Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Career Fact
•
ติดตาม
11 ก.พ. 2021 เวลา 01:30 • ธุรกิจ
คิดว่าคนๆ หนึ่งนึกอยากทำสตาร์ทอัพขึ้นมาเพราะอะไร?
บางคนอาจจะอยากเป็นนายตัวเอง บางคนอาจจะเพราะมีไอเดียเจ๋งๆ ที่ปล่อยไว้เฉยๆ ไม่ได้
แต่เขาคนนี้ทำสตาร์ทอัพเพราะอยากสร้างธุรกิจที่คนใช้แล้วประทับใจ อยากได้ยินคนพูดถึงสิ่งที่ตัวเองสร้างมากับมือ
วันนี้ Career Fact จะพามาเจาะลึกเบื้องหลังแพลตฟอร์มออนไลน์รวมแพกเกจสุขภาพ ทำฟัน และความงามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ไปกับ ‘พี่ปอ’ กวิน ภาณุสิทธิกร Co-Founder ของ
HD.co.th
และ
HDmall.co.th
เว็บไซต์หมวดสุขภาพที่มียอดผู้เข้าชมกว่า 4 ล้านคนต่อเดือน
1
#คนทำสตาร์ทอัพต้องเป็นคนกล้าเสี่ยงเสมอไปไหม?
พี่ปอให้นิยามตัวเองว่าเป็นคนกล้าลุย แต่ไม่ได้กล้าเสี่ยงแบบสุดโต่ง คือถ้าคิดตาม Logic ของตัวเองแล้วมันเวิร์ค เขาก็จะลองทำดูแล้วรอดูผลลัพธ์ เช่น เขาเคยไปเดิน Everest Base Camp มา เพราะอยากมีประสบการณ์นั้น แต่ก็คงจะไม่บ้าไปถึงยอดเขาเพราะประเมินแล้วอาจตายได้
1
การทำ
HD.co.th
เขาก็เอาเงินตัวเองหลักล้านมาทำ และทิ้งงานประจำที่ไปได้ดี หลายคนอาจมองว่าแบบนี้คือเสี่ยงมาก แต่พี่ปอมองว่าโอเค เพราะเงินนี้ก็เป็นโบนัสที่เคยเก็บไว้เอง คิดแล้วว่าน่าจะมีตลาดให้ไปได้ ส่วนชะตากรรมว่าจะรอดหรือไม่รอด โตหรือไม่โต ก็อยู่ในกำมือของเราเอง คนรอบข้างที่สนิทและพ่อแม่ก็ไม่ได้มองว่าเป็นการตัดสินใจที่บ้าบิ่นอะไรเพราะเชื่อว่าพี่ปอคิดมาดีแล้ว
#จุดเริ่มต้นการทำสตาร์ทอัพ
เขาเริ่มอยากทำสตาร์ทอัพเพราะอยาก ‘สร้าง’ ธุรกิจบางอย่างขึ้นมาแล้วได้เห็นมันเดินต่อได้ด้วยตัวเอง อยากทำบริการที่คนใช้ต้องประทับใจ และอยากได้ยินคนพูดถึงสิ่งที่เราสร้างมากับมือ ยิ่งถ้าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตได้ก็ยิ่งดี ตอนนั้นเห็นโอกาสเกี่ยวกับตลาดด้านสุขภาพ เพราะหากย้อนไป 4 ปีก่อนจะสร้างเว็บไซต์
HD.co.th
ขึ้นมา เขาก็สังเกตเห็นว่าทุกๆ วงการจะมีเว็บไซต์หนึ่งที่ครองวงการของตัวเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นด้านการท่องเที่ยว E-Commerce หรือแม้กระทั่งประกัน แต่วงการสุขภาพยังไม่มี และเมืองไทยก็มีข้อได้เปรียบด้าน Healthcare เขาจึงเชื่อว่าจะเป็นธุรกิจที่ไปได้ไกล
1
#ทีมตั้งต้น
Co-Founder มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 คนรวมพี่ปอ ซึ่งเคยร่วมงานกันมาแล้วทุกคน
CEO คือ คุณเชจิ อดีต Co-Founder และ CMO ของ aCcommerce พูดง่ายๆ ก็คือเจ้านายเก่าของพี่ปอนั่นเอง
CFO คือ คุณแฟรงกี้ อดีต Vice President of Finace ที่ Ardent Capital
CMO คือ คุณเทน อดีต Regional Marketing Director ของ aCommerce
GM ที่อินโดนีเซีย คือ คุณอาดิท อดีต CMO ของ Fabelio ที่อินโดนีเซีย
VP of Product คือ คุณซันนี่ อดีต Product ที่ aCommerce
ส่วนพี่ปอ เป็น COO อดีต Head of Finance & Healthcare Industry ที่ aCommerce และ Associate ที่ Investment Bank ของ Phatra
#หลายทีมทะเลาะกันเลือกทีมตั้งต้นยังไงให้รอด
พี่ปอมี Co-Founder ถึง 6 คน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่เยอะ พี่ปอมองว่าหลายทีมที่ทะเลาะกัน เพราะคนในทีมเองรู้สึกว่าแต่ละคน Contribute ไม่เท่ากัน เช่นใส่แรงน้อยกว่า ใส่เงินน้อยกว่า ดังนั้น สำหรับพี่ปอ การเลือกคือ 1. ทุกคนต้องมีความ ‘ใจใหญ่’ 2. ให้ความสำคัญกับบริษัทและเป้าหมายระยะยาวเป็นหลัก 3. มีความบ้างานโดยธรรมชาติ 4. มี Skill และจุดแข็งกันคนละแบบ มีกองหน้า กองกลาง กองหลัง เพราะสไตล์การทำงานที่ต่างกันนั้นสามารถส่งเสริมกันและกันได้หากปรับให้เข้าที่
#การทำสตาร์ทอัพช่วงแรก
ตอนเริ่มทำ
HD.co.th
เขายังไม่ได้ลาออกจากงานประจำ จึงไม่ต้องเสียโอกาสด้านใดด้านหนึ่งไป
แต่หลังออกมาทำสตาร์ทอัพแบบฟูลไทม์เต็มตัว ทั้งๆ ที่งานประจำที่ aCommerce ก็ยังไปได้ดี โอกาสที่พี่ปอมองว่าตัวเองต้องแลกกับการทำ
HD.co.th
ไม่ใช่เรื่องเงินเก็บที่ต้องเอามาลงทุน ไม่ใช่เรื่องเงินเดือนสูงๆ ที่จะเสียไป แต่คือเรื่องเวลา เพราะตอนนั้นเป็นช่วงตั้งตัวของชีวิต ถ้าพลาดคือเสียเวลาตั้งตัวไปเลย 5 ปี
#เว็บไซต์หมวดสุขภาพอันดับหนึ่ง
สำหรับตลาดในไทย
HD.co.th
ครองอันดับ 1 และ ที่อินโดนีเซีย ครองอันดับ 3 ในแง่จำนวนคนเข้ามาเยี่ยมชมในเว็บไซต์หมวดหมู่สุขภาพ โดยมีผู้เข้าชมเว็บไซต์กว่า 4 ล้านคนต่อเดือนในแต่ละประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ที่เข้ามาทาง Google หรือที่เรียกว่า SEO และ Paying User ก็มีแนวโน้มที่ดี มีคนซื้อแพ็กเกจเยอะขึ้น ใช้บริการถามหมอผ่าน
HD.co.th
เยอะขึ้น ดูจากสถิติการเติบโตของ Paying User และคนกลับมาใช้บริการซ้ำมีจำนวนน่าพอใจ
#ผ่านอะไรมาบ้างกว่าจะถึงจุดนี้
สำหรับพี่ปอแล้ว การสร้างทีมให้เทพยากที่สุด ตอนแรกพี่ปอมองว่า มีทั้งตัวทีมเองที่โปรไฟล์ไม่ธรรมดา แถมตัวธุรกิจก็มีความน่าสนใจ การหาคนที่ตรงใจมาร่วมทีมเพิ่มจึงไม่น่าเป็นเรื่องยาก แต่เอาเข้าจริงก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด
รองลงมาคือ พอเริ่มต้นจากศูนย์ ความใหม่ของแบรนด์ทำให้โรงพยาบาลและคลินิกไม่ได้ให้ความสำคัญมาก ทว่า พี่ปอเชื่อว่าถ้ามีโอกาสให้ได้พูดนำเสนอ หลังจากนั้นก็จะไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเชื่อในศักยภาพของบริษัท และการที่สถานพยาบาลเข้าร่วมก็ไม่ได้เสียอะไรนอกจากค่าคอมมิชชั่น แต่สิ่งที่ยากคือจะทำอย่างไรให้อีกฝ่ายให้โอกาสตรงนั้น
อย่างที่สามคือความรู้เฉพาะทางของวงการสุขภาพและการแพทย์ ข้อดีของการเป็นคนนอกวงการคือ จะเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคได้ดี จนทำให้ออกแบบแพลตฟอร์มที่ User-Friendly ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อเสียคือเรายังไม่ได้เป็นหมอหรือพูดภาษาเดียวกับหมอ ทำให้ต้องใช้แรงและเวลาเยอะในการพิสูจน์ตัวเองให้ลูกค้าและพาร์ทเนอร์ยอมรับ
#มีบริการอะไรบ้าง
HD มี 3 บริการหลักๆ คือ
HD.co.th
เป็นแหล่งข้อมูลสุขภาพ โดยปัจจุบันมีถึง 15,000 บทความบนเว็บไซต์ที่เขียนหรือรีวิวโดยทีมแพทย์
บริการถามหมอผ่าน
HD.co.th
จะมีทั้งรูปแบบกระทู้ ไลฟ์แชท และแบบวิดีโอคอล ซึ่งวิดีโอคอลตั้งแต่ช่วงโควิดที่ผ่านมาได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นมาก ส่วนข้อดีของกระทู้คือเป็นการสร้าง Community เล็กๆ สำหรับคนที่กำลังประสบปัญหาเดียวกัน ปัจจุบันมีคนโพสมากกว่า 120,000 กระทู้แล้ว
HDmall.co.th
แพลตฟอร์มจองคิวแพ็กเกจด้านสุขภาพ การทำฟัน และบริการด้านความสวยความงาม โดยความพิเศษคือมีคลินิกเฉพาะทางแต่ละด้าน เช่น คลินิกกายภาพ แล็บที่ตรวจเฉพาะเลือด เป็นต้น รวมอยู่ด้วย ปัจจุบันมีโรงพยาบาล คลินิก และร้านเสริมสวยกว่า 500 สาขา จำนวนกว่า 3,000 แพ็กเกจ
#ก้าวต่อไปของHD
เป้าหมายหลักคืออยากทำให้บริการ และพื้นที่ครอบคลุมกว่านี้ ทุกวันนี้มีคนเข้ามาชมเว็บไซต์เกิน 4 ล้านคนต่อเดือน แต่คนที่ Take Action เสียเงินซื้อยังไม่ถึง 1% แสดงว่ามีอีกคนจำนวนมากที่ให้ความสนใจแต่เราเปลี่ยนเขามาเป็นลูกค้าไม่ได้ หน้าที่ของ HD จึงเป็นการหาสิ่งที่ตอบสนองความสนใจของคนกลุ่มนี้ อาจจะต้องมีสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้เขามากขึ้น ต้องมีบริการที่เขาตามหา ต้องมีข้อมูลที่เขาอยากรู้
#อนาคตของวงการสุขภาพไทย
สิ่งที่ได้รับความสนใจมากในช่วงนี้คือ Telehealth ทำให้หลายคนคิดว่าในอนาคตโรงพยาบาลอาจจะถูกลดบทบาทหรือเปล่า แต่พี่ปอมองว่ายังติดเรื่องกระบวนการตรวจและความเชื่อใจที่เทียบไม่ได้เลยกับการไปโรงพยาบาลเพื่อพบกับคุณหมอโดยตรง ดังนั้น คงจะไม่ถึงขั้นมาแทนที่โรงพยาบาล แต่จะเป็นตัวเสริม และเป็นทางเลือกเพิ่มเติมให้คนไข้และสถานพยาบาลมากกว่า
ส่วนตัวพี่ปอมองว่า Preventive Healthcare จะทำให้คนไปโรงพยาบาลด้วยเหตุผลที่ต่างออกไป จากเดิมไปเพื่อรักษาแต่ในอนาคตอาจไปเพื่อหาทางป้องกันมากขึ้น และตลาดนี้โตขึ้นเรื่อยๆ
อย่างหนึ่งที่คิดว่าจะมี Impact คือการนำ IoT (Internet of Things) มาใช้กับวงการสุขภาพ เช่น เครื่อง Monitor เลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้การติดตามผลของแพทย์ทำจากที่บ้านได้เลย ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล เหล่านี้จะทำให้แก้ปัญหาพื้นฐานอย่าง ลดจำนวนคนไปโรงพยาบาล ลดความแออัด และเปลี่ยนประสบการณ์ของคนไข้ให้ดีขึ้นได้
#ส่งต่อบทเรียน
2
อย่างแรกคือ อย่าหลงรักไอเดียของตัวเองมากเกินไป ถ้าเห็นว่าคนไม่ใช้ก็อย่าทู่ซี้เสียเวลาทำ Feature นั้นมาก สองคือนั่นไม่ได้แปลว่าต้องเลิกล้มความตั้งใจ แค่อาจจะต้องหมุนไปลองท่าอื่นก่อน HD เองก่อนที่จะมาเป็น 3 บริการหลักๆ นี้ก็เคยทำบริการอื่นๆ มาหลายอย่าง และสุดท้ายคือ อย่ายอมแพ้
“Career Fact เพราะทุกอาชีพมีเรื่องราว”
#careerfact
………………
สามารถติดตามเรื่องราวดีๆ ต่อได้ที่ Career Fact เพราะทุกอาชีพ... มีเรื่องราว (อย่าลืมกด See First เพื่อไม่ให้พลาดคอนเท้นท์ดีๆ)
Subscribe Career Fact -
https://bit.ly/CareerFactYT
Facebook -
https://bit.ly/CareerFactFB
Blockdit -
https://bit.ly/CareerFactBD
6 บันทึก
4
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Explained Article | บทความเจาะลึกแนวคิดผู้นำ
6
4
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย