณหนี้สิน ยิ่งหนี้สินมากขึ้น ดอกเบี้ยจะลดลงเรื่อย ๆ
ถ้าดูจากตารางจะเห็นว่า ในช่วงท้าย ๆ ปริมาณหนี้สินจะเพิ่มขึ้นเร็วมากแบบก้าวกระโดด ดอกเบี้ยจะลดทีละ 0.1%
ตอนนี้หนี้สินปัจจุบันอยู่ที่ 280T เท่ากับอยู่ในช่วง 0.3-0.4%
ถ้ายีงจำได้ช่วงปี 2008 ช่วงวิกฤตซัพไพร์ม หนี้สินของโลกอยู่ที่ประมาณ 120T เท่ากับระดับดอกเบี้ย 0.8% ผ่านมา 12 ปี หนี้พุ่งไป 2 เท่า
1
ถ้าคิดเป็นระดับดอกเบี้ยเท่ากับลดลงมาถึง 0.45% เท่ากับ 4.5 ระดับในช่วง 12 ปี
จากการคำนวณ เมื่อใดก็ตามที่หนี้สินขึ้นไปถึงระดับ 1000T จะเป็นจุดกระตุ้นภาวะ hyper inflation ที่สำคัญจุดหนึ่ง
1
ดังนั้นตอนนี้จึงเหลือขั้นของดอกเบี้ยเพียงแค่ 2.5 ระดับเท่านั้น ที่ไปถึงจุด 0.1% อันเป็นจุด key points ที่สำคัญ
เนื่องจากดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 0% และดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ก็มีหลากหลายอายุ หลากหลายปี หลากหลายประเทศ จึงเอามาติดตามได้ยาก
1
ผู้เขียนจึงใช้ปริมาณหนี้สินมาติดตาม จะง่ายกว่าและเห็นตัวเลขได้ชัดเจนกว่า
1
เมื่อใดหนี้สินขึ้นไปแตะระดับ 333T ผู้เขียนจะนำมาแจ้งอีกครั้งหนึ่ง
สถานการณ์การเงินโลกทุกวันนี้เหมือนนับถอยหลัง หนี้สินจะพอกพูนขึ้นไวอย่างน่าตกใจ กว่าที่เราคิดมาก
นับถอยหลังจากปริมาณหนี้สิน
4=250T
3=333T
2=500T
1=1,000T
0= BOOM =hyper inflation แบบเวเนซุเอลา ก็จะมาให้เราเห็น
1
ตอนนี้ตัวเลขนับถอยหลังเหลือน้อยเต็มที ถ้าคำนวณเวลาที่เหลือก็น่าจะประมาณแค่ 6 ปี เท่านั้น ไม่เกิน ค.ศ. 2026 หรือ พ.ศ. 2569
ไม่เกิน พ.ศ.2569 ภาวะ global hyper inflation จะมาเยือน
เตรียมตัวกันไว้ให้พร้อมเสมอ
ชอบบทความนี้อย่าลืมกดไลค์กดแชร์กดติดตามเพื่อจะได้ไม่พลาดบทความดีๆต่อไป

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา