29 ม.ค. 2021 เวลา 12:08 • ประวัติศาสตร์
“ตระกูลรอธส์ไชลด์ (Rothschild Family)”
1
“ตระกูลรอธส์ไชลด์ (Rothschild Family)” เป็นตระกูลอภิมหาเศรษฐีชาวยิวที่ร่ำรวยมหาศาล และเป็นที่พูดถึงในแง่ของทฤษฎีสมคบคิดมากมาย เนื่องจากตระกูลนี้ร่ำรวยและทรงอิทธิพลมาก
4
สำหรับทรัพย์สินของตระกูลรอธส์ไชลด์ บ้างก็ว่าอยู่ที่ราวๆ 350,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 10.5 ล้านล้านบาท) แต่บ้างก็ว่าตระกูลนี้มีทรัพย์สินที่ถือครองและควบคุมอยู่ถึงสองล้านล้านดอลลาร์ (ประมาณ 60 ล้านล้านบาท) เลยทีเดียว
7
ตระกูลรอธส์ไชลด์ ได้เริ่มก่อร่างสร้างตัวมาจากธุรกิจธนาคาร โดยเริ่มต้นที่แฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี
ผู้นำและเริ่มต้นสร้างความยิ่งใหญ่ของตระกูลรอธส์ไชลด์ คือ “เมเยอร์ อัมส์เชล รอธส์ไชลด์ (Mayer Amschel Rothschild)” โดยเริ่มต้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อนที่ตระกูลจะขยายความยิ่งใหญ่ออกไปผ่านบุตรชายทั้งห้าของเมเยอร์
3
เมเยอร์ อัมส์เชล รอธส์ไชลด์ (Mayer Amschel Rothschild)
ตระกูลรอธส์ไชลด์ นับเป็นผู้บุกเบิกทางด้านการเงินระหว่างประเทศ และขยายกิจการเข้าไปในลอนดอน ปารีส เวียนนา และเนเปิลส์ เรียกได้ว่าขยายเข้าไปยังเมืองชั้นนำเกือบทั้งยุโรป
2
ตระกูลรอธส์ไชลด์ได้เริ่มขยายกิจการ จากกิจการค้าสินค้าและการเงินระหว่างประเทศ ขยายไปยังธุรกิจธนาคารเพื่อการค้า Private Banking การบริหารจัดการทรัพย์สิน ประกัน ธุรกิจเงินร่วมลงทุน และยังเข้าไปควบรวมกับกิจการอื่นๆ
นอกจากนั้น ตระกูลรอธส์ไชลด์ยังลงทุนในระบบโครงสร้างต่างๆ เช่น การก่อสร้างสะพาน อุโมงค์ต่างๆ รางรถไฟ รวมทั้งคลองสุเอซ และยังมีการขยายการลงทุนไปในกิจการโรงแรม สื่อ ยานพาหนะ และธุรกิจไวน์
1
บ้านของตระกูลรอธส์ไชลด์ในแฟรงค์เฟิร์ต
สำหรับเมเยอร์ซึ่งเป็นผู้นำตระกูลนั้น เขาเกิดในปีค.ศ.1744 (พ.ศ.2287) ที่แฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี ในย่านที่พักอาศัยของชาวยิว
สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวยิวนั้นยากลำบาก ต้องอยู่อย่างแออัด จะออกจากบ้านตอนกลางคืนก็ไม่ได้ จะไปสวนสาธารณะหรือร้านกาแฟก็ไม่ได้ รวมทั้งไม่สามารถเดินเกาะกลุ่มในที่สาธารณะ
1
แต่เป็นโชคดีที่เมเยอร์ได้เรียนรู้เรื่องของการค้าตั้งแต่ยังเด็ก โดยพ่อของเขาเป็นพ่อค้าผ้าไหมและทำกิจการเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินตรา โดยงานแรกๆ ของเมเยอร์คือการแยกเหรียญแต่ละประเภท
1
พ่อแม่ของเมเยอร์เสียชีวิตด้วยไข้ทรพิษขณะที่เมเยอร์อายุได้ 12 ขวบ เขาจึงถูกส่งไปอยู่กับญาติ ก่อนจะถูกส่งไปเรียนรู้งานกับ “ไซมอน ออพเพนไฮเมอร์ (Simon Oppenheimer)” นายธนาคารชาวยิวผู้มีชื่อเสียง
1
ไซมอน ออพเพนไฮเมอร์ (Simon Oppenheimer)
เมเยอร์ได้เรียนรู้เรื่องการค้าระหว่างประเทศและการเงิน รวมถึงเรื่องเหรียญหายากต่างๆ
เมเยอร์เดินทางกลับแฟรงค์เฟิร์ตในปีค.ศ.1763 (พ.ศ.2306) ขณะมีอายุได้ 19 ปี และร่วมกับพี่น้องสานต่อธุรกิจการค้าของผู้เป็นพ่อ โดยเมเยอร์ได้กลายเป็นผู้ค้าเหรียญหายาก และยังได้รับการอุปถัมภ์จาก “พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 (William I, Elector of Hesse)” เจ้าผู้ครองแคว้นในเยอรมนี ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมาร และเคยเป็นลูกค้าของพ่อของเมเยอร์
ความสัมพันธ์กับเจ้าผู้ครองแคว้น ทำให้เมเยอร์สร้างสายสัมพันธ์อันดีกับเหล่าขุนนางอื่นๆ ได้อีกด้วย
1
พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 (William I, Elector of Hesse)
ในปีค.ศ.1769 (พ.ศ.2312) ตระกูลรอธส์ไชลด์ได้ทูลขอตำแหน่ง “Crown Agent” ในฐานะที่เคยรับใช้ราชสำนัก
2
ค.ศ.1770 (พ.ศ.2313) เมเยอร์ได้แต่งงานกับลูกสาวนักการเงินและผู้มีอำนาจคนหนึ่ง ก่อนจะมีลูก 10 คน เป็นชายห้าคน หญิงห้าคน
อาณาจักรการธนาคารของตระกูลรอธส์ไชลด์เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส โดยเมเยอร์ได้เงินสนับสนุนจากอังกฤษ ฐานที่เมเยอร์ส่งทหารอาสาเข้าไปช่วยอังกฤษ
1
ปฏิวัติฝรั่งเศส
ต้นศตวรรษที่ 19 เมเยอร์ส่งลูกๆ ไปยังเมืองต่างๆ ในยุโรป ทั้งลอนดอน เวียนนา ปารีส เนเปิลส์ โดยมีลูกคนหนึ่งยังอยู่ในแฟรงค์เฟิร์ต ทำให้กิจการธนาคารของตระกูลขยายไปยังเมืองใหญ่ห้าเมืองในยุโรป และเป็นธนาคารที่ทรงอิทธิพลที่สุดในเวลานั้น
1
ธนาคารของตระกูลรอธส์ไชลด์ได้ให้รัฐบาลกู้ยืมเงินไปใช้ในการสงคราม ทำให้ตระกูลรอธส์ไชลด์ได้รับผลประโยชน์ และสามารถขยายกิจการเข้าไปยังธุรกิจ อุตสาหกรรมต่างๆ
3
ก่อนจะเสียชีวิตในปีค.ศ.1812 (พ.ศ.2355) เมเยอร์ได้เขียนพินัยกรรม สั่งอย่างละเอียดว่าทายาทของตนจะบริหารจัดการทรัพย์สินของตระกูลอย่างไร รวมทั้งการส่งต่อตำแหน่งและทรัพย์สินของตระกูล จะส่งผ่านทายาทผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงจะถูกยกเว้น ทำให้ทายาทตระกูลรอธส์ไชลด์บางส่วนก็แต่งงานกันเองในตระกูล
1
ระหว่างปีค.ศ.1824-1877 (พ.ศ.2367-2420) ทายาทสายตรงของเมเยอร์จำนวน 36 คนได้แต่งงาน โดยมีถึง 30 คนที่แต่งงานกันเองในตระกูล มีเพียงแค่ทายาทที่เป็นหญิงสี่คน ผู้ชายอีกสองคนที่แต่งงานกับคนนอกตระกูล
4
ทายาทตระกูลรอธส์ไชลด์
ในบรรดาลูกๆ ของเมเยอร์ “นาธาน รอธส์ไชลด์ (Nathan Mayer Rothschild)” ลูกชายคนที่สาม ประสบความสำเร็จทางธุรกิจมากที่สุดและเคยเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลก
1
นาธานได้ย้ายไปยังเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษในปีค.ศ.1798 (พ.ศ.2341) และได้ทำธุรกิจค้าผ้า ก่อนจะย้ายไปลอนดอน และก่อตั้งธนาคาร “N M Rothschild” ในปีค.ศ.1810 (พ.ศ.2353)
2
นาธาน รอธส์ไชลด์ (Nathan Mayer Rothschild)
ธนาคาร “Rothschild & Co” ซึ่งก่อตั้งโดยนาธาน ยังคงเปิดดำเนินการอยู่จนถึงทุกวันนี้ และในปีค.ศ.2019 (พ.ศ.2562) ก็ทำรายได้ไปถึง 1.87 พันล้านปอนด์ และมีสินทรัพย์รวมกว่า 76,000 ล้านยูโร
3
ธนาคารของตระกูลได้ให้การสนับสนุนรัฐบาลอังกฤษในยามวิกฤต เช่น ในคราว “สงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars)” ธนาคารก็ให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนแก่รัฐบาลและให้เงินกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของกองทัพอังกฤษ
4
สงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars)
ในปีค.ศ.1824 (พ.ศ.2367) นาธานได้ร่วมลงทุนกับนักธุรกิจชาวอิตาลี ก่อตั้งบริษัทประกัน “Alliance Assurance Company” ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอาร์เอสเอกรุ๊ป (RSA Group)”
3
ค.ศ.1835 (พ.ศ.2378) นาธานได้สิทธิการทำเหมืองแร่ในสเปน ทำให้ตัวเขาแทบจะผูกขาดในตลาดสารเคมีที่ใช้ในการสกัดแร่เงินและทองคำ สร้างความมั่งคั่งให้เขามากขึ้นอีก
7
แต่ความยิ่งใหญ่ของตระกูลรอธส์ไชลด์ก็มาถึงช่วงขาลง เมื่อผ่านช่วงเวลาของสงคราม การเมือง และความขัดแย้งในตระกูล ทำให้ในศตวรรษต่อมา ทรัพย์สินของตระกูลก็ค่อยๆ ลดลง
5
ธนาคารของตระกูลสาขาเนเปิลส์ได้ปิดตัวในปีค.ศ.1863 (พ.ศ.2406) และเนื่องจากไม่มีทายาทที่เป็นผู้ชาย ทำให้ธนาคารสาขาแฟรงค์เฟิร์ตต้องปิดตัวในปีค.ศ.1901 (พ.ศ.2443) ก่อนที่สาขาเวียนนาต้องปิดตัวในปีค.ศ.1938 (พ.ศ.2481) เนื่องจากการเรืองอำนาจของนาซี
2
รัฐบาลฝรั่งเศสเขตวีชีได้ยึดทรัพย์สินของตระกูลรอธส์ไชลด์ในเมืองบอร์กโดซ์ในระหว่างสงคราม และพวกนาซีก็ยังได้ยึดทรัพย์สินของตระกูลในออสเตรียอีกเป็นจำนวนมาก
1
ในช่วงเวลาต่อจากนั้น ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของตระกูลรอธส์ไชลด์จำนวนมากก็ได้ถูกบริจาคให้รัฐบาลอังกฤษและฝรั่งเศส รวมทั้งองค์กรการกุศลและมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง
2
ในปีค.ศ.2008 (พ.ศ.2551) ทรัพย์สินและกิจการของตระกูลได้ถูกนำมาบริหารจัดการภายใต้บริษัทเดียว
เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ทรัพย์สินต่างๆ ก็ได้ถูกแบ่งในหมู่ทายาท และในทุกวันนี้ กิจการของตระกูลรอธส์ไชลด์ก็ครอบคลุมตั้งแต่อุตสาหกรรมต่างๆ ธุรกิจการเงิน อสังหาริมทรัพย์ เหมืองแร่ พลังงาน และยังมีองค์กรการกุศลต่างๆ ที่อยู่ในความดูแลของตระกูล อีกทั้งตระกูลรอธส์ไชลด์ยังเป็นเจ้าของโรงบ่มไวน์อีกหลายแห่งทั่วโลก
1
ในทุกวันนี้ กิจการของตระกูลเริ่มประสบความสำเร็จอีกครั้ง สมาชิกตระกูลรอธส์ไชลด์หลายคนก็ทำงานในบริษัทของตระกูล บางคนก็ลงทุนในธุรกิจที่ช่วยเสริมกิจการของตระกูล
1
ทายาทตระกูลรอธส์ไชลด์ในปัจจุบัน ยังคงลงทุนในธุรกิจการเงินต่างๆ และสร้างความมั่งคั่งจนถึงปัจจุบัน
สำหรับคติพจน์ประจำตระกูลรอธส์ไชลด์ก็คือ “Concordia, Integritas, Industria” ซึ่งแปลได้ว่า “สามัคคี ซื่อสัตย์ อุตสาหกรรม”
4
นี่คือเรื่องราวของตระกูลที่ยิ่งใหญ่ เรียกได้ว่ายิ่งใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลกก็ว่าได้
โฆษณา